19 มิ.ย. 2022 เวลา 11:53 • ประวัติศาสตร์
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 12
“กัญชา” “ใบกระท่อม” หนึ่งในเสบียงหลัก เวลาเดินทัพสมัยอยุธยา
1
เครดิตภาพปก: สมุดภาพกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุดข่อยโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร - https://ebook.nlt.go.th/Exhibition/exhtml/walk.html
สมัยในยุคกรุงศรีอยุธยาการเดินทัพครั้งหนึ่งใช้เวลานานเป็นสัปดาห์หรือเดือนๆ และประกอบด้วยคนไม่ใช่น้อยๆ จึงไม่อาจขนเสบียงอาหารได้มากเพียงพอกับจำนวนพลทั้งหมด จึงจำเป็นต้องเตรียมเสบียงซึ่งจำเป็นจริงๆที่ใช้สำหรับการเดินทัพเท่านั้น และที่สำคัญต้องเก็บได้นานๆไม่บูดเน่าเสียก่อน
1
อาหารการกินจึงเป็นการหวังพึ่งหาเอาระหว่างทางเสียมากกว่า อาหารประเภทสัตว์เลื้อยคลาน เช่น แย้ งู ฯลฯ รวมถึงพืชทุกชนิดที่กินได้ จึงเป็นอาหารในยามขัดสนมากกว่าจะกินในยามปกติ ยามขัดสนที่นี้ไม่ใช่ยากจน แต่ด้วยความจำเป็นอย่างการเดินทัพไกลๆ
1
...
เรามาดูกันว่าอะไรเป็นเสบียงหลักที่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาตระเตรียมไปในการเดินทัพบ้าง นั่นคือ
  • ข้าวตาก
1
สมัยก่อนอยุธยาเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  • นาหลวง คือ ตามชื่อที่นาของหลวง ทางการจะเรียกไพร่หลวงไปทำในที่นาตรงนี้ แล้วเก็บเข้าคลังโดยตรง
  • นาราษฎร์ คือ นาของราษฎร ปลูกข้าวเสร็จก็ส่ง “ส่วย” เข้าคลังหลวง ในรูปแบบของข้าว โดยแต่ละรัชกาลจะมีการกำหนดสัดส่วนปริมาณข้าวที่ต้องส่งเข้าหลวง
1
...
สมัยอยุธยาไม่มีโรงสีข้าว หลังจากได้ข้าวเปลือกมาแล้ว จะใช้ “การซ้อมมือ” เพื่อกะเทาะเปลือกข้าวออก ใช้การตำ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นคนตำ แล้วเอาข้าวมาฝัดให้เปลือกหลุดออก ดังนั้นข้าวสมัยนั้นจะไม่ใช่ข้าวขาวขัดสี เป็นข้าวที่เรียกว่า “ข้าวซ้อมมือ”
3
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
คนในสมัยอยุธยาให้ความสำคัญกับข้าวมาก ถือว่ามีบุญคุณมากต่อคนในสมัยนั้นในการให้กำลังวังชาในฐานะอาหารหลัก และมีการนับถือพระแม่โพสพซึ่งเป็นเทวดาคอยดูแลรักษาข้าว มีพิธีต่างๆในการบูชาพระแม่โพสพ
...
  • ดังนั้นคนสมัยอยุธยาไม่มีการเหยียบข้าวเป็นอันขาด และข้าวที่เหลือจากการกินทั้งหมดจะไม่เททิ้ง แต่จะเก็บถนอมรักษาไว้ทุกเม็ดทุกหน่วย โดยการนำข้าวสุกที่เหลือนี้นำมาซาวน้ำให้เมือกข้าวออก แตกตัวเป็นเม็ด แล้วนำไปผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จึงนำไปใส่กระด้งตากแดดให้แห้ง เรียกว่า “ข้าวตาก”
2
...
การทำข้าวตากนำไปเก็บไว้ในคลัง เพื่อใช้ในยามศึกสงคราม โดยเป็นหนึ่งในเสบียงหลักนอกจากข้าวเปลือก ถึงเวลาก็แจกจ่ายให้กับกองทหารตามอัตรา
1
  • เหตุผลว่าทำไมจึงแจกจ่ายเป็นข้าวตากแทนข้าวเปลือก เพราะบางครั้งบางหน้าที่ไม่สะดวกที่จะกินข้าวที่ทำจากข้าวเปลือก โดยเฉพาะหน่วยเสือหมอบแมวเซา ที่ทำหน้าที่สอดแนมในแถวหน้า การนำข้าวเปลือกมากะเทาะและหุงข้าวให้สุก ใช้เวลานานและอาจเหลือร่องรอยทิ้งไว้ได้
2
  • เมื่อมีข้าวตากแล้ววิธีการกินก็คือ ตัดกระบอกไม้ไผ่ กรอกข้าวตากลงไป เติมน้ำ เอาไปเผาเหมือนทำข้าวหลาม ก็จะได้ข้าวสุกร้อนๆพร้อมกินได้
1
...
ดังนั้นข้าวตากจึงเป็นหนึ่งในเสบียงหลักของกองทัพอยุธยาและอาณาจักรอื่นๆในอุษาคเนย์ในยุคนั้น
  • ปลาแห้ง
1
อาหารหลักของคนในสมัยอยุธยานอกจากข้าวก็คือปลาครับ ซึ่งสามารถจับได้ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป จึงมีวิถีชีวิตแบบริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกบ้านเรือนยกพื้นสูงเหนือพื้นดินและมีเรือติดไว้ใต้ถุนหรือก็ผูกไว้กับเสาเรือน ลักษณะบ้านแบบนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้ชีวิตในฤดูน้ำหลาก
การถนอมปลาให้เก็บรักษาได้นานๆก็คือการเอาไปหมักและตากแดด ทำเป็นปลาเค็มแห้งนั่นเอง ซึ่งเป็นเสบียงหลักอีกตัวเวลาเดินทัพ
  • กัญชาและใบกระท่อม
3
ผู้ชายประคองหม้อตุ้งก่าอุปกรณ์ในการเสพกัญชา จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ที่มาภาพ: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/850188
...
  • กัญชาสมัยนั้นนับเป็นพืชสมุนไพร ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด และถือว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนโบราณที่ใช้กัญชาเป็นส่วนประกอบในยาต่างๆ และใช้ลดความความเครียด ทำให้ผ่อนคลายจากความเมื่อยล้าให้กับทหารที่เดินทัพมานานๆ
3
  • เกร็ดความรู้: เมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลสยามได้มีประกาศให้พืชกัญชาเป็นสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย ตามแบบอย่างของชาติตะวันตก และเพิ่งมีการปลดล็อคไปเมื่อไม่นานนี้เองในปี พ.ศ. 2565 (กินเวลาเกือบ 90 ปี ที่กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในไทย)
3
  • กัญชา ที่มีกล่าวถึงในงานวรรณกรรมไทย
ในงานวรรณกรรมไทย กัญชามีปรากฏในงานให้เห็นเช่น เรื่องระเด่นรันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) ที่แต่งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ตัวเอกฝ่ายชายทั้งวณิพกกระเด่นลันไดกับท้าวประดู่คนเลี้ยงวัวต่างเมากัญชาเป็นกิจวัตร ในเรื่องยังเล่าว่า เมื่อท้าวประดู่ภูธร “เสด็จจรจากเวียงไปเลี้ยงวัว” นางประแดะก็ “บรรจงหั่นกัญชาไว้ท่าผัว”
2
ภาพขุนแผนฆ่านางบัวคลี่ จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน (มีบ้องกัญชากับเขียง) ที่ระเบียงคดรอบวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี เขียนโดย เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย เมื่อ พ.ศ.2548 ที่มาภาพ: Facebook วัตถุมงคลวัดป่าเลไลยก์
...
ในเรื่องขุนช้างขุนแผน กัญชากับกระท่อมก็มีปรากฏให้เห็น กล่าวถึงการสูบกัญชาหลายจุด ตัวอย่างตอนหนึ่งคือเมื่อขุนแผนอาสายกทัพไปรบเชียงใหม่
...
“…โห่ร้องฆ้องลั่นมาหึ่งหึ่ง นายจันสามพันตำลึงเป็นกองหน้า กองหลังสีอาดราชาอาญา พวกทหารสามสิบห้าต่างคลาไคล บ้างคอนกระสอบหอบกัญชา ตุ้งก่าใส่ย่ามตามเหงื่อไหล บ้างเหล้าใส่กระบอกหอกคอนไป ล้าเมื่อไรใส่อึกไม่อื้ออึง บ้างห่อใบกระท่อมตะพายแล่ง เงี่ยนยาหน้าแห้งตะแคงขึง ถุนกระท่อมในห่อพอตึงตึง ค่อยมีแรงเดินดึ่งถึงเพื่อนกันฯ”
...
นอกจากกองทัพที่จะเดินด้วยท้องจากเสบียงอาหารหลักแล้ว จากในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ยังทำให้เราเห็นว่า กัญชา-กระท่อม ก็เป็นอีกเสบียงจำเป็นในการเดินทัพอีกด้วย โดยจุดประสงค์ในการใช้ต่างกันคือ
  • กระท่อม ใช้ตอนเดินทัพ ช่วยให้พลทหารมีเรี่ยวแรงเดินกลางแดดร้อนๆ เป็นกระบวนทัพไม่แตกแถวหรือทิ้งช่วงกัน
4
  • กัญชา ใช้ตอนหยุดพักพล เสพคลายเครียดที่เหนื่อยล้าเดินทัพมาทั้งวัน
3
พืชสมุนไพรทั้งคู่ถูกใช้เพียง “เสพพอแก้ขัด” เท่านั้น ไม่ใช่เสพแบบจริงจังนะครับ
  • พุทรากวน
1
มีอีกตอนในเสภาขุนช้างขุนแผนกล่าวว่า
1
...
“ขุนแผนก็สั่งให้หยุดพัก ที่ล้าเลื่อยเมื่อยหนักก็นอนสลบ บรรดาพวกพหลพลรบ จุดคบกองไฟไว้เป็นวง ลางคนหาเขียงหั่นกัญชา นั่งชักตุ้งก่าจนคอก่ง บ้างมีแต่กัญชามานั่งลง ผลัดกันหั่นส่งใส่ไฟโพลง ที่ไม่มีขอซื้อสามมื้อสลึง พอส่งถึงรับหั่นควันโขมง อยากหวานเมางวงล้วงกระโปร่ง บ้างโก้งโค้งค้นหาพุทรากวน”
1
...
จากด้านบนจะเห็นว่ามีของหวานอย่างหนึ่งคือ “พุทรากวน” ซึ่งใช้กินคู่กับการดูดกัญชาเพื่อให้หายคลายเครียดในช่วงหยุดพักพล
3
เหตุผลอย่างหนึ่งว่าทำไมเป็นพุทรากวน ก็เพราะเก็บรักษาได้นานๆ ไม่เหมือนพวกขนมหวานที่มีไข่เป็นส่วนประกอบอย่างทองหยิบทองหยอด บูดเสียง่าย
จบแล้ว ตอนที่ 12
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
...
ติดตามตอนที่ 11 จากด้านล่างนี้
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
1
ประวัติศาสตร์เล่าสนุก กับ อ.ตุ๊กบางปะอิน Youtube Channel: กองเสบียง....ตาหวาน...ยามศึก...EP:79 - https://www.youtube.com/watch?v=HjcxuDqunxs
ศิลปวัฒนธรรม ออนไลน์ - https://www.silpa-mag.com/culture/article_26155
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 – 27 ธันวาคม 2561 - https://www.matichonweekly.com/column/article_157034
โฆษณา