7 ส.ค. 2022 เวลา 00:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#รู้หรือไม่เป็นกรดไหลย้อนนานๆอาจเป็นมะเร็งได้
ตอนที่ 1
สวัสดีครับ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์วันนี้
หมอมีเรื่องจะมาเล่าให้ฟังว่า
ถ้าเราเป็นโรคกรดไหลย้อนนานๆ
อาจจะกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้นะครับ
เรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาฟังกันครับ
โรคกรดไหลย้อน คือการที่กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหาร
ไหลย้อนกลับเข้ามาสู่หลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบ
ถ้าคุณอยากรู้รายละเอียดอ่านต่อได้ที่บทความนี้นะครับ
สำหรับวันนี้ หมอจะเล่าให้ฟังว่า
การเป็นโรคกรดไหลย้อนนานๆ
จะทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อย่างไร
เมื่อเกิดกรดไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารนานๆ
จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
และเมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหาร
ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อหลอดอาหารที่เรียกว่า
“BARRET’S ESOPHAGUS”
ซึ่งการเกิดภาวะ BARRET’S ESOPHAGUSนี้
เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งถึง125เท่า
โดยข้อมูลจากงานวิจัยบ่งชี้ว่า
ระยะเวลาที่เริ่มเกิดความผิดปกตินี้
มักเกิดในช่วงอายุ 40 ปี
และจะส่งผลให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารที่อายุ 63 ปี
สำหรับความเสี่ยงของการเกิดภาวะ
BARRET’S ESOPHAGUS มีดังนี้
1.เป็นโรคกรดไหลย้อนมาเป็นเวลานาน
2.มีโรคกระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกระบังลม
3.เป็นชาวตะวันตกผิวขาว
4.เพศชาย
5.สูบบุหรี่
6.มีประวัติครอบครัว
7.อายุมากกว่า 50 ปี
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะนี้หรือเปล่า?
การวินิจฉัยภาวะBARRET’S ESOPHAGUSนั้น
ทำได้โดยการส่องกล้องทางเดินอาหาร
โดยสมาคมโรคทางเดินอาหารแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า
ผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนมากว่า5ปีขึ้นไปและ
มีความเสี่ยงอื่นๆที่ได้กล่าวมา
ควรได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหาร
เพื่อตรวจหาภาวะ BARRET’S ESOPHAGUS
ก่อนที่จะเกิดมะเร็งหลอดอาหาร
ถ้าคุณมีอาการแสบร้อนในอก
อย่าลืมรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานะครับ
ด้วยรักและห่วงใย
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
reference
1. El-Serag HB, Sweet S, Winchester CC, Dent J. Update on the epidemiology of gastro-oesophageal reflux disease: a systematic review. Gut 2014;63:871-880.
2. Locke GR, 3rd, Talley NJ, Fett SL, Zinsmeister AR, Melton LJ, 3rd. Prevalence and clinical spectrum of gastroesophageal reflux: a population-based study in Olmsted County, Minnesota. Gastroenterology 1997;112:1448-1456.
3. Vakil N, van Zanten S V, Kahrilas P, Dent J, Jones R, Global Consensus Group. The Montreal definition and classification of gastroesophageal reflux disease: a global evidence-based consensus. Am J Gastroenterol 2006;101:1900-1920.
4. Revicki DA, Wood M, Maton PN, Sorensen S. The impact of gastroesophageal reflux disease on health-related quality of life. Am J Med 1998;104:252-258.
5. Bloom BS, Jayadevappa R, Wahl P, Cacciamanni J. Time trends in cost of caring for people with gastroesophageal reflux disease. Am J Gastroenterol 2001;96:S64-69. 6. Zheng Z, Norden
โฆษณา