7 พ.ค. 2022 เวลา 17:00 • ประวัติศาสตร์
ตำราเพศศึกษาของไทย สมัยโบราณ ตอนที่ 4
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในศาลาราย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ กรุงเทพฯ ที่มา: Facebook จิตรกรรมฝาผนัง-ภาพเขียน-และภาพแกะสลักโบราณ
จากการค้นคว้าของ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ปรากฏว่าไม่พบตำราเพศศึกษาที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นักวิชาการพิจารณาอีกมุมหนึ่งเป็นไปได้ว่า ก่อนหน้านั้นอาจมีแต่ไม่พบหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ที่พบหลงเหลือจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาในบทอัศจรรย์เชิงเปรียบเทียบในรูปแบบของ “โครงทวาทศมาส” ในสมัยอยุธยาตอนต้น
1
...
ในโครงทวาทศมาสมีการกล่าวถึงฉากร่วมสังวาสของคู่ชายหญิง โดยใช้สัญลักษณ์เปรียบเปรย คือ “งูใหญ่ แมลงภู่” แทนอวัยวะเพศชาย “บัวทอง สระ ดอกไม้” แทนอวัยวะเพศหญิง “ถนำทึก นพนิต” แทนน้ำกาม
5
...
ตำราสังวาสหรือตำราเพศศึกษาโบราณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบตัวเขียนบนใบลานและสมุดไทย บางเล่มได้คัดลอกลงสมุดฝรั่งด้วยลายมือของผู้คัดลอก ฉบับพิมพ์ค่อนข้างหายาก เพราะพิมพ์ในวงแคบๆ ไม่เผยแพร่มากนัก ตำราเพศศึกษาที่พิมพ์ในระบบโรงพิมพ์ออกมาเป็นเล่มเริ่มมีให้เห็นในช่วงรัชกาลที่ 7
1
  • “พระตำหรับยาแก่กล่อน โดยพิสดาร” บันทึกลงในสมุดฝรั่งด้วยอักษรไทย เขียนด้วยหมึกตัวบรรจงหัวกระดาษมีรูปตราอาร์มหรือตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 โดยที่สันนิษฐานว่าตำรากลุ่มนี้เคยมีทั้งที่จารลงใบลานและบันทึกในสมุดไทย เมื่อกระดาษสมุดฝรั่งแพร่หลายถึงมีการคัดลอกลงสมุดฝรั่ง
ตำราเล่มนี้สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนฉบับพิมพ์เริ่มพบหลังสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา
(กล่อน ชื่อโรคชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์แผนโบราณ ว่าเกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ)
2
หน้าปก พระตำหรับยาแก่กล่อน โดยพิสดาร ที่มาภาพ: Facebook @Siambrannakom
  • ตำราเล่มนี้เชื่อว่าต้องการให้ใช้อ่านเฉพาะกลุ่ม ไม่ต้องการเผยแพร่สู่คนทั่วไปในสมัยที่แต่ง มีการเขียนโดยอำพรางเนื้อหาหรือคำบางคำ คือใช้รหัสอักษรเพื่ออำพรางข้อความสำคัญบางส่วนในตัวบท รหัสที่ปรากฏ ได้แก่ อักษรเลข (ใช้ตัวเลขแทนรูปสระ) และฟองหูช้าง (ใช้ตัวเลขและจุดฟองไข่ปลาแทนพยัญชนะ) เช่น ข 9 อ่านว่า ขา หรือ 2 ยน๊ อ่านว่า โยนี เป็นต้น รหัสทั้งสองมักปรากฏอยู่ร่วมกัน กล่าวคือเขียนพยัญชนะด้วยรหัสฟองหูช้างและเขียนสระด้วยรหัสอักษรเลข
ในตำราดังกล่าวพบรวมมากกว่าหนึ่งร้อยคำ ไม่พบการเข้ารหัสทั้งประโยค หากแต่เข้ารหัสเฉพาะคำหรือข้อความสำคัญในประโยคนั้นๆ ปะปนไปกับข้อความที่ไม่ได้เข้ารหัส ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อความคร่าวๆ ของแต่ละประโยคได้ หากแต่คำสำคัญหรือวลีสำคัญจะถูกอำพรางไว้ด้วยรหัส หากไม่ถอดรหัสก่อนจะไม่สามารถอ่านเอาความได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
1
เนื้อหาในเล่มเล่าถึงพระราชกุมารสองพี่น้อง เป็นพระราชโอรสของ “ท้าวยักขพิมล” แห่ง “เหมะวะดีมะหานคร” ราชกุมารพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “พระราชกุมารวิเชียร” พร้อมสมเด็จพระน้องยาไปเรียนศิลปศาสตร์กับพระอาจารย์สำนักทิศาปาโมกข์ในเมือง “ตักสิลาก์”
เนื้อหาเกริ่นนำ พระตำหรับยาแก่กล่อน โดยพิสดาร ที่มาภาพ: Facebook @Siambrannakom
...
เนื้อหาที่น่าสนใจในเล่ม ได้แก่ การทำนายลักษณะใบหน้า รูปร่าง ท่าทาง กลิ่นกาย กลิ่นปาก ลักษณะอวัยวะเพศของชายและหญิง ราคะลักษณะ การประกอบยาสำหรับแก้ไขอาการและลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ รวมทั้งวิธีคิดเศษเพื่อทำนายขนาดของอวัยวะเพศ เป็นต้น
เนื้อหาในตำราเล่มนี้ส่วนแรกว่าด้วยเรื่องทำนายชะตาจากลักษณะภายนอก มาจนถึงประเวณีลักษณะ ทำนายนิสัยจากลักษณะอวัยวะของสตรี ยกตัวอย่างมาเล็กน้อย ดังนี้
...
“หญิงใดโยนีดังกีบกวาง แลหัวเล็กข้างบนยาวก็ดี เรียวๆแลดูหัวไหล่หลุบ หญิงนั้นมักแพ้ผัว ชายพึงเว้นเสียแล
1
หญิงใดโยนีดังกระบานหาที่พึ่งมิได้ ชายใดจะสมเสพย์ ถ้าทำถึงใจมันจึงรัก ถ้าทำไม่ถึงใจมันคิดจะหาใหม่แล
1
หญิงใดโยนียาวแลหน้ายาว ขายาว มือยาว หญิงนั้นมีใจรักจะใคร่ลองเล่นลองดูซึ่งผัวเขาอื่น หญิงนั้นคิดอยู่เนืองๆ จะเอาผัวเขาแล…”
1
ส่วนต่อมาคือ “ราคะลักษณะ” เล่าด้วยการตอบคำถามของฤๅษี ว่าด้วยข้อแนะนำในการทำกิจกรรมทางเพศ ตามมาด้วยการประกอบยารักษาอาการบกพร่องทางประเวณี ยกมาเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่ง ดังนี้
...
“ถ้าชายใดลึงค์หดอ่อนไปไม่แขง ท่านให้เอารากละหุ่งดำ 1 ราก ละหุ่งแดง 1 รากละหุ่งขาว 1 บดทาลึงค์ทั้งใหญ่ทั้งแขงดีนักแล ถ้าเอาไม่ทน ท่านให้เอากระเทียมบดกับเนยกินเถิดกำลังมากเอาทนดีแล…”
3
ส่วนสุดท้ายคือวิธีคิดเศษทำนายลักษณะอวัยวะของสตรี โดยเอาวันเดือนปีมาบวกกัน ให้นับปีชวดเป็นปีที่หนึ่ง ให้นับเดือนห้าเป็นเดือนที่หนึ่ง และนับวันอาทิตย์เป็นวันที่หนึ่ง เอาจำนวนที่นับได้มาบวกรวมกัน แล้วหารด้วยแปด จะได้เศษมา เนื้อหาคำทำนายส่วนหนึ่งที่ใช้ ยกตัวอย่างมีดังนี้
...
“เศษหนึ่งตำราท่านว่ามี รูปโยนีเท่าใบพลูไม่สู้ใหญ่ หนทางเข้านั้นขยับจะคับไป ขนก็ไม่มีรกปิดปกรู พิเคราะห์ดูสินทรัพย์อาภัพครัน แต่ว่าขันหมากจนคนไม่สู้ ชะตาแรงหนักหนาตำราครู จะมีคู่เลือกเอาเองไม่เกรงใคร
1
เศษสองท่านทายทำนายว่า โตเท่าฝ่ามือกางอย่างใหญ่ๆ ทั้งขนดำนั้นรกดกกะไร เนื่องขึ้นไปจนถึงหนอกดูออกดำ อนึ่งว่าอาภัพอัประลักษณ์ ทั้งยศศักดิ์เสื่อมทรามแม่งามขำ ทรัพย์สมบัติก็หาอุตส่าห์ทำ กว่าจะปล้ำตัวได้เหื่อไหลเปาะ...”
  • บทสรุป
แม้คนไทยจะยอมรับว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่การพูด การศึกษาหรือการสอนเรื่องเพศโดยตรงถือเป็นเรื่องน่าอายตั้งแต่อดีตแล้ว ตำราเพศศึกษาจึงเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มซึ่งมีวิธีการอำพรางเนื้อหาด้วยรหัสอักษร การใช้ภาษาความเปรียบสัญลักษณ์และใช้คำศัพท์บาลีแทนการใช้คำไทย เพื่อลดทอนความหยาบโลนให้น้อยลง
ตำราเพศศึกษาโบราณของไทยล้วนได้รับต้นแบบจากตำรากามสูตรของอินเดียและนรลักษณ์ศาสตร์ของจีน (โหงวเฮ้ง) แต่ได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมทางเพศของสังคมไทย มีการแต่งปรับเปลี่ยน สร้างสรรค์เพิ่มเติมตามความเชื่อและการปฏิบัติในเรื่องเพศของคนไทยในอดีต
1
จบแล้ว ตอนที่ 4
...
ติดตามตอนที่ 3 จากด้านล่างนี้
  • เครดิตภาพปก:
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
สุกัญญา สุจฉายา, บรรณาธิการ. (2561). ไขความลับวรรณกรรมตำราเพศศาสตร์. นครปฐม: โครงการวิจัยเรื่อง “ตำราวรรณกรรมเพศศาสตร์ของคนไทยภาคกลาง: ไขความลับเป็นความรู้” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุกัญญา สุจฉายา, วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562
1
Facebook @Siambrannakom
โฆษณา