19 เม.ย. 2022 เวลา 12:19 • คริปโทเคอร์เรนซี
ค่าแก๊ส (Gas) คืออะไร? ทำไมต้องจ่าย?
สำหรับใครที่เล่นคริปโตหรือ NFT คงจะคุ้นชินกับคำว่า “ค่าแก๊ส” กันมาบ้างแล้ว แต่ส่วนใครที่กำลังศึกษาอยู่ ก็ลองเข้ามาเรียนรู้พร้อมกันกับบทความนี้กันเลยนะคะ
ค่าแก๊ส (Gas) คือ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน โดยผู้ใช้งานต้องจ่ายค่าแก๊สให้กับผู้ประมวลผลการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม หรือที่เรียกกันว่านักขุด (Miner) นั่นเอง
ในช่วงแรกๆ เหรียญคริปโตฯ ที่มีอยู่นั้นยังมีน้อยชนิดและมีจำนวนไม่มาก เหรียญแรกที่เกิดขึ้นในระบบก็คือ Bitcoin และต่อมาก็เริ่มเกิดการแตกตัวของเหรียญต่างๆ ออกมาอีกมากมาย ซึ่งแต่ละเหรียญก็มีจุดประสงค์ของมันเอง
เช่น Ethereum ถูกสร้างขึ้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนา App ทำให้มีเว็บที่ระบบใหญ่ๆ ส่วนมากอยู่ในเชน ETH นั่นเอง
เนื่องจากเวลาเราทำธุรกรรมบนบล็อกเชน ข้อมูลของเราจะถูกเอาไปต่อคิวเป็นบล็อก เพื่อรอการตรวจสอบโดยการเรียงลำดับคิว ซึ่งค่าแก๊ส จะขึ้นอยู่กับระดับความเร็วในการประมวลผลการทำธุรกรรม ถ้าจ่ายเยอะบล็อกนั้นก็จะไปอยู่ลำดับต้นๆ มีโอกาสที่จะได้ตรวจสอบข้อมูลก่อน
ถ้าจ่ายน้อย ก็ต้องไปต่อคิวหลังๆ ซึ่งบางทีการจ่ายน้อยเกินไปก็จะทำให้ข้อมูลเราค้างอยู่ที่เดิมๆ ไม่สำเร็จสักทีจนถูกระบบยกเลิกไปก็เป็นได้
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นผลทำให้ เมื่อมีคนทำธุรกรรมในระบบเยอะๆ ค่าแก๊ส ก็จะพุ่งสูงขึ้นปรี้ด เพราะใครๆ ก็อยากให้ธุรกรรมของตัวเองถูกตรวจสอบได้เร็ว
ค่าแก๊ส จึงเปรียบเสมือนกับค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน Blockchain นั่นเอง
ทำไมต้องใช้ค่า GAS
จริงๆแล้วค่า GAS คือค่าธรรมเนียมของทุกๆ Smart Contract ที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Ethereum
จริงๆ แล้ว Ethereum ไม่ใช่สกุลเงินดิจิทัล แต่เป็นชื่อของระบบปฎิบัติการที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชน ซึ่งต้องใช้เหรียญสกุล Ether(ETH) หยอดเข้าไปเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานของระบบ
เสมือนหนึ่งว่า ถ้าเราอยากจะขับรถไปที่ไหนสักแห่ง ก็ต้องเติมน้ำมันหรือแก๊สให้รถซะก่อน ถึงจะไปถึงปลายทางได้สำเร็จ ดังนั้นจึงเปรียบค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพื่อให้โปรแกรมบนระบบ Ethereum ทำงานได้สำเร็จว่าเป็นค่า “GAS”
หมายถึง การใช้ GAS เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้คนขุด Ethereum นั่นเอง
💥 สรุปแล้ว ค่าแก๊ส ก็คือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน โดยราคาของค่าแก๊ส ที่ต้องจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของธุรกรรมที่รอตรวจสอบยิ่งมีจำนวนมากค่าแก๊ส ก็ยิ่งสูง และการตรวจสอบธุรกรรม หนึ่งบล็อกนั้นจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับวิธีตรวจสอบ ซึ่งที่ใช้อยู่มี 2 วิธีหลักๆ ได้แก่
-Proof of work ตรวจสอบโดยการแข่งกันแก้โจทย์ใครแก้ได้ก่อนจะได้รางวัลไป ยิ่งมีผู้ใช้เยอะ โจทย์ก็ยิ่งยาก ทำให้ตรวจสอบได้ช้า และยังใช้ทรัพยากรมากขึ้นเรื่อยๆ
-Proof of stake ตรวจสอบโดยการสุ่มเลือกคนที่มา stake เหรียญไว้ในระบบเป็นผู้ตรวจสอบถ้าเรียบร้อยก็จะได้รางวัลไป ทำให้ไม่กินทรัพยากรและลดเวลาในการตรวจสอบอีกด้วย PoS ถูกใช้ในเหรียญใหม่ๆเช่น ADA BNA DOT MATIC(แตกออกมาจาก ETH แต่ใช้ PoS) และในอนาคต ETH 2.0 จะเปลี่ยนมาใช้ PoS
และภายหลัง ก็มีอีก 1 วิธี ที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ Proof of history ตรวจสอบโดยการดูประวัติของข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในอดีตทำให้ใช้เวลาที่เร็วต่อการตรวจสอบ ปัจจุบันนี้พบได้ใน SOL แต่ SOL ก็ยังใช้ผสมกันระหว่าง PoH กับ PoS
Cr.thematter
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา