3 ส.ค. 2022 เวลา 00:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#กรดไหลย้อนเรื่องเล็กๆที่อาจเป็นเรื่องใหญ่ ตอนที่ 3
สวัสดีครับ หลังจากที่เราได้คุยกันเรื่องของ
การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนกันไปแล้ว
วันนี้เรามาคุยกันดีกว่าว่า “โรคกรดไหลย้อน”
นี้รักษาอย่างไรได้บ้าง?
หลังจากที่เราสามารถวินิจฉัยได้แล้วว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน “จริง”
เป้าหมายของการรักษาโรคกรดไหลย้อนนี้ประกอบด้วย
3 เป้าหมายด้วยกัน คือ
1.ควบคุมอาการ
2.ลดการอักเสบของหลอดอาหาร
3.ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน
การรักษาเริ่มแรกของโรคกรดไหลย้อนคือ
การปรับเปลี่ยน “พฤติกรรม”
โดยเริ่มจากการ กินอาหารรสจัดลดลง
หลังจากกินอาหารแล้วไม่ควรนอนราบเลย
ควรนั่งหรือยืนทำกิจกรรมอื่นๆต่อสัก 1-2 ชั่วโมง
และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
หมอก็จะให้คนไข้กินยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
PPI (PROTON PUMP INHIBITOR)
เพื่อลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารลง
แต่ถ้ากินยาแล้วยังไม่ดีขึ้นล่ะ?
ถ้ารับประทานยาแล้วยังไม่ดีขึ้น คนไข้ก็อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดที่เรียกว่า
ANTI-REFLUX SURGERY (ARS)
ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES)
โดยข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ARS มีดังนี้
1.ไม่สามารถรักษาหายได้ด้วยการกินยา
2.เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อนแล้ว เช่น หลอดอาหารตีบตัน
3.ผู้ป่วยไม่สามารถกินยาลดกรด PPI เป็นเวลานานได้
4.คนไข้ต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะปอด
แม้การผ่าตัด ARS จะช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อนได้
แต่ว่าก็มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่
1.ผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนขั้นรุนแรง BMI >35
2.ผู้ป่วยที่เกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหารแล้ว
3.ผู้ป่วยบางกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด
ดังนั้นถ้าคุณมีอาการปวดจุดแน่นท้อง
แสบร้อนในอกอย่ารอให้เป็นหนัก
รีบมาพบแพทย์โดยไวนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
โฆษณา