8 เม.ย. 2022 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
เกาหลีใต้วางแผนพัฒนา Metaverse ให้เป็นอุตสาหกรรมหลัก
จากข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด Emerg Research พบว่าตลาด Metaverse ทั่วโลกจะเติบโตจาก
47.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 เป็น 828.95 พันล้านดอลลาร์ในปี 2571 ในส่วนของประเทศเกาหลีใต้ ข้อมูลจากภาครัฐในการประชุมเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ระบุว่าเกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 12 ในตลาด Metaverse ทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้ได้เปิดเผยแผนงานระยะยาวเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม Metaverse ของประเทศ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้เกาหลีใต้เป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกในปี 2569 โดยเน้นการสร้างผู้เชี่ยวชาญกว่า 40,000 คน และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Metaverse กว่า 220 แห่ง อนึ่ง สำหรับการลงทุนครั้งแรก รัฐบาลจะใช้งบประมาณ 556 พันล้านวอน (465 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2565 เพื่อส่งเสริมให้ Metaverse เป็นอุตสาหกรรมหลัก
5
นโยบายเกี่ยวกับ Metaverse ในเกาหลีใต้
รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับ Metaverse ดังนี้
○ กระทรวงวิทยาศาสตร์และไอซีทีได้ประกาศแผนเชิงกลยุทธ์ของรัฐบาลในการเตรียมรับมือต่อ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้นจาก Metaverse และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต รวมทั้งได้กำหนดเป้าหมายหลัก 4 ประการ ประกอบด้วย การเปิดใช้งานระบบนิเวศสำหรับแพลตฟอร์ม Metaverse การอบรมและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ การส่งเสริมบริษัทที่เกี่ยวข้อง และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ Metaverse ทั้งหมด
1
○ การพัฒนา Metaverse ประเภทต่างๆ จะนำโดยภาคเอกชน ในขณะที่รัฐบาลจะเน้นไปที่การสนับสนุน นักพัฒนาแต่ละรายและบริษัทเป็นหลัก ผ่านการสนับสนุนที่หลากหลาย เช่น ในการให้บริการสาธารณะ รัฐบาลจะจัดลำดับความสำคัญโดยใช้แพลตฟอร์ม Metaverse ที่พัฒนาโดยเอกชน แทนที่จะพยายาม สร้างเวอร์ชันของตัวเอง
5
○ รัฐบาลเกาหลีได้ เปิดตัว 'Metaverse Alliance' เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 เพื่อเป็นศูนย์กลางความ ร่วมมือทางธุรกิจสำหรับแพลตฟอร์ม Metaverse ซึ่งมีบริษัทและสถาบันต่างๆ เข้าร่วมกว่า 700 แห่ง เพื่อค้นคว้าและวางแผนธุรกิจต่างๆ
1
○ รัฐบาลวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยี Metaverse ในด้านศิลปะ วัฒนธรรม การศึกษา บันเทิง (K-POP) และการท่องเที่ยว รวมถึงสร้างสถาบันภาษาเกาหลีออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Metaverse สำหรับ ชาวต่างชาติ
○ เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐาน Metaverse ทั่วประเทศ รัฐบาลจะจัดตั้งศูนย์กลาง Metaverse แห่งใหม่ ในปีนี้ เพื่อให้พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อบริษัท startups ในการใช้งาน นอกจากนี้ ยังมีการ วางแผนสร้างกองทุน Metaverse เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้วยมาตรการสนับสนุนดังกล่าว รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเห็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านวอนต่อปี จากแต่ละบริษัท ทั้ง 220 แห่งที่เชี่ยวชาญด้าน Metaverse ในปี 2569
นายลิม เฮซุก รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และไอซีทีกล่าวว่า “Metaverse เป็นเสมือนทวีปทางดิจิทัลแห่ง ใหม่ที่มีศักยภาพไร้ขีดจำกัดที่ทุกคนสามารถบรรลุความฝันได้ด้วยการเล่นเป็นตัวละครหลักในโลกเสมือนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวที่ท้าทายมากขึ้นและเติบโตขึ้นเพื่อก้าวไปสู่โลกที่กว้างขึ้น”
2
กลยุทธ์ในการดำเนินการ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้วางกลยุทธ์ในการดำเนินการ 4 กลยุทธ์หลัก ดังนี้
1
กลยุทธ์ที่ 1: เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับแพลตฟอร์ม Metaverse
ระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม Metaverse จะเติบโตเต็มที่ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการเติบโตอย่าง ยั่งยืน ซึ่งนำโดยภาคเอกชนและการสนับสนุนจากรัฐบาล
ฟื้นฟูระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม Metaverse
- ค้นหาและสนับสนุนแพลตฟอร์ม Metaverse ชั้นนำ
- สานต่อ K-Wave (อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี) ให้เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถแข่งขันได้
- เผยแพร่บริการ Metaverse ที่เหมาะกับแต่ละระดับภูมิภาค
- ใช้ Metaverse สำหรับงานระหว่างประเทศ
- เร่งการสร้างนวัตกรรม Metaverse ในแขนงต่างๆ
สร้างรากฐานสำหรับการเติบโตของแพลตฟอร์ม Metaverse
- รักษาความสามารถในการแข่งขันในเทคโนโลยี Metaverse
- สนับสนุนการผลิตและจัดจำหน่าย Digital Creations อย่างปลอดภัย
- สร้างและพัฒนาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน Metaverse
กลยุทธ์ที่ 2: สร้างผู้เชี่ยวชาญ Metaverse
รัฐบาลสนับสนุนการสร้างงานดิจิทัล การสร้างเศรษฐกิจ รวมทั้งการใช้งานและการเพิ่มขึ้นของผู้ เชี่ยวชาญ โดยการส่งเสริมนักพัฒนาและครีเอเตอร์ที่เป็นผู้นำตลาด Metaverse ทั่วโลก
1
ปลูกฝังความสามารถในอุตสาหกรรม Metaverse
- สนับสนุนความสามารถที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ
- ส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญในการลงมือปฏิบัติจริง
- สนับสนุนการเติบโตของ Metaverse Creators
การใช้งานและการขยาย Metaverse
- สนับสนุนสภาพแวดล้อมการทำงานของ Metaverse Digital Nomad (กลุ่มผู้ทำงานใน อาชีพใดๆที่สามารถทำงานและส่งงานออนไลน์ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด)
- เผยแพร่ความรู้และความสำเร็จของ Metaverse
- ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการและการค้าผ่านการแข่งขัน Metaverse
กลยุทธ์ที่ :3 ส่งเสริมบริษัทเฉพาะทางของ Metaverse รัฐบาลสนับสนุนการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันระดับโลกด้วยการส่งเสริมบริษัทเฉพาะทางที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่มุ่งเน้น Metaverse และการสร้างงานในอุตสาหกรรม
ขยายโครงสร้างพื้นฐานการเติบโตของบริษัท Metaverse
-สร้างรากฐานสำหรับการสนับสนุน Metaverse แบบบูรณาการ
-เชื่อมต่อและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะของ Metaverse
ตอกย้ำความสามารถในการแข่งขันของบริษัท Metaverse
-ส่งเสริมบริษัท Metaverse Star
-ส่งเสริมการลงทุนในกองทุน Metaverse
-อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินตราของบริษัท Metaverse ทั่วโลก
กลยุทธ์ที่ :4 สร้างสภาพแวดล้อม Metaverse ตัวอย่างรัฐบาลสร้างแนวปฏิบัติบนพื้นฐานของความปลอดภัยและความไว้วางใจ โดยตระหนักถึงคุณค่าของชุมชน และสร้างจริยธรรมสำหรับยุค Metaverse รวมทั้งการจัดระเบียบระบบกฎหมาย
สร้างสภาพแวดล้อม Metaverse ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้
-สร้างจริยธรรมสำหรับยุค Metaverse
-เตรียมกฎหมายและข้อบังคับในการเตรียมความพร้อมสำหรับยุค Metaverse
- นำเสนอแนวทางนโยบายระยะกลางถึงระยะยาวและนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ตระหนักถึงคุณค่าของชุมชน Metaverse
-สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในนวัตกรรมทางสังคม
-ช่วยสร้างสังคมแห่งสิทธิดิจิทัล
Metaverse Seoul
รัฐบาลกรุงโซลประกาศว่า กรุงโซลจะเป็นเมืองใหญ่เมืองแรกที่จะเข้าสู่สังคม Metaverse โดยรัฐบาลกรุง โซลจะนำเสนอบริการสาธารณะแนวใหม่ผ่านโลกเสมือนจริงออนไลน์ โดยการสร้างแพลตฟอร์ม Metaverse ของตัวเองเป็นครั้งแรกในกลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศ
“Metaverse Seoul” จะค่อยๆ ดำเนินการบริการสนับสนุนสำหรับพลเมืองและองค์กรต่างๆ เช่น พิธีตีระฆังส่งท้ายปีเก่าเสมือนจริงที่หอระฆังโบซินกัก สำนักงานนายกเทศมนตรีเสมือนจริง และบริการเสมือนจริงจาก Seoul Fintech Lab, Invest Seoul และ Seoul แคมปัสทาวน์
รัฐบาลโซล ได้ตั้งชื่อเรียกชั่วคราวว่า 'Metaverse Seoul' โดยตั้งใจที่จะสร้างระบบนิเวศการสื่อสาร เสมือนจริงสำหรับทุกพื้นที่ของการบริหารเทศบาล ซึ่งจะรวมถึงเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษา และการบริการพลเมือง โดยจะลงทุน 50,000 ล้านวอนในโครงการนี้เป็นเวลา 5 ปีตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2569 ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ 'แผน Seoul Vision 2030
1
กรุงโซลแถลงว่าในปี 2566 รัฐบาลกรุงโซลจะเปิด" Metaverse 120 Center" ซึ่งเป็นศูนย์บริการ สาธารณะเสมือนจริง นอกจากนี้ กรุงโซลจะใช้เมตาเวิร์สในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วและให้บริการแบบแนวความคิดใหม่ที่ตรงตามความต้องการของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น Metaverse conference service จะถูกนำมาใช้เป็นช่องทางการสื่อสารสำหรับการจัดงานต่างๆ และจะมีการจัดทำสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบ non-face-to-face โดยใช้ Metaverse-based ที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ นอกจากนี้ ยังให้บริการ Big data ที่สามารถใช้และแบ่งปันข้อมูลขนาดใหญ่ทั้ง สาธารณะและส่วนตัว
รัฐบาลกรุงโซลสะท้อนแนวโน้มและความต้องการของ Metaverse ของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยวาง แผนงานใน 7 แขนงได้แก่
เศรษฐศาสตร์ – สนับสนุนระบบนิเวศอุตสาหกรรมโดยใช้ Metaverse
การศึกษา –สนับสนุนการเรียนรู้ที่จับต้องได้บน Metaverse
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – ทำการตลาดเชิงวัฒนธรรมแบบ On-tact โดยไม่จำกัดเวลา และ พื้นที่
การสื่อสาร – การสื่อสารแบบเปิด ที่เน้นให้พลเมืองเป็นศูนย์กลาง
เมือง - นวัตกรรมเมืองบน XR ที่ผสมผสานความเป็นจริงและเสมือนจริง
การบริหารงานของรัฐ – ใช้แนวคิดการบริหารงานแบบใหม่และแบบเสมือนที่สะดวกยิ่งขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน – สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนสำหรับ Metaverse Seoul
การที่กรุงโซลกลายเป็นเมือง Metaverse จะเป็นก้าวใหม่ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของเกาหลีใต้ เว็บไซต์ Quartz ระบุว่า กรุงโซลกำลังวางแผนที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจสอบท่อระบายน้ำและศูนย์บำบัดน้ำเสีย ซึ่งหมายความว่าแชตบอท AI จะทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน รวมทั้ง ตอบคำถามและข้อร้องเรียนทุกสิ่งตั้งแต่ปัญหาที่จอดรถไปจนถึงโควิด 19
1
อนึ่ง การก้าวกระโดดครั้งใหญ่นี้บนแพลตฟอร์ม Metaverse ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอาจนำไปสู่ การเอาชนะข้อจำกัดในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ข้อจำกัดทางเวลา พื้นที่และอุปสรรคทางภาษา
เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ
รัฐบาลเกาหลีได้จัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม Metaverse อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้ได้รับการส่งเสริมโดยรัฐบาลท้องถิ่น โดยมีแผนจะ ส่งเสริม Metaverse ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองในอีก 5 ปีข้างหน้าจนถึงปี 2569
-รัฐบาลเกาหลีประมาณการว่าส่วนแบ่งการตลาดของตลาด Metaverse เกาหลีในตลาดโลก อยู่ อันดับที่ 12 ในปี 2564 และคาดว่าจะก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 5 ภายในปี 2569 และเพิ่มส่วนแบ่งของ อุตสาหกรรม ICT ในเกาหลีจาก 11.7% ในปี 2564 เป็น 16% ภายในปี 2569
-ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลเกาหลีจะส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญด้าน Metaverse 40,000 คน และบริษัท 220 แห่งที่มียอดขายตั้งแต่ 5 พันล้านวอนขึ้นไป
ด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรม Metaverse สังคมเกาหลีจะถูกพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งคาดว่าจะเข้าสู่ 10 อันดับแรกจากอันดับที่ 35 ในดัชนีความสุขในกลุ่มประเทศ OECD ภายในปี 2569
Metaverse กำลังเป็นกระแสมาแรงที่บริษัทและแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจ และต้องการที่จะก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้ง Metaverse จะเข้ามาสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ในหลากหลาย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การแพทย์ และสื่อ โดยขณะนี้เริ่มได้เห็นว่ามีการสร้างอาชีพใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์ ดีไซเนอร์และนักพัฒนาที่ดินในเกมเสมือนจริง ซึ่งเกาหลีใต้ได้เริ่มนโยบาย ด้าน Metaverse อย่างจริงจัง
โดยเน้นการสนับสนุนภาคเอกชนและพัฒนาทักษะอาชีพแก่ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งยังนำ Metaverse เข้ามาช่วยในการบริหารบ้านเมืองและแก้ปัญหาด้านการบริการประชาชนอีกด้วย ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ทันสมัยและนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลทำให้โลกไร้พรมแดน จึงอาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าระหว่างประเทศในอนาคต รวมทั้งช่วยให้การค้าระหว่างประเทศง่ายขึ้น เช่น การลดทอนปัญหาด้านการสื่อสาร เป็นต้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามข่าวสารและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้าและการแข่งขันต่อไป
โฆษณา