15 เม.ย. 2022 เวลา 03:00 • บ้าน & สวน
พิบูลเวศม์ - หมู่บ้านจำลองเมืองมรดกจอมพล ป.
ในระยะเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 (ค.ศ.1948-1957) ได้มีการริเริ่มโครงการใหม่ๆขึ้นมากมายอันเป็นรากฐานจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นการจัดสรรหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย หรือที่เรียกกันว่า “อาคารสงเคราะห์”
ป้ายหน้าทางเข้าหมู่บ้านพิบูลเวศม์
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจไทยเริ่มเติบโตขึ้นตามเศรษฐกิจโลก มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่องรองรับประชากรที่ย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมืองหลวง ทำให้เกิดชุมแชนแออัดขึ้น รัฐบาลจึงออกนโยบายสร้างอาคารสงเคราะห์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยออกพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ ค.ศ.1953 โดยมีหน้าที่สถาบันการเงินจัดหาเงินสำหรับประชาชนซื้อที่อยู่อาศัย
จอมพล ป. เปิดธนาคารอาคารสงเคราะห์ (พิพิธภัณฑ์เสมือน การเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย)
โดยโครงการแรกที่เกิดขึ้น ได้แก่ หมู่บ้านพิบูลเวศม์ สร้างในปี ค.ศ. 1955 บนถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) โดยเป็นหมู่บ้านจัดสรรแห่งแรกของรัฐบาลขนาด 80 ไร่ โดยแต่ละบ้านจะมีขนาด 114 ตารางวา จำนวน 258 หลัง บ้านมีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนโล่ง ซึ่งชื่อของพิบูลเวศม์มาจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เริเริ่มและเป็นประธานเปิดโครงการ
บ้านในหมู่บ้านพิบูลเวศม์ในระยะแรก (พิพิธภัณฑ์เสมือน การเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย)
สำหรับลักษณะของหมู่บ้านพิบูลเวศม์ เป็นหมู่บ้านที่มีวงเวียนเป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยร้านค้า สนามเด็กเล่น และลานกีฬา ซึ่งการสร้างวงเวียนใจกลางหมู่บ้านแบบนี้ เป็นการย่อส่วนเมืองดังที่เราได้พบเห็นได้ในเมืองลพบุรีที่ออกแบบโดยจอมพล ป. โดยทางเข้าหมู่บ้านผ่านวงเวียนจะพุ่งตรงไปที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นพร้อมกับหมู่บ้าน เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับบุตรหลาน เปิดการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6
วงเวียนกลางหมู่บ้านพิบูลเวศม์
แม้ว่าในปัจจุบัน บ้านในหมู่บ้านพิบูลเวศม์จะไม่ได้มีลักษณะเป็นเรือนไม้อย่างในอดีต และหมู่บ้านพิบูลเวศม์ไม่ได้เป็นหมู่บ้านชานเมืองอีกต่อไป แต่หมู่บ้านพิบูลเวศม์ยัคงทีลักษณะผังเมืองเป็นแบบเดิมที่เคยเดิมที่เคยก่อสร้าง และสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผังเมืองในสไตล์จอมพล ป.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา