25 ก.ค. 2022 เวลา 14:10 • ครอบครัว & เด็ก
การเคลื่อนย้ายคุณแม่มาห้องพักฟื้น แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน5นาที แต่ก็มีความสำคัญ เพราะอาจเกิด ภาวะเเทรกซ้อนระหว่างเดินทางได้ ในกรณีคุณแม่ที่ได้รับการBlock หลังมักไม่มีปัญหาอะไรเนื่องจากคุณแม่แค่หลับอาจจะยังไม่ตื่นหรือตื่นงัวเงียอยู่ แค่เคลื่อนไหวท่อนล่างตำ่กว่าสะดือของร่างกายยังไม่ได้แค่นั้น อย่างไรก็ตาม
ระหว่างเคลื่อนย้ายมายังห้องพักฟื้นก็จะได้ออกซิเจนมาตลอดทาง เมื่อมาถึงก็ได้รับออกซิเจนต่อเนื่องไปสักพัก ปัญหาที่อาจจะเกิดในระหว่างช่วงย้ายน่าจะมีโอกาสเกิดในกลุ่มของคุณแม่ที่ได้รับการดมยาสลบมากกว่า เพราะผ่านการดมยาสลบ คือหลับลึกมาก ใ
นกรณี ที่ยังฟื้นจากยาสลบไม่ดีพอก่อนเคลื่อนย้ายมาก็อาจเกิดภาวะหยุดหายใจระหว่งเดินทางมาก็ได้ และในภาวะที่ยังฟื้นจากยาสลบไม่ดี ก็ยังอยู่ในภาวะไม่สามารถไอขับนำ้ลายหรือเสมหะเองได้เต็มที่อาจเกิดภาวะนำ้ลายหรือเสมหะไปอุดตันทางเดินหายใจได้ดังนั้น จึงต้องมีการประเมิน คอยปลุกกระตุ้นให้ฟื้นและเฝ้่าระวังตลอดการเดินทางไปห้องพักฟื้น
คุณแม่ในกลุ่มนี้ก็จะได้รับออกซิเจน ครอบจมูกและปากไว้ตลอดการเดินทางเช่นเดียวกับคุณแม่กลุ่มblockหลัง แต่การรู้ตัวนั้น99%มักจะยังไม่รู้ตัว จะไปรู้สึกตัวเมื่ออยู่ในห้องพักฟื้นแล้ว และจำเหตุการณ์ช่วงระหว่างเดินทางมาฟักฟื้นไม่ได้เลย
เมื่อคุณแม่ทั้ง2 กลุ่มมาถึงห้องพักฟื้น ก็จะมีทีมงานห้องพักฟื้นคอยรับช่วงดูแลผู้ป่วยต่อจนปลอดภัยเต็มที่จากยาสลบ จึงจะส่งกลับหอผู้ป่วยปกติได้
เมื่อมาถึงทุกรายก็จะยังได้ออกซิเจนต่อเนื่องต่อไป ในห้องพักฟื้นนี้สิ่งที่สำคัญอันดับหนึ่งคือระบบการหายใจต้องดีเต็มศักยภาพของผู้ป่วยก่อนค่ะ มีการเฝ้าระวังสัญญาณชีพ ต่อเนื่องจากห้องผ่าตัดต่อ มีความดันโลหิต คลื่นหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และ ประเมินความรูสึกตัวของผู้ป่วย ระดับปวดแผลของคนไข้ ปริมาณเลือดที่อาจมีการเสียเลือดเพิ่มขึ้นหบังผ่าตัดว่าปกติหรือมากจนเกิดอันตราย ต้องรีบแก้ไขหนือไม่ โดยมีหลักเกณฑ์ในการประเมินค่ะ โดยทั่วไป คนไข้จะอยู่ในห้องพักฟื้นประมาณ1ชม แล้วแต่เกณฑ์ของแต่ละโรงพยาบาลค่ะ
โฆษณา