8 มิ.ย. 2022 เวลา 06:17 • ประวัติศาสตร์
ส่องโลกของ "ป๊อปคอร์น" ข้าวโพดคั่วที่สุดแสนจะธรรมดา แต่อร่อยจนวางไม่ลง 🍿🥤
ป๊อปคอร์น หรือ ข้าวโพดคั่ว เป็นหนึ่งในขนมของกินที่ดูทำง่ายและหาง่ายม๊าก
แต่ว่าเวลาได้ทานทีไร ก็วางลงยากตลอดเลย เผลอแปปเดียว…อ่าว หมดถังซะแล้วเด้ออ 😋😅
ถึงแม้เจ้าขนมกระปุ๊กกระปิ๊กแสนอันนี้จะดูธรรมด๊าธรรมดา..
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ?
เจ้าป๊อปคอร์นเนี่ย มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ยุคสมัยของชาวอินเดียนแดง หรือ อาจจะย้อนกลับไปได้มากถึง 5,000 ปี เลยทีเดียวนะ ! ⌛️⏳
และแม้เราจะบอกว่า ขั้นตอนการทำมันช่างง่ายแสนง่าย ด้วยเมล็ดข้าวโพดแห้ง + เนย นำไปทอดหรืออบในหม้อ
ว่าแต่.. เพื่อน ๆ ยังทราบอีกไหมว่า ?
ไม่ใช่แค่เมล็ดข้าวโพดสายพันธุ์ทั่ว ๆ ไป จะสามารถทำขนมป๊อปคอร์นได้นะ
เพราะหากเราไม่ได้สายพันธุ์ป๊อปคอร์นเนี่ย เจ้าข้าวโพดทั่ว ๆ ไป มันก็จะไม่เด้งแตกออกมาเป็นชิ้นกลมสีขาวอย่างที่เราคุ้นตากันอย่างแน่นอน
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ? 🤓
วันนี้พวกเรา InfoStory จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักเจ้าขนมป๊อปคอร์น ที่สุดจะธรรมดาแต่วางไม่ลง พร้อมตอบคำถามที่น่าสนใจด้านบนกันเลยดีกว่า !
[ ต้นกำเนิด “ป๊อปคอร์น (Popcorn)” ขนมที่ถูกกินมานานถึง 5,600 ปี 🕰 ]
ป๊อปคอร์น หรือ ข้าวโพดคั่ว เป็นขนมที่ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจากชาวอินเดียนแดง เมื่อ 5,600 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งหลักฐานตรงนี้ ก็ถูกค้นพบจากหลายแหล่งเลย
โดยหนึ่งในหลักฐานสำคัญ มาจากนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ที่ค้นพบข้าวโพดคั่วในซากเมืองโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองอินคาในอเมริกาใต้ เมืองมายาในอเมริกากลาง และเมืองอัซเตกในเม็กซิโก ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างเป็นอารยธรรมเก่าแก่ของชนพื้นเมืองเก่าแก่ในทวีปอเมริกา หรือ อินเดียนแดง นั่นเองจ้า 🇲🇽 🇺🇸
คือ เท่าที่เราอ่านมา นักโบราณคดีเค้าไม่ได้ไปเจอเศษข้าวโพดคั่วแบบป๊อปคอร์นขาว ๆ พอง ๆ ในสมัยปัจจุบันแล้วมามโนกันนะ
แต่ว่านักโบราณคดี เขาได้ค้นพบฝักป๊อปคอร์นที่เก่าแก่ที่สุดที่ถ้ำค้างคาว (Bat Cave) ในรัฐนิวเม็กซิโก ประมาณปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเจ้าซากนั้น มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าเหรียญเพนนี ไปจนถึงขนาดสองนิ้ว พอเขาจับมาวิจัยในเรื่องของอายุขัย ก็พบว่าแต่ละฝักมีอายุมากที่สุดมีอายุถึง 4,000 ปี เลยทีเดียว 🌽🇲🇽
นอกเหนือจากการพบซากฝักข้าวโพดแล้ว
นักโบราณคดียังพบเป็นหม้อคั่วข้าวโพดดินเผาในประเทศเปรู ที่สามารถสืบหาอายุย้อนไปถึงอารยธรรมก่อนยุคอินคาในเปรู (ประมาณช่วงปี ค.ศ.300) ที่ใช้ในพิธีฝังศพ 🪦🇵🇪
ว่ากันว่าเมล็ดข้าวโพดในหม้อดินเผานั้น บางเมล็ดยังคงสภาพดีจนสามารถแตกฟูกลายเป็นป๊อปคอร์นได้ด้วย
(แต่ก็ไม่ได้มีนักวิจัยนำไปทำป๊อปคอร์นทานกันนะ… ฮ่า ๆ เขาคงเก็บเข้าพิพิธภัณฑ์กันไปแทน)
ประเทศเปรู
🧐🔎 หาข้อมูลไปได้เรื่อย ๆ ก็พบว่าอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับป๊อปคอร์นในสมัยอารยธรรมของชาวอินเดียนแดงในแถบอเมริกาเหนือ
คือ นอกจากป๊อปคอร์นมันจะเป็นอาหารแล้วเนี่ย ชาวอินเดียนแดงในยุคนั้น ยังนิยมนำมาเป็นเครื่องประดับได้อีกด้วยนะ ยกตัวอย่างเช่น นำมาร้อยสายด้วยหญ้าทำเป็นสายสร้อยคล้องคอ
เจ้าสายคล้องคอนี่ก็ไม่ธรรมดานะ เพราะพวกเขาจะถือว่าเป็นเครื่องประดับที่ใช้แสดงฐานะทางสังคมในชนเผ่า โดยคนที่จะสวมใส่ได้ต้องมีฐานะเป็นหัวหน้าเผ่าหรือนักรบของชนเผ่า 😮😮
(เราเลยจินตนาการไปว่า คล้าย ๆ กับการที่เราสวมใส่ของแบรนด์เนมในปัจจุบันเลยก็เป็นได้)
หรือแม้กระทั่งมีเทศกาลงานเต้นรำป๊อปคอร์นของชาวอินเดียนแดง ในช่วงศตรรษที่ 16 (ก็เริ่มสมัยใหม่แล้วละ)
โดยนักบวชชาวสเปน ที่มีชื่อว่า “Bernardino de Sahagun” ได้บันทึกไว้ ประมาณว่า “หญิงสาวที่มาเข้าร่วมงาน จะได้รับมาลัยข้าวโพดคั่วที่พองโตมีสีขาว ร้อยเป็นมาลัยมงกุฎสวยงาม สวมไว้บนศรีษะ เสมือนเป็นคำมั่นสัญญา…”
(แต่เค้าไม่ได้บอกว่า สัญญาอะไร และสัญญาจากใครนะ… แห่ะ ๆ🤭😅 )
Bernardino de Sahagun
หาภาพที่เป็นป๊อปคอร์นไมได้ จึงขอนำภาพชนเผ่าอินเดียนแดงกับสร้อยสีขาวมาให้จินตการกันต่อ
อ้อ ! เพื่อน ๆ หลายคนก็อาจจเริ่มนึกตามว่า เอ้ะ…แล้วคนสมัยนั้นเค้าทำป๊อปคอร์นกันยังไง ?
คำตอบก็คือ เขาเริ่มจากการฝังหม้อดินเหนียวในทรายที่ร้อนจัด ๆ
จากนั้นค่อยโรยเมล็ดข้าวโพดแห้งลงไป แล้วปิดฝา
โดยความร้อนจากทรายจะทำให้เมล็ดข้าวโพดแตกและบานออกมากลายเป็นป๊อปคอร์น
ดูไปดูมา มันก็ไม่ต่างอะไรกับวิธีการทำป๊อปคอร์นในสมัยปัจจุบัน แค่เปลี่ยนจากหม้อดิน เป็นหม้อสเตนเลสแทน ส่วนทรายก็เปลี่ยนเป็นการใช้น้ำมันหรือเนย ความร้อนก็มาจากไฟในเตาแก๊สซึ่งอาจจะไม่ได้รวดเร็วแบบในปัจจุบัน)
ปล. แต่ในสมัยนั้น ยังไม่มีใครเรียกขนมนี้ว่า ป๊อปคอร์นนะ… ฮ่า ๆในพารากราฟต่อ ๆ ไป เราจะเล่าเรื่องที่มาของชื่อป๊อปคอร์นกันต่อเลย !
[ From Maya Aztec Inca… to Movie & Microwaves🍿🎬🎞 ]
โอเค มาอ่านเรื่องราวของป๊อปคอร์นในยุคสมัยใหม่กันต่อบ้าง
หากเราเป็นชาวมายาในสมัยก่อนนั้น เราก็คงไม่ทันจินตนาการได้ว่า เจ้าขนมข้าวโพดระเบิดในหม้อดิน จะกลายมาเป็นขนมที่ยอดนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเวลาดูหนัง !
🧐 ว่าแต่ เรื่องราวจากข้าวโพดคั่วสมัยโบราณ มันยาวมาจนมาถึงข้าวโพดคั่วในโรงภาพยนตร์ (มาได้ไงนะ ?)
แน่นอนว่า หากป๊อปคอร์น มันไม่ได้ขยับไปไหน หรือไม่ได้ถูกพบเห็นเนี่ย มันก็คงจะจบแค่การเป็นซากอารยธรรมของชาวอินเดียนแดง
และแล้วตัวละครหลัก ผู้ที่เดินเรือข้ามทวีปชาวอิตาลีอย่าง “คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส” ที่บอกว่าเดินทางไปค้นพบยังทวีปอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 15 ได้เขียนบันทึกไว้ว่า ในตอนที่ตนเองเดินทางไปถึง ได้มีชาวอินเดียนแดงนำช่อดอกไม้และมงกุฎที่ทำด้วยข้าวโพดคั่วมาขาย ให้ลูกเรือของตน (ว่ากันว่านี้เป็นการจดบันทึกที่เกี่ยวกับข้าวโพดคั่วครั้งแรกของชาวยุโรป)
➡️ ก่อนที่ต่อมาผู้อพยพชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่ในอเมริกา (หรือปัจจุบันก็คือชาวอเมริกัน)
ได้เข้าบุกรุกดินแดนของชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดง และหยิบวัฒนธรรมการกินมาปรับใช้ตามความชอบของตัวเอง หนึ่งในนั้นก็คือ “ข้าวโพดคั่ว” นั่นเองจ้า
(เรื่องราวช่างง่ายดาย อย่างที่เพื่อน ๆ น่าจะคาดเดากันไว้)
ด้วยจุดเด่นของพืชผลอย่างข้าวโพด ที่เติบโตได้ดีในอเมริกา จึงทำให้ชาวอเมริกันสามารถหาบริโภคได้ง่ายมาก
ข้าวโพดสายพันธุ์ข้าวโพดคั่ว ก็เป็นหนึ่งในผลผลิตยอดนิยมเช่นกัน
💡 เมื่อ 2 ปัจจัยง่าย ๆ อย่าง ผลผลิตที่หาง่ายและวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก
จึงทำให้เมนูขนมทานเล่นอย่าง “ป๊อปคอร์น” ค่อย ๆ นิยมมากขึ้นในอเมริกา จนเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในช่องทางการทำธุรกิจเลยละ
กระทั่งในปี ค.ศ. 1885 นายชาลส์ เครเตอร์ ชาวเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ได้เริ่มพัฒนาต่อไปเป็นเครื่องคั่วข้าวโพดแบบไฟฟ้าขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่ ทำให้ธุรกิจข้าวโพดคั่วเติบโตอย่างก้าวกระโดดเลย เพราะเจ้าเครื่องนี้สามารถช่วยให้ผลิตป๊อปคอร์นได้รวดเร็วและผลิตได้ปริมาณที่เยอะ
เครื่องคั่วข้าวโพดขึ้น ในปี 1885 โดยและจนมีคนนำเครื่องนี้ไปทำข้าวโพดคั่วขายในโรงภาพยนตร์ จนเป็นที่ถูกอกถูกใจ กลายเป็นของขบเคี้ยวที่ยิ่งกินยิ่งมันอยู่คู่โรงหนังจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งในช่วงต้นศตรวรรษที่ 20 ชาวอเมริกันก็เริ่มนิยมมารับชมภาพยนตร์ในโรงหนังกันในวันหยุด
แน่นอนว่า เหล่านักธุรกิจป๊อปคอร์นหัวใส ก็ได้ใช้โอกาสนี้ นำเครื่องทำป๊อปคอร์นมาตั้งขายข้าง ๆ โรงภาพยนตร์
แน่นอนว่า ป๊อปคอร์นก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
พอผู้ประกอบการคนอื่น ๆ เห็นเนี่ย เขาก็เลยแห่กันไปทำตามบ้าง
ซื้อเครื่องผลิตป๊อปคอร์นไฟฟ้า >> หาพื้นที่ตั้งขายแหล่ม ๆ หน้าโรงภาพยนตร์ >> ตั้งวางขายทุกวันหยุดสุดสัปดาห์
จนกระทั่ง เจ้าของธุรกิจโรงหนังเอง ก็ยังเห็นโอกาสการทำกำไรจากผู้ผลิตป๊อปคอร์น
จึงเริ่มมีการให้คนขายป๊อปคอร์น ต้องเข้ามาเช่าสถานที่จากเจ้าของโรงภาพยนตร์ (และสามารถขายในโรงภาพยนตร์ได้)
🤝 แน่นอนว่า แบบนี้มันก็ Win-Win กันทั้ง 2 ฝ่าย เจ้าของโรงหนังและคนขายป๊อปคอร์น
รวมถึง ลูกค้าที่มาชมภาพยนตร์ก็ยังได้เคี้ยวขนมข้าวโพดคั่วกรุบกรอบกันไปด้วย
แต่แล้ว … ในภายหลังเนี่ย สถานการณ์ก็จะกลับกันสักหน่อยละ
อย่างว่า มันคือธุรกิจ กำไร และเม็ดเงิน 💸💵💲
เพราะเมื่อเจ้าของโรงหนังเริ่มเห็นว่าป๊อปคอร์นมันขายดีมาก ผู้ประกอบการโรงหนังส่วนใหญ่ จึงค่อย ๆ เริ่มผูกขาดการขายป๊อบคอร์น และไม่อนุญาตให้นำอาหารจากข้างนอกเข้ามาเหมือนสมัยก่อน (เข้าใจว่า เราอาจจะเห็นบางที่เนอะ ที่เค้ามีป๊อปคอร์นแบรนด์อื่นมาขาย แต่ถ้าดูแบรนด์โรงหนังใหญ่ ๆ แล้ว ส่วนใหญ่ก็ของตัวเองทั้งนั้นละเนอะ)
จนกระทั่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1950 ก็ได้มีผู้ริเริ่มผลิตป๊อปคอร์นแบบอุ่นไมโครเวฟ เพื่อขายตามบ้านเรือน ที่มีประชาชนชอบดูละครหลังข่าว ได้ทานกันได้สะดวกมากขึ้น (และผู้ขายป๊อปคอร์นเจ้าเล็ก ๆ ก็ต้องขยายข่องทางการขาย เพราะโรงหนังไม่ให้ขายแล้วเด้อ)
เอาเป็นว่า จากเรื่องตรงนี้เองจึงทำให้ผู้คนติดภาพจำกันไปว่า จะกินป๊อปคอร์นให้อร่อย ต้องกินระหว่างดูหนังในโรงไปด้วย !
"ผลิตง่าย + กลิ่นหอม + ทานเพลิน + ราคาถูก" สูตรสำเร็จแห่งความสุขความบันเทิงแบบง่าย ๆ ของวัยรุ่นอเมริกันในศตวรรษที่ 20 :):)
ป๊อปคอร์นกล่องละ 25Cent หรือประมาณ 8 บาทจ้าา
[ สั้น ๆ กันสักนิด ]
ทำไมต้องเมล็ดสายพันธุ์ข้าวโพดคั่ว (Popcorn) ถึงจะสามารถทำป๊อปคอร์นได้
แต่เมล็ดข้าวโพดทั่วไป ถึงทำไม่ได้ละ ?
คือ เมล็ดสายพันธุ์ข้าวโพดคั่ว (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays everta) มันจะมีลักษณะที่ต่างไปจากข้าวโพดทั่ว ๆ ไป
กล่าวคือ ตัวเมล็ดจะมีความแข็งและเหนียวมากกว่า (รวมถึงมีขนาดที่กลมใหญ่กว่า) สายพันธุ์อื่น ๆ
เมื่อนำเมล็ดข้าวโพดคั่วแห้ง ไปให้ความร้อนโดยการทอดหรืออบพร้อมน้ำมันหรือเนย เนี่ย
ความชื้นในเมล็ดข้าวโพดจะร้อนขึ้นและเริ่มเดือด แป้งคาร์โบไฮเดรตที่แข็งก็จะเริ่มนิ่มลง
และด้วยความที่เปลือกนอกของเมล็ดข้าวโพดพันธุ์นี้เหนียวมาก มันจึงสามารถกักเก็บแรงดันอันเกิดจากการเดือดของน้ำในเมล็ดข้าวโพดไว้จนความดันสูง
ความดันสูงที่ว่านี้ คือ สูงมากจน เปลือกที่เหนียวมากของเมล็ดข้าวโพดเกิดรูรั่วและแตกออกดัง “ป๊อป !!” (“POP !” ในภาษาอังกฤษอาจดูคุ้นตากว่า) 🚨💡
เรื่องราวตรงนี้จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อว่า “Popcorn” หรือ ป๊อปคอร์น นั่นเอง 🍿🎊
หลังจากที่ข้าวโพดคั่วระเบิดออกมาแล้ว ก็จะค่อย ๆ ขยายตัวตามแรงดัน ทำให้แป้งและโปรตีนพุ่งออกมาอย่างรวดเร็ว
จากเมล็ดข้าวโพดเล็กๆ มันจึงขยายตัวพองออกมาเป็นสีขาว ตามทรงของเมล็ดสายพันธุ์ข้าวโพดคั่ว เช่น ทรงเห็ด (Mushroom) หรือ ทรงผีเสื้อ (Butterfly) แบบที่เราเห็นกันในภาพอินโฟกราฟิกนั่นเองจ้า
เราเข้าใจว่า หากเรานำเมล็ดข้าวโพดสายพันธุ์อื่น ๆ มา ทำป๊อปคอร์นเนี่ย
มันจะได้ไม่ได้ระเบิดแล้วตัวแป้งหรือโปรตีนจะ POP ออกมาเป็นเนื้อสีขาว… แต่มันอาจจะฟีบไปแทน (แต่เรายังไม่เคยลองทำนะจ้า แห่ะ ๆ)
[ 📝 🇹🇭 เกร็ดความรู้เล็กน้อย ]
ป๊อปคอร์น อันที่จริงแล้ว หากจะเขียนให้ถูกหลักของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
จะไม่ได้สะกดโดยใช้ “ป” แต่จะเป็น “พ”
(เพราะตัว “P” เป็นพยัญชนะต้น จะใช้เขียนทับศัพท์ด้วยตัว “พ พาน”)
✅ ถ้าให้ถูกต้อง จึงจะต้องเขียนว่า “พอปคอร์น”
แต่ทีนี้เราว่าเพื่อน ๆ น่าจะหงุดหงิดกันแน่นอน เลยขอเขียนว่า “ป๊อปคอร์น” แทนคร้าบบ
“ยาวม๊ากกกกก !” นี้คงเป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ ที่อ่านถึงตรงนี้ กำลังนึกในใจกันอยู่แน่เลย 555
(ขอบพระคุณที่อ่านยาวกันมาถึงตรงนี้นะคร้าบ 🙏🙌)
แอดมินเขียนก็เขียนจบไม่จบสักที ฮ่า ๆ เดี๋ยวมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แทรกไปมา (จริง ๆ เพราะเราเองก็เพิ่งรู้เหมือนกันคร้าบ เลยอยากนำมาถ่ายทอด )
ก็พอหอมปากหอมคอกันกับเรื่องราวสาระสบายสมอง งั้นพวกเราขออนุญาตไปอุ่นป๊อปซีเครททานก่อนดีกว่า (อ้าว.. แอดบิ้วมาตั้งนาน สุดท้ายไปอุ่นป๊อปคอร์นไมโครเวฟเฉย 😂😋🥰)
โฆษณา