25 มี.ค. 2022 เวลา 01:00 • การเมือง
สงครามรัสเซีย-ยูเครน จะจบลงอย่างไร? ตอน 4
จากที่ได้เกริ่นภาพรวม และกล่าวถึงฉากทัศน์ 2 แบบแรกไปแล้วคือ
[1] คุมเชิง: สถานการณ์แบบต่างสูญเสีย
[2] รุกฆาต: ปูตินได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ในส่วนท้ายนี้ ผู้เขียนคือ เอสเชอร์ เททรูแอชวิลี ที่เป็นอดีตนักการทูตสหรัฐ และกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายที่ศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เล่าถึงฉากทัศน์ในมุมกลับ นั่นคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำของรัสเซีย
[3] บีบให้จนมุม: เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย
มาดูรายละเอียดกันได้เลยครับ
=======================
Photo by Gayatri Malhotra on Unsplash
ฉากทัศน์ที่ 3 บีบให้จนมุม: เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย
(Forced-mate: Revolution in Russia)
ในฉากทัศน์นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรัสเซีย ที่เป็นผลลัพธ์มาจากการรัฐประหารในประเทศ หรือไม่ก็เกิดการลุกฮือปฏิวัติโดยมวลชนและชนชั้นสูงทางการเมือง ด้วยเหตุผลจากการถูกบีบจากการคว่ำบาตรจนไม่ไหว
ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดวิกฤตอย่างต่อเนื่อง
หากเป็นการลุกฮือปฏิวัติโดยมวลชน อเล็กซี นาวาลนีย์ (Alexey Navalny) คนดังที่ชาวรัสเซียนิยมชื่นชอบ และยังคงอยู่ในคุกอาจจะโดนกำจัด ก่อนจะมีโอกาสจะได้นำขบวน
สำหรับพวกเสรีนิยม มิคาอิล คอโดร์คอฟสกี้ (Mikhail Khodorkovsky) ที่ลี้ภัยอยู่ที่ลอนดอน อาจจะหาทางกลับประเทศ แต่ก็อาจไม่ได้รับการต้อนรับมากมายเท่าใดนัก
ในทางทฤษฎีแล้ว เป็นไปได้ว่าตามรัฐธรรมนูญแล้ว มิคาอิล มิชูสติน (Mikhail Mishustin) ในฐานะนายกรัฐมนตรีน่าจะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีรักษาการ และจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 3 เดือน แต่การเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่นทำนองนี้ ดูมีความเป็นไปได้น้อยมาก
คนที่น่าจะมีโอกาสเป็นผู้สืบทอดมากที่สุด น่าจะเป็นคนในกลุ่มที่ใกล้ชิดกับปูตินมากที่สุด แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดการต่อสู้นองเลือดเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้น
จะเกิดการต่อสู้ของเหล่าคณะผู้มีอำนาจ เพื่อให้ได้เป็นผู้นำที่แข็งแกร่งของภูมิภาค
ประชาสังคมและเทคโนแครตอาจจะร่วมมือกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สะดวกมากขึ้น แต่การรวมกลุ่มทำนองนี้จะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายโดยรวมเพื่อรัสเซีย
Photo by Dovile Ramoskaite on Unsplash
การปฏิวัติครั้งหลังสุดของรัสเซียที่ผ่านมา เกิดขึ้นเองภายในประเทศ และไม่ได้เกิดจากการเร่งเร้าจากภายนอก
ในเหตุการณ์ที่นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้น มิคาอิล กอร์บาชอฟ พยายามจะเรียกร้องการสนับสนุนจากคนในวงรอบใกล้ชิดตัวเขา แต่กลายเป็นว่าโดนคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ต่อต้านและทำรัฐประหารเขา
อย่างไรก็ตาม รัฐประหารในคราวนั้น ถากถางทางให้แก่ บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ที่มีภาพลักษณ์แบบประชานิยมขึ้นมามีอำนาจ เยลต์ซินเป็นคนที่อยู่นอกกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับกอร์บาชอฟ
คนรัสเซียที่ไม่แน่ว่าอาจจะกำลังไม่พอใจปูตินมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอาจเป็นเหตุให้เศรษฐกิจของพวกเขาพังทลาย ได้ใช้เวลาช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาในการสร้างสำนึกแห่งอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจในความเป็นชาติขึ้นมาใหม่ อาจจะหันไปสู่การสร้างประชานิยมและชาตินิยมอีกครั้งอย่างดุเดือดก็เป็นได้
1
งานวิจัยของดิฉันเองเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวรัสเซียชี้ว่า มีความรู้สึกเรื่องประชานิยมและชาตินิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่คนรัสเซีย
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อระบอบปูตินเกิดจากฝ่ายตรงข้ามที่เป็นนักประชานิยมและพวกชาตินิยมในท้องถิ่น
ปูตินจำเป็นต้องจัดการให้เกิดความสมดุลอย่างระมัดระวังมาก บ่อยครั้งทีเดียวที่การกระตุ้นให้เกิดอัตลักษณ์ชาตินิยม ไม่ได้เกิดกับพวกสลาวิกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนของโลกที่มีชาวรัสเซียที่ไม่ใช่ชาวสลาวิกด้วยเช่นกัน
คราวหน้า จะจบบทวิเคราะห์ของฉากทัศน์ที่ 3 และทางเลือกต่างๆ สำหรับชาวยูเครน และชาติตะวันตก
โฆษณา