30 มี.ค. 2022 เวลา 04:58 • ประวัติศาสตร์
เทพธอธ (Thoth) เทพแห่งสรรพวิชาความรู้
.
เทพ”ธอธ” (Thoth) ถ้าตามภาษาอียิปต์โบราณแล้ว นามของเทพองค์นี้คือ “ดเจฮูตี” (Djehuty) ส่วน ธอธ นั้นเป็นการเรียกแบบกรีก (เรียกกันมานานมาก) ตามปกติแล้วเรามักจะพบเห็นรูปของเทพธอธเป็นมีศีรษะเป็น”นกกระสาไอบิส” (นกกระสาประจำถิ่นแถบแอฟริกาเหนือจนถึงอิหร่าน) แต่สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวแทนของเทพธอธคือ”ลิงบาบูน”
.
แต่ว่าก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมลิงบาบูนถึงเป็นตัวแทนของเทพ หรืออาจจะมาจากตำนานที่เทพธอธเล่นเกมกระดานเซเนต (Senet บอร์ดเกมโบราณของอียิปต์) ชนะเทพคอนซู (Khonsu) เทพแห่งแสงจันทร์ หลังจากชนะก็ชิงแสงจันทร์มาส่องแสง 5 วัน เพื่อให้เทพีนูต (Nut) เทพีแห่งนภา รอดจากคำสาปเทพรา (Ra) คลอดลูกได้สำเร็จเป็นเทพ 5 องค์ ตรงนั้นเองที่นักอียิปต์วิทยาคิดว่าชาวไอยคุป์อาจจะมองพระจันทร์แล้วเห็นลิงบาบูน เหมือนที่เราๆเห็นกระต่ายนั้นแหละ (หน๊านี๊!!) จึงได้เชื่อมโยงดวงจันทร์,บาบูน,เทพธอธ เข้าด้วยกัน และมีที่ประดับบนศรีษะเป็นรูปดวงจันทร์สีขาว
.
หน้าที่หลักๆของเทพธอธ คือประดิษฐ์คิดค้นอักษรเฮียโรกลิฟฟิครวมถึงศาสตร์และศิลป์อื่นๆของการขีดเขียนอีกด้วย ธอธเป็นอาลักษณ์จดบันทึกความเป็นไปของแดนไอยคุปต์ จึงมีอีกฉายาหนึ่งคือ”เจ้าแห่งเวลา” เรื่องราวของฟาโรห์ทุกพระองค์ก็เชื่อว่าได้จดบันทึกไว้
.
ด้วยความรู้ที่มีมหาศาล เทพธอธจึงสามารถควบคุมพลังเวทมนตร์ต่างๆได้แถมยังคุมความลับของเทพองค์อื่นๆอีกด้วย 555555
.
บทบาทสำคัญอีกอย่างในฐานะอาลักษณ์คือการจดบันทึก”น้ำหนักหัวใจ”ของผู้วายชนม์ (งานน่าเบื่อแท้)ในคัมภีร์มรณะ เทพธอธ จะทำหน้าที่จดบันทึกการชั่งน้ำหนักหัวใจเทียบกับขนนกของ”เทพีมาอัต” (Ma’at) ว่าผ่านการตัดสินของ”เทพโอซิริส” (Osiris) ไปใช้ชีวิตสุขสบายในโลกหน้าหรือโดนอสุรกายอัมมุต (Ammut) กินหัวใจหมดโอกาสใช้ชีวิตหลังความตายตลอดไป
.
ในยุคหลังๆ เทพธอธได้ถูกนำไปโยงกับเทพเฮอร์เมส(Hermes)ของกรีก อาจจะเป็นเพราะเทพเฮอร์เมสเป็นผู้นำทางสู่ปรโลก สื่อสารกับโลกหลังความตายได้ จนได้เป็นชื่อของเมือง “นครเฮอร์โมโพลิส” (Hermopolis) เมืองหลักของเทพธอธด้วย
.
ด้วยความที่เทพธอธเป็นที่นับถือทั่วดินแดนไอยคุปต์ พระนามของฟาโรห์ในยุคใหม่ได้เอานามของเทพธอธมารวมไว้ด้วย เหมือนที่ไทยจะเอานามของพระนารายณ์มาตั้งนั้นแหละ อย่างบรรดาฟาโรห์ที่มีพระนามว่า “ทุธโมซิส” (Tuthmosis) ทั้งหลาย จริงๆแล้วถ้าอ่านตามภาษาอียิปต์โบราณจะได้ว่า “ดเจฮูดีเมส” (Djehutymes) แปลว่า “ผู้เกิดจากเทพธอธ” มีด้วยกันสี่พระองค์ที่ใช้พระนามนี้ ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ “นโปเลียนแห่งอียิปต์” นาม “ทุธโมซิสที่3” (Tuthmosis III) ผู้ครอบครองดินแดนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ ตั้งแต่ซีเรียเลบานอนจรดนูเบียในแอฟริกา ดินแดนทั้งหมดยึดครองได้ในช่วงรัชสมัยของทุธโมซิสที่3
.
ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อเทพธอธในร่างของนกกระสา ยังปรากฎอยู่ที่เมือง “ทูนา เอล เกเบล” (Tuna el Gebel) ที่เมืองนั้นเป็นที่ตั้งสุสานใต้ดิน “ไอเบียม” (Ibeum) เป็นสุสานที่เก็บร่างมัมมี่ของนกกระสา หลายพันร่าง รวมถึงมัมมี่ลิงบาบูนด้วยเช่นกัน
.
นกกระสาที่ชาวไอยคุปต์นับถือเป็นเทพไม่ได้มีแต่นกกระสาไอบิสที่เป็นเทพธอธแล้ว ยังมีนกกระสาเฮรอน ที่เรียกว่า”เทพเบนู”(Benu) ซึ่งเกี่ยวกับตำนานสร้างโลกของชาวไอยคุปต์และยังเป็นต้นแบบของนกฟีนิกซ์ (Phoenix) เพราะเป็นนกอมตะ ตายแล้วเกิดจากขี้เถาคล้ายๆกัน **ถ้าเคยดูSaint Seiya ภาค The Lost Canvas จะมีสเปคเตอร์ตนหนึ่งชื่อ เบนนู คางาโฮะ (Bennu Kagaho) ชุดครอสเป็นนกกระสาอมตะ แต่ก็โดนจัดการแล้วมาเกิดใหม่เป็นนกอมตะ ฟีนิกซ์ อิคคิ (Phoenix ikki)ในภาคหลักนั้นเอง**
.
.
นอกเรื่องซะยาวแต่เป็นเรื่องน่าแปลกใจเลยที่เดียวที่ว่าในวัฒนธรรมของชาวไอยคุปต์ มีการนับถือนกเป็นเทพเจ้าอยู่มากมายหลายชนิดตั้งแต่เหยี่ยว,นกกระทุง,นกกระสากระทั่งห่านเลยทีเดียววววว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา