11 เม.ย. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
ฆรีเอติวิถี ตอน 3
อย่าใช้ตรรกะเป็นเครื่องมือเดียวแก้ปัญหา
3
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
4
คำถามที่ 1 : คุณขับรถไปตามถนนเปลี่ยวตอนกลางคืนด้วยความเร็ว 80 กม./ชม. เมื่อเลี้ยวโค้งคุณเห็นชายชราคนหนึ่งยืนอยู่บนฝั่งซ้ายของถนน และลูกหมาตัวหนึ่งยืนอยู่ที่ฝั่งขวา คุณจะเลือกชนคนหรือชนหมา และเหตุผลคืออะไรŽ
3
คนส่วนมากตอบว่าชนหมา
3
เหตุผลคือ "หมามีค่าน้อยกว่าคน"
4
คำตอบที่ถูกต้องไม่ได้อยู่ในคำถาม นั่นคือ "ทำไมต้องชน? ในเมื่อรถคุณมีเบรก ทำไมคุณไม่เหยียบเบรก?"
10
คำถามที่ 2 : ชายสองคนไถลตัวลงมาจากปล่องไฟในบ้านหลังหนึ่ง เมื่อคลานออกมาแล้ว ชายคนหนึ่งทั้งเนื้อทั้งตัวเปื้อนเขม่าดำ ส่วนอีกคนหนึ่งยังสะอาดอยู่ ถามว่าใครจะต้องไปล้างเนื้อล้างตัว
4
คนส่วนใหญ่ตอบว่า "คนที่ตัวเปื้อนเขม่าไง"
2
ก็จะมีข้อแย้งว่า "ไม่ถูก! คนที่ตัวสะอาดต่างหาก เพราะเขาเห็นคนเปื้อนเขม่าดำ ก็คิดว่าตัวเองก็ต้องเปื้อนด้วย จึงไปล้างตัว"
2
"แปลว่าคนตัวสะอาดไปล้างตัว?"
3
"ไม่ถูก! เพราะคนที่เปื้อนเขม่าย่อมได้กลิ่นเหม็นที่เปื้อนหน้า เพราะเขม่าย่อมเข้าไปในจมูกและปาก อีกทั้งเสื้อผ้าเขาก็สกปรก เขาก็ต้องไปล้างตัว"
1
"งั้นทั้งคู่ก็ล้างตัว"
2
"ไม่ถูกอีก! ในเมื่อทั้งคู่ออกมาจากปล่องไฟพร้อมกัน คนหนึ่งจะตัวเปื้อนเขม่า และอีกคนจะตัวสะอาดได้อย่างไรเล่า"
9
คำถามที่ 3 : ชายคนหนึ่งขับรถไปรับแม่ซึ่งไปเที่ยวป่ากับเพื่อนที่ต่างจังหวัด อากาศกำลังแปรปรวนอย่างหนัก เขาได้ข่าวว่าน้ำป่ากำลังมา เขากำลังรีบเพราะเป็นห่วงแม่ เแม่ของเขาเป็นโรคอัลไซเมอร์ หากปล่อยทิ้งไว้คนเดียว แม่จะเดินเพ่นพ่านไปทั่ว และหลงทาง
5
เขาแลเห็นคนสามคนรออยู่ที่จุดนัดพบ คนแรกคือแม่ของเขาเอง คนที่สองเป็นเพื่อนของแม่ซึ่งเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บสาหัส นางโทร.เรียกลูกชายมารับ แต่ลูกชายของนางก็ยังมาไม่ถึง นางจะตายหากไปโรงพยาบาลไม่ทัน
3
คนที่สามเป็นหมอในจังหวัดนั้น หมอคนนี้เคยมีบุญคุณกับเขามาก่อน หมอสามารถผ่าตัดช่วยชีวิตหญิงบาดเจ็บได้ แต่ต้องมีเครื่องมือ ทว่าเครื่องมือแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดคือในสถานีอนามัยห่างออกไปสี่สิบกิโลเมตร
3
เขาต้องพาคนทั้งหมดออกไปจากจุดที่น้ำป่าจะมาทันที ปัญหาคือพาหนะของเขาเป็นรถยนต์สองที่นั่ง เขาสามารถพาผู้โดยสารไปได้เพียงเที่ยวละคน แต่เขาก็ไม่สามารถพาผู้โดยสารไปสองสามเที่ยว เพราะน้ำป่ากำลังมา และคนไข้กำลังจะตาย
3
ไม่ไกลออกไปเป็นเนินเขา สูงพอจะปลอดภัยจากน้ำป่าท่วมได้ แต่ปัญหาคือหากเขาพาแม่กลับ ทิ้งเพื่อนแม่กับหมออยู่ที่นี่ นางก็ต้องตายเพราะอาการบาดเจ็บ หากเขาพาเพื่อนแม่ไปโรงพยาบาล ก็ไม่มีใครสามารถช่วยผ่าตัดนางได้ หากเขาพาหมอไป เพื่อนแม่ก็ต้องตายขณะรอความช่วยเหลือ และแม่เขาเองก็จะหลงทาง
2
เขาจะทำอย่างไร? เขาจะเลือกพาใครไปเพื่อให้ทุกคนรอดชีวิต?
2
นี่เป็นโจทย์สมมุติเพื่อทดสอบสมองเล่นๆ
1
(ให้เวลาคิดหนึ่งนาที)
2
คำตอบที่ดีที่สุดเท่าที่มีคนคิดออกมาได้ตอนนี้คือเขามอบกุญแจรถให้หมอขับรถพาเพื่อนแม่ไปโรงพยาบาล ส่วนเขากับแม่ไปรอบนเนินเขานั้น น้ำป่าผ่านไปแล้ว ค่อยให้คนมารับ
9
คนส่วนมากมีสัญชาตญาณ 'รับ' เมื่อได้รับโจทย์อะไรมา ก็มักยอมรับโจทย์นั้น และยึดติดกับภาพเดิมๆ นั่นคือหากโจทย์บอกว่าเขาเป็นคนขับรถ และต้องเลือกว่าจะช่วยใคร ก็คิดอย่างเดียวว่าเขาเป็นคนเดียวที่ขับรถ และติดกับดักความคิดนั้นจนมองทางแก้ปัญหาอื่นไม่ออก
13
ปัญหาในบ้านเมืองไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม บ่อยครั้งเกิดจากการตั้งคำถามผิด หากไร้วิสัยทัศน์และไม่สามารถมองพ้นกรอบคิด ก็ตอบผิดเสมอ
9
เราถูกปกครองใต้กฎหมาย กติกา ค่านิยม มาตั้งแต่แรกเกิด เราเดินตามทางที่ถูกกำหนดมาเป๊ะ จนมันฝังในจิตใต้สำนึก เมื่อถูกสั่งให้เลือก ก็เลือกตามตามแนวทางที่มีอยู่ ไม่กล้าคิดนอกกรอบ
2
มีตัวอย่างมากมายขององค์กรธุรกิจที่ไม่เดิบโตเพราะเดินไปตามทางที่มีอยู่แล้ว มีกรอบคิดมองทุกอย่างตามกติกาที่คนอื่นวางไว้ โดยเฉพาะนักธุรกิจแบบ 'Me too!' เห็นคนอื่นทำอะไรแล้วกำไร ก็ไปร่วมแจมด้วย
3
อะไรที่ไม่ตรงกับกรอบคิด ก็มักบอกว่า "ทำไม่ได้"
4
เป็นวลีที่ สตีฟ จ็อบส์ เกลียดที่สุด
3
สตีฟ จ็อบส์ ก้าวสู่โลกของคอมพิวเตอร์ในยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มมีบทบาทในสำนักงาน และไม่มีใครในโลกคิดว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของบ้านไปทำไม และอย่างไร แต่เขามองนอกกรอบคิดนั้น จึงคิดสร้างคอมพิวเตอร์สำหรับคนทั่วไป และต้องใช้ง่าย
2
ตัวอย่างหนึ่งของการใช้ง่ายคือผลิตสินค้าโดยไม่ต้องมีคู่มือการใช้ นี่เป็นการออกจากกรอบคิดเดิมโดยสิ้นเชิง เพราะสินค้าไฟฟ้าร้อยละร้อยในเวลานั้นมักมีคู่มือการใช้ เมื่อคิดแบบนี้ ก็ทำให้การออกแบบต้องง่ายจนไม่ต้องมีคู่มือ ผลที่ตามมาคือคนชอบสินค้า ลดขั้นตอน ลดทรัพยากร และกำหนดเกมใหม่
3
ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ สตีฟ จ็อบส์ รวมเมาส์เข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
2
สตีฟ จ็อบส์
การฉีกกฎแบบนี้ทำได้ก็ต่อเมื่อคนออกแบบกล้ามองนอกกรอบ และตั้งคำถามว่า "มีทางอื่นอีกไหม?"
4
สตีฟ จ็อบส์ 'เสนอ' แกมบังคับให้บริษัทอื่นทำตามวิสัยทัศน์ของตน โดยรื้อระบบเก่า เข้าสู่พื้นที่ใหม่
2
แล้วโลกก็เข้าสู่พื้นที่ใหม่
1
จะคิดใหม่อย่างนี้ต้องคิดต่าง
1
คือ lateral thinking
1
lateral = ด้านข้าง
1
thinking = การคิด
 
lateral thinking จึงหมายถึงการคิดด้านข้าง
3
The Use of Lateral Thinking
lateral thinking ก้าวพ้น 'หมาก' ที่มีอยู่แล้ว เราเปลี่ยนตัวหมากเอง แล้วเราจัดการโลกภายนอกให้เป็นหมากที่เราทำงานได้ ให้เป็นเงื่อนไขที่อำนวยผลมากที่สุด และควรเป็นสากล
3
เราต้องเชื่อว่ากฎเกณฑ์เดิมทุกกฎเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
4
lateral thinking (แปลตรงตัวว่าคิดทางข้าง) คือการมองเรื่องต่างๆ ในมุมต่าง และไม่จำเป็นต้องมีตรรกะหรือเหตุผล (อย่างน้อยก็ชั่วคราว)
4
คนคิดคำนี้ขึ้นมาคือ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward de Bono) ในปี 1967 ปรากฏครั้งแรกในหนังสือเรื่อง The Use of Lateral Thinking และ New Think ซึ่งเป็นหนังสือเรื่องเดียวกัน
3
ตัวอย่างหนึ่งของ lateral thinking คือหญิงสองคนนำทารกคนหนึ่งไปหากษัตริย์โซโลมอนให้ตัดสินคดี ทั้งสองบอกว่าทารกเป็นของตน เมื่อไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าทารกเป็นของใคร กษัตริย์โซโลมอนก็สั่งให้ตัดทารกเป็นสองท่อน มอบให้หญิงทั้งสองคนละท่อน หญิงคนหนึ่งบอกว่าตนไม่ต้องการทารกแล้ว ให้มอบให้อีกนางหนึ่ง กษัตริย์โซโลมอนจึงรู้ว่านางคือแม่จริง เพราะมีแต่แม่จึงต้องการรักษาชีวิตลูก
8
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
ลองดูอีกตัวอย่าง
1
เศรษฐีคนหนึ่งอยากได้ลูกสาวชาวนาเป็นภรรยาอีกคน ชาวนาคนนี้ยากจน เป็นหนี้สินเศรษฐีจำนวนมาก เศรษฐีเชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนหินของเขา สวนนี้ปูด้วยกรวดสองสีเท่านั้นคือขาวกับดำ
2
เศรษฐีบอกชาวนาว่า ถ้ายกลูกสาวให้เขา เขาจะยกเลิกหนี้สินให้ทั้งหมด อีกทั้งเพิ่มค่าสินสอดให้ด้วย
2
แต่ถ้าชาวนาไม่ตกลง ก็จะให้ลูกสาวชาวนาเล่นเกมพนันกับเขา เศรษฐีจะหยิบกรวดสองก้อนจากสวนใส่ในถุงผ้า ก้อนหนึ่งสีดำ ก้อนหนึ่งสีขาว แล้วขอให้ลูกสาวชาวนาหยิบกรวดหนึ่งก้อนในถุงผ้า ถ้าหยิบได้ก้อนสีขาว เศรษฐีจะยกหนี้สินให้ และเธอก็ไม่ต้องแต่งงานกับเขา ถ้าหยิบได้ก้อนสีดำ เธอต้องแต่งงานกับเขา และพ่อเธอจะปลอดหนี้ด้วย
2
ลูกสาวชาวนาตกลงเล่นเกมนี้ด้วย
1
เศรษฐีจึงหยิบกรวดสองก้อนใส่ในถุงผ้า แต่หญิงสาวเห็นว่ากรวดทั้งสองก้อนเป็นสีดำ
2
เธอจะทำอย่างไร? ถ้าเธอเปิดโปงว่าเศรษฐีขี้โกง เธอก็ไม่ต้องแต่งงานกับเขา แต่พ่อเธอก็ยังคงเป็นหนี้ต่อไป
2
มีทางใดไหมที่จะแก้ปัญหานี้?
1
หากคิดด้วยตรรกะ ก็จะไม่พบทางออก มีแต่ใช้ lateral thinking เท่านั้นจึงช่วยได้
3
ลูกสาวชาวนาหยิบกรวดก้อนหนึ่งออกจากถุงผ้า แล้วแกล้งทำมันหลุดมือบนสวนกรวด เธอขอโทษเศรษฐีว่าเธอซุ่มซ่าม เธอบอกว่า แต่ไม่มีปัญหาอะไร ในเมื่อเศรษฐีใส่กรวดสีขาวกับสีดำอย่างละหนึ่งก้อนลงไปในถุง กรวดก้อนที่เธอหยิบก็ย่อมมีสีตรงข้ามกับก้อนที่อยู่ในถุง
5
แน่นอนเมื่อเปิดถุงออกมา กรวดในนั้นเป็นสีดำ "ซึ่งแปลว่ากรวดก้อนที่ฉันหยิบออกมาเป็นสีขาว"
2
เกมนี้เธอชนะสองต่อ ไม่ต้องแต่งงานกับคนเจ้าเล่ห์ และยังปลดหนี้พ่อสำเร็จ
4
เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนิทานพื้นเมืองของพม่าเรื่อง มะสาเบะผู้ชาญฉลาด ที่พม่ามีสาวงามคนหนึ่งชื่อมะสาเบะ เป็นที่ต้องพระเนตรกษัตริย์ หมายมั่นจะได้นางมาเป็นสนม
2
กษัตริย์เสด็จไปหานางที่บ้าน ให้เล่นเกมเลือกหินดำขาว
1
หากนางหยิบหินสีดำ จะต้องเป็นนางสนมของพระองค์ ถ้าหยิบหินสีขาว ก็จะเป็นอิสระ
2
กษัตริย์พม่าขี้โกง ใส่หินสีดำทั้งสองก้อนในถุง มะสาเบะหยิบหินออกมาหนึ่งก้อน กำไว้ แล้วค่อยๆ แอบมอง จากนั้นก็ทำสีหน้ายินดี แล้วขว้างหินก้อนนั้นลงไปในแม่น้ำ บอกกษัตริย์ว่า "ขออภัยที่พลั้งเผลอ เมื่อกี้ข้าฯดีใจจนลืมตัว"
9
เรื่องจบเหมือนกัน หญิงสาวไม่ต้องแต่งงานกับคนโกง
1
นี่ก็คือการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ vertical thinking แต่ใช้ lateral thinking มองต่างมุม มองนอกกรอบคิดเดิม และสลัดกรอบต่างๆ ออกไป เพื่อจะใช้ความคิดสร้างสรรค์แก้ปัญหา
1
ถึงจุดนี้มีวลีสองวลีคือ vertical thinking และ lateral thinking ทั้งสองวลีนี้บัญญัติขึ้นโดย เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
3
vertical thinking คือการคิดแบบตรงๆ เพื่อหาคำตอบที่รับได้ ต้องใช้การวิเคราะห์ กลั่นกรอง
1
เดอ โบโน เห็นว่าการคิดแบบ vertical thinking เราตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ส่วนการคิดแบบ lateral thinking เรานำองค์ประกอบจากภายนอกเข้าไปช่วย
2
เจตนาของ vertical thinking คือค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดคำตอบเดียว vertical thinking จึงเหมาะสมเมื่อมีคำตอบอยู่แล้วที่ไหนสักแห่ง เราจะมองว่า "นี่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด" หรือเหมาะที่สุด หลังจากพิจารณาทุกอย่างแล้ว
2
ส่วน lateral thinking แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง มันจะพาเราไปหาคำตอบที่สร้างสรรค์กว่าคำตอบที่ 'ถูกต้อง' เพราะหลายปัญหาไม่อาจแก้โดยตรรกะอย่างเดียว
7
lateral thinking ต้องใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ช่วยด้วย
1
lateral thinking เป็นวิธีการแก้ปัญหาหรือหาคำตอบ โดยการจินตนาการหาคำตอบ มากกว่าการค้นหาตามหลักตรรกะปกติ
2
มันเหมาะกับการแก้ปัญหายากๆ หรือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เช่นไอเดียโฆษณา งานเขียน ฯลฯ
1
แม้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ช่วย และบางครั้งก็ทิ้งตรรกะไปเลย แต่ความจริงมันใช้ได้ในสายงานที่ปกติไม่ค่อยยุ่งกับความคิดสร้างสรรค์ เช่น บัญชี การเงิน การคัดเลือกคน การสอนวิชาต่างๆ แม่ค้าขายขนมดั้งเดิม
2
แม้แต่การขบคิดธรรม!
1
บางศาสนาหรือลัทธิความเชื่อก็ยังหนีไม่ค่อยพ้นจากกรอบคิดเดิม เช่น ความเชื่อว่าชีวิตจะดีหากทำความสะอาดจิต
2
ฟังดูก็ไม่ผิด แต่มันก็เป็นวิธีคิดที่มีกรอบอยู่
1
นี่มิได้บอกว่าต้องหนีกรอบ แค่บอกว่าวิธีคิดนี้ยังอยู่ในกรอบ
1
ในตัวอย่างนี้ทางหนึ่งที่หลุดจากกรอบก็คือการตั้งคำถามอื่นว่า มีทางอื่นอีกไหมที่ได้ผลอย่างเดียวกันโดยไม่ต้องทำความสะอาดจิต
2
ผู้อ่านอาจคิดว่าเหลวไหล ก็คงต้องยกตัวอย่างจริง
1
ในวงการเซนยุคต้นของจีน มีความคิดแบบนี้ ศิษย์เซนคนหนึ่งนามเสินซิ่วเขียนโศลกไว้ว่า
1
"กายนั้นคือต้นโพธิ์
จิตคือกระจกเงา
หมั่นเช็ดถูอยู่เสมอ
อย่าให้ฝุ่นละอองลงจับ"
1
('โพธิ์' ในทางเซนมีความหมายถึงการตรัสรู้หรือการรู้แจ้ง 'กระจกเงา' หมายถึงจิต)
1
เด็กรับใช้คนหนึ่งชื่อฮุ่ยเหนิงอ่านโศลกนี้แล้วก็บอกให้เพื่อนช่วยเขียนเป็นเชิงแย้งว่า
1
"โพธิ์นั้นไม่มีต้น
กระจกเงาก็ไม่มี
สรรพสิ่งแต่แรกมาคือความว่างเปล่า
ฝุ่นละอองจะลงจับบนสิ่งใด"
6
หากมองในมุมของ lateral thinking โศลกบทนี้ก็ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้ไหมที่ไม่มีจิต
1
ถ้าไม่มีจิต ก็ไม่ต้องทำความสะอาด
1
บางทีสิ่งที่เรียกว่า 'จิต' ไม่ได้ดำรงอยู่จนกระทั่งเราปรุงแต่งมันขึ้นมา
1
ในกาลต่อมาฮุ่ยเหนิงก็เป็นพระสังฆปริณายกรุ่นที่ 6 แห่งจีน และเป็นพระเซนที่มีภูมิปัญญาสูงที่สุดคนหนึ่ง
5
ตัวอย่างนี้บอกว่า เราสามารถตั้งคำถามได้เสมอ แม้กับหลักธรรมที่มีรากฐานมายาวนาน
3
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อสถาปนิกออกแบบสนามหญ้าและทางเดิน แต่พบว่าคนจำนวนมากเดินข้ามสนามหญ้าเพราะมันเป็นทางลัด สถาปนิกส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาโดยสร้างรั้วล้อมสนามหญ้า หรือติดป้ายห้ามเดินข้าม lateral thinking อาจมองว่า การเดินข้ามสนามหญ้าชี้ว่ามันเป็นทางเดินที่ดีที่สุดแล้ว ก็เปลี่ยนทางลัดให้เป็นทางจริงไปเลย
8
ปัญหาก็คือปัญหา แต่ตรรกะมิใช่เครื่องมือเดียวที่แก้ปัญหา
14

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา