29 พ.ค. 2022 เวลา 07:10 • สุขภาพ
เคยโดน”แหกตา”❔
👩‍⚕️แหกตาดูเยื่อบุตา บอกโรคได้!
แหกตาหรือแฮ้คต้า เป็นภาษาพูดหรือคำเรียกง่ายๆ ของหมอเรา
วัณโรคที่เยื่อบุตา-เคสหายาก Reference: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5854858/#!po=17.5000
สีขาวปนชมพูนิดหน่อย คล้าย ๆ สีของสลิ่ม..เอ๊ย ขนมสลิ่มน้ำกะทินะคะ กำลังดี สุขภาพดีค่ะ(เครดิตภาพ-หมอชาวบ้านลิ้งค์อ้างอิง)
ป้าน่ะได้ยินมาตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน
วิธีการตรวจคือคุณหมอจะเอานิ้วชี้แตะที่ใต้ตา บริเวณขอบตาล่างของขอบตาคนไข้ แล้วดึงลงมาเบาๆ ไม่ดึงแรงนะคะ ไม่ให้คนไข้เจ็บ
ดึงเพื่อให้หนังตาด้านในปลิ้นออกมา เพื่อที่คุณหมอจะได้ตรวจดูสีของเยี่อบุตาด้านใน
ดูว่าเป็นสีอย่างไรบ้าง เป็นสีขาวปนชมพูกำลังดี หรือว่าปนชมพูแดงเข้มจนเกินไป
เราแปลผลดังนี้ค่ะ
1. แหกตาแล้ว>>สีขาวปนชมพู แดงเรื่อๆ กำลังดีคือปกติ ไม่มีโลหิตจาง
👉แค่ไหนเรียกว่า”กำลังดี”
สำหรับป้า ป้าคิดว่าสีขาวปนชมพูนิดหน่อย คล้าย ๆ สีของสลิ่ม..เอ๊ย ขนมสลิ่มน้ำกะทินะคะ กำลังดี สุขภาพดีค่ะ
📍อันนี้ขึ้นกับประสบการณ์แล้วก็การให้เกรดสีในใจของหมอแต่ละคนด้วยแล้วก็ต้องดูของคนไข้ที่ปกติ(เทียบกับค่าเลือดที่ไม่มีโลหิตจาง)..ดูซ้ำๆใส่เป็นข้อมูลไว้ในสมองเราค่ะ
2. แหกตาแล้ว>>สีขาวซีดจางหรือชมพูจาง จนถึง จางมากๆ แบบคนเป็นโรคโลหิตจาง
👉สีขาวซีด/สีชมพูจาง จนจางมากต้องเทียบกับสีในคนปกติล่ะค่ะ ว่าจางกว่า จางแค่ไหน(เหมือนข้างบน หมอคนตรวจต้องหัดฝึกฝนแหกตา ตัวเอง แหกตาคนไข้ แล้วเก็บภาพเม็มไว้ในสมองค่ะ)
📍ใครมี “ผลของการแหกตา” เป็นสีขาวซีดสีชมพูจาง ๆ หมอจะสงสัยว่าเป็นโรคโลหิตจาง
ซึ่งต้องไปหาสาเหตุอีกทีว่าเป็นเลือดจางจากขาดธาตุเหล็กหรือเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย(ค่อยเล่าค่ะ)ซึ่งพบได้บ่อยมากในคนไทย โดยเฉพาะคนทางภาคอีสาน
ยิ่งถ้าหน้าตาก็ดูซีดขาว ริมฝีปาก ลิ้น และเนื้อบริเวณใต้เล็บมือก็ดูซีดขาวด้วย ยิ่งใช่แน่เลย
🔥แต่บางครั้งแหกตาแล้วหนังตาด้านในดูซีดขาว บวกหน้าตาที่ดูซีด ริมฝีปากและมือเท้าที่ดูซีดขาว มีครบทุกอย่าง คนไข้ก็อาจจะไม่ได้เกิดจากโรคเลือดจาง แต่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆไม่เพียงพอ เราต้องตรวจอย่างอื่น ๆ และสังเกตุหาไปด้วยพร้อม ๆ กัน
📍ต้องดูบริบทโดยรวม 360 องศาอีกแล้วค่ะ
เช่น ถ้าเราตรวจพบแบบนี้ในคนไข้ที่ห้องฉุกเฉิน มีคนนำมาส่ง👇
❕คนนี้ไม่ใช่ซีดจางจากโลหิตจาง แต่เค้ากำลังช็อคอยู่ค่ะ อาจช็อคจากภาวะเสียเลือด กำลังอันตรายอยู่(เพราะฉะนั้นต้องตรวจเร็วๆ &มีภาพพิมพ์แม่นยำก็ช่วยคนไข้ได้รวดเร็วค่ะ)
❕หรือเป็นคนไข้ที่ตื่นเต้นตกใจมากๆ มีภาวะหน้ามืดเป็นลม ก็เป็นไปได้ค่ะ
ถ้ากรณีเป็นจากช็อคเพราะการเสียเลือดอยู่ในระบบตรงไหนสักแห่ง ต้องรีบให้สารน้ำก่อน แล้วตามด้วยการค้นหาอย่างรวดเร็ว..เป็นต้น
📍ข้อยกเว้น
มีบ้างบางครั้ง ในสว. (คนแก่)
อาจมีไขมันเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณหนังตาด้านใน ทำให้หนังตาด้านในแลดูขาวซีดกว่าปกติ แต่ลิ้นและข้างในปากยังแดงปกติ สว. คนนี้ไม่ได้เป็นโรคเลือดจางนะคะ เป็นไขมันสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อตรงนี้ค่ะ
3. แหกตาแล้ว>>สีแดงก่ำหรือแดงกว่าปกติ
👉คนนี้อาจเป็น โรคเลือดมาก หรือโรคเม็ดเลือดแดงมาก หรือ เลือดข้นเกิ๊น และถ้าดูหน้าตาเห็นผิวหน้าแดงก่ำ ริมฝีปากลิ้นและเนื้อใต้เล็บมือก็ดูแดงก่ำด้วย ยิ่งเข้าได้เลยล่ะค่ะ
❌แต่ถ้าหน้าตา ริมฝีปาก ลิ้น และเนื้อใต้เล็บมือแดงไม่ผิดปกติ มีแต่หนังตาด้านในที่แดงก่ำ ก็อาจเป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ เราก็มองหาต่อว่ามีขี้ตาเป็นหนองหรือไม่
ขอบคุณภาพการตรวจ”แหกตา” หรือ “แฮ้คต้า”จากไทยรัฐ ลิ้งค์อ้างอิง
#สรุป แหกตาหรือแฮ้คต้า
มีการตรวจแบบนี้จริงๆนะคะ
เป็นหลักพื้นฐานเลยด้วย
และแทบจะเป็นสิ่งแรกที่หมอ ๆ เราเค้าตรวจกันเลย(โดยเฉพาะป้า)
เพราะทำได้ง่ายแล้วก็สามารถบอกโรคได้หลายชนิดค่ะ
💡เกี่ยวกับการตรวจหา”วัณโรค”
ได้อย่างไร
👉คือถ้าคนเป็นวัณโรคเมื่อเราทำการตรวจ”แหกตา” เราก็จะเห็นว่ามีภาวะโลหิตจางได้ เพราะคนเป็นวัณโรคจะมีภาวะของโรคเรื้อรัง มักกินอาหารไม่ค่อยได้
นอนหลับไม่ดี สุขภาพไม่แข็งแรง จึงมักมีโลหิตจางร่วมด้วย
เคยมีรายงานคนไข้เด็กเป็นวัณโรคที่เยื่อบุตา เรียกว่า Primary conjunctival tuberculosis ซึ่งเป็นเคสหายากมาก ป้าอ่านคร่าวๆ เคยมีรายงานในวารสารโลก4-5 รายเท่านั้น
คนไข้ส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ทำงานในห้องแลบ
แต่ในภาพประกอบบทความนี้คือเคสเด็กอายุ 12 ปี มาด้วยเยื่อบุตาอักเสบและมีรอยโรคที่เยื่อบุตาล่าง ซึ่งหมอตรวจเจอได้จากการตรวจเยื่อบุตาแบบ “แหกตา หรือ แฮ้คต้า” นี่ล่ะค่ะ
..
Reference: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5854858/#!po=17.5000
🥼🧑‍⚕️🩺👩‍⚕️
ป้าพาฝาก
- เราจะตรวจด้านในของหนังตาที่
หนังตาล่างเป็นส่วนใหญ่
เพราะตรวจได้ง่าย
- ส่วนด้านในของหนังตาบนนั้น ตรวจยากกว่า อาจทำความลำบาก ความระคายเคืองให้กับคนไข้ จะตรวจเมื่อไรบ้าง❔
🥼👩‍⚕️ รอติดตามบทความต่อไปเลยนะคะ
- เม้นถามถ้าสงสัยคร้า
- อย่าลืมกดไลค์และติดตาม
เพื่ออ่านตอนต่อด้วยนะคะ
“เชื่อป้าพาเหอะ ป้าเรียนมา”
References
👩‍⚕️ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
&อ่านบทความ
เพจ”คุยกับป้าพา”
1
ตอนต่อจากบทความนี้
โฆษณา