4 มิ.ย. 2022 เวลา 00:00 • การศึกษา
ห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์
แล้วข้าราชบริพาร ตัดผมให้อย่างไร
สยามประเทศ มีกฎเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์อยู่หลายข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจับต้องพระองค์นั้น คือเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเด็ดขาด แล้วอย่างนี้ การตัดผมสำหรับเจ้าอยู่หัว จะต้องทำอย่างไร โพสนี้จะย่อให้อ่านแบบคร่าว ๆ
อิงจากหนังสือ “สมบัติไทย” โดยมีตอนหนึ่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องตัดผม หรือที่ราชาศัพท์เรียกว่า “ทรงเครื่องใหญ่” พิมพ์โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี เมื่อปี พ.ศ. 2524 กล่าวไว้ว่า
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์นั้น มีอยู่ข้อหนึ่งคือ ห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะ และเส้นผมของพระมหากษัตริย์
ศีรษะของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า “เส้นพระเจ้า” ไม่ใช้ “พระเจ้า” ส่วนเส้นผมของพระมหากษัตริย์เรียกว่า "เส้นพระเกศา"
ในยุคโบราณการจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย สมัยก่อนคนไทยส่วนใหญ่ มักเดินทางโดยทางเรือ และเมื่อพระพระมหากษัตริย์เสด็จทางเรือ ก็จำเป็นต้องหาลูกมะพร้าวห้าวผูกไว้เป็นคู่ ๆ วางไว้ยังที่ต่างๆ ในเรือพระที่นั่ง
หากเกิดเหตุการณ์คับขัน เรือพระที่นั่งล่ม หรือเหตุการณ์อื่นที่ส่งผลให้พระมหากษัตริย์จมน้ำ ลูกมะพร้าวห้าวที่เตรียมไว้ ก็จะถูกโยนไปให้พระองค์ เนื่องจากข้าราชบริพาร ไม่อาจจับต้องพระองค์ได้
1
ครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เรือล่มที่เมืองนนทบุรี ไม่มีใครกล้าช่วย เพราะเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาล สุดท้ายแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ก็เลยเสด็จสวรรคตในแม่น้ำดังกล่าว
1
ส่วนปัญหาว่าด้วยเรื่อง พระมหากษัตริย์ตัดผม หรือ “ทรงเครื่องใหญ่” อย่างไรนั้น จำเป็นต้องมีคนรับใช้คอยปรนนิบัติ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการ ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นเฉพาะด้านในกรมหนึ่ง เรียกว่า “กรมภูษามาลา”
1
คำว่า “ภูษา แปลว่า “ผ้า” ส่วน “มาลา” ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า ดอกไม้ แต่หากแปลว่าเครื่องประดับ ซึ่งเป็นเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่เครื่องสวมศีรษะ ลงมาจนกระทั่งเครื่องสวมอื่นๆ
ผู้ที่จะมาเป็นเจ้าพนักงานภูษามาลา ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็มาจากผู้ที่มีสกุลสูง มีเลือดเนื้อกษัตริย์ หรือไม่ ก็เป็นพราหมณ์ ที่เอามาตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ครั้นเมื่อแต่งตั้งแล้วก็สืบตระกูลกันเรื่อยมา จนอาจจะเรียกได้ว่า จนถึงปัจจุบันนี้
1
เจ้าพนักงานภูษามาลา มีสิทธิจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ได้ และมีหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เจ้าพนักงานกรมภูษามาลาในปัจจุบันนั้น สืบตระกูลมาจาก
ภูษามาลา สมัยอยุธยาอยู่หลายสกุลอ อย่างเช่น สกุลวัชโรทัย สืบสกุลมาจาก พระยาอุทัยธรรม เจ้ากรมภูษามาลาสมัยอยุธยา
ความเชื่อของคนโบราณนั้น เส้นผมของเทพเจ้าเป็นของร้อนอย่างยิ่ง ร้อนเกินกว่า
มนุษย์จะทนทานไหว หากเส้นผมของเทพเจ้าตกลงไปในแผ่นดิน หากแม้แผ่นดินไม่ลุกเป็นไฟ ความแห้งแล้งทั้งหลายก็จะเกิดขึ้นแน่นอน
1
ในการพิธีทรงเครื่องใหญ่ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง สถานที่สำหรับประทับ ทรงเครื่องใหญ่นั้น ต้องเอาใบตองมาปูเสียก่อน แล้วซ้อนด้วยหนังราชสีห์ เหนือหนังราชสีห์ขึ้นมา ก็ปูผ้าขาว แล้วจึงค่อยตั้งพระเก้าอี้ หรือพระแท่นประทับ สำหรับทรงเครื่องใหญ่
1
ลำดับต่อไปก็เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน กรมภูษามาลา ที่จะต้องดำเนินการ หากเป็นพิธีโบราณจริง ๆ แล้ว ต้องมีพราหมณ์ขับบัณเฑาะว์ และอ่านวรรณคดีถวาย เรียกว่า ขับบัณเฑาะว์ เพื่อให้เพลิดเพลินพระราชหฤทัย
ในปัจจุบัน ได้สั่งเลิกการขับบัณเฑาะว์ไปแล้ว แต่อย่างอื่นยังคงต้องรักษาไว้ ตามพระราชประเพณี แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวเอง ก็ไม่สามารถสั่งเลิกพิธีการนี้มี
สำหรับเวลาลงมือเปลื้องเส้นพระเจ้า (ตัดผม) ก่อนที่จะใช้เครื่องมือ เจ้าพนักงานจะต้องกราบถวายบังคม 3 ครั้ง อย่างคนโบราณ และกราบบังคมทูล ให้ทรงทราบก่อนว่า จะใช้เครื่องมืออะไร ในการตัดผม
เป็นต้นว่าใช้กรรไกร ก็ต้องกราบบังคมทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระบรม
ราชานุญาต ใช้พระแสงกระบิด" เวลาเปลื้องเส้นพระเจ้า ต้องเอามือรับ ใส่ผอบ
รวบรวมไว้ แล้วค่อยนำไปลอยในมหาสมุทร ทั้งหมดเป็นขนบธรรมเนียม ในพระราชสํานัก ซึ่งหาดูได้ยาก
2
ติดตามบทความย้อนหลังได้ที่
อ้างอิง
หนังสือ : ร้อยเรื่องดี ๆ ของเมืองไทย ที่คุณไม่เคยรู้
โฆษณา