29 ส.ค. 2022 เวลา 23:00 • การตลาด
การเปลี่ยนแปลงของตลาดอาหารเกาหลี
ภายใต้สถานการณ์โควิด และแนวโน้มปี 2565
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการกินของผู้คนที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ สำหรับประเทศเกาหลีใต้นั้นก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน
โดยเฉพาะรูปแบบและเทรนด์อาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขอนามัย ความสะดวกสบาย และรสชาติมากขึ้น อีกทั้งการอยู่อาศัยแบบคนเดียว และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ยิ่งทำให้สินค้าอาหารพร้อมรับประทาน และชุดทำอาหารสำเร็จรูปได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงการขนส่งที่มีความทันสมัยขึ้น ยิ่งทำให้ตลาดอาหารของเกาหลีใต้เติบโตแม้จะอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19
สินค้าอาหารที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19
ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน หรือ Home Meal Replacement (HMR)
ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน (HMR) เป็น 1 ในสินค้าอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากผู้บริโภคในช่วงการแพร่กระจายของโควิด-19 เนื่องจากความสะดวกสบายของการปรุงที่พร้อมอุ่นหรือพร้อม ทานทันที
ทำให้เกิดการเติบโตของตลาดสินค้า HMR และส่งผลให้ยอดขายสินค้า HMR หลายรายการนั้นได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยประเภทสินค้า HMR ที่มีการบริโภคเป็นอย่างมาก ได้แก่ ข้าวสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง และอาหารทะเล เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานประเภทเนื้อและอาหารทะเล
จากปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์แปรรูปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการ บริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปเพิ่มขึ้นประมาณ 18% ในปี 2563 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แม้ว่าตลาดอาหารทะเล HMR จะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากตลาดอาหารทะเล HMR มีอัตราการเติบโต 30% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปี 2563 มีขนาดตลาดประมาณ 4.5 หมื่นล้านวอนหรือคิดเป็น 34 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ สถาบันการเดินเรือเกาหลี (Korea Maritime Institute) ได้กล่าวไว้ว่า ยอดขายอาหาร ทะเลสดรายสัปดาห์ในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ลดลง 5% ทันทีหลังจากการระบาดของโควิด-19 ในขณะที่ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 30% ซึ่งเป็นข้อมูลอ้างอิงจากอุตสาหกรรมอาหาร และคาดว่าตลาดแปรรูปอาหารทะเลในประเทศ รวมถึงประเภทอาหารทะเลดิบ อาหารทะเลกระป๋อง สาหร่าย และลูกชิ้นปลาจะมีมูลค่าประมาณ 1.9 ล้านล้านวอน หรือ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 25654
โดยเนื้อสัตว์หมวดอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมสำหรับชุดอาหาร HMR ในเกาหลี ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาคอด กุ้ง เปลือกหอย แม็คเคอเรล ปลาพอลลอค ปลาหมึก ปลาหมึกยักษ์ (Webfoot octopus) ปลาทูน่า และปูนึ่ง อันดับยอดขายสินค้าอาหารทะเล ในปี 25635 ได้แก่
- ซุปสาหร่ายเนื้อวัว (CJ beef seaweed soup)
- ข้าวผัดกุ้ง (Fried rice with shrimp)
- ข้าวต้มสาหร่าย (Cup rice with seaweed soup)
- ข้าวต้มกิมจิและไข่ปลา (Cup rice with Kimchi and fish roe)
- ข้าวผัดกุ้งและผักต่างๆ (Fried rice with shrimp and vegetables)
- ซุปไข่ปลา (CJ roe soup)
- ข้าวผัดปลาหมึก (Fried rice with poulp squid)
- ข้าวต้มปลาแห้ง (Cup rice with dried Pollack soup)
ชุดทำอาหารสำเร็จรูป (Meal kit)
ตลาดชุดอาหารกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมกับความต้องการอาหารที่ทำเองที่บ้านที่เพิ่มขึ้น ชุดอาหารสำเร็จรูปสามารถลดเวลาในการทำความสะอาดส่วนผสม ลดเศษขยะจากอาหาร และขจัดปัญหาในการหาสูตรอาหารหรือซื้อส่วนผสมเพิ่มเติม อีกทั้ง ลักษณะของชุดทำอาหาร ได้มีการปรับปรุงเพื่อให้มีความสะดวกต่อการรับประทานมากขึ้น เช่น
- ชุดอาหารแช่แข็ง ที่เก็บได้นานขึ้นโดยเก็บได้นานสูงสุด 1 ปี
- ความหลากหลายของราคาและเมนูสำหรับผู้บริโภค เริ่มตั้งแต่ 3,000 วอน สำหรับอาหารที่รวดเร็ว และสะดวกสบาย จนไปถึง 75,000 วอน สำหรับชุดอาหารที่มีความพิเศษมากขึ้น
- ชุดอาหารจากหลากหลายประเทศ ทั้งตะวันตก ญี่ปุ่น และจีน เช่น สเต็ก พาสต้า ซุปญี่ปุ่นและจีน
- รูปแบบของชุดอาหารตามภูมิภาคในเกาหลีที่มีรสชาติ และเป็นสูตรที่มีชื่อเสียงในภูมิภาค
เมื่อสัดส่วนการบริโภคอาหารที่ทำเองที่บ้านเพิ่มขึ้น ความสนใจในชุดอาหารก็เพิ่มขึ้น อีกทั้งการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารข้างนอก แต่ผู้บริโภคยังอยากได้รสชาติตามร้านอาหารที่เคยรับประทาน จึงทำให้หลายร้านอาหารได้ออกผลิตภัณฑ์ในนามแบรนด์ตัวเองออกมา และยังเป็นชุดอาหารที่สามารถเก็บหรือปรุงอาหารได้สะดวกมากขึ้น
จากการตามข้อมูลของ Shinsegae Food ยอดขายชุดอาหาร Meal Kit ประเภทเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น 43% ในปี 2564 และ Food Jang หนึ่งในตลาดจำหน่ายเนื้อสัตว์ออนไลน์กล่าวว่า มียอดขายเพิ่มขึ้น 185% ในปี
2564 เมื่อเทียบกับปี 2562
การส่งสินค้าอาหารในช่วงเวลาเช้า (Early Morning Delivery)
จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคและสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายต่างก็ต้องปรับตัวตามไปเช่นกัน โดยทางหลายแบรนด์และผู้จัดจำหน่ายได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีทั้งเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เพื่อเพิ่มช่องทางการซื้อขายรูปแบบตลาด E-Commerce ทำให้ผู้บริโภคจากทุกพื้นที่เข้าถึงสินค้าหลากหลายชนิดได้ง่ายขึ้น เช่น การสั่งสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตผ่านช่องทางออนไลน์ ตลาดออนไลน์ และตลาดขายส่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก
จากการเพิ่มขึ้นของการบริโภคลักษณะนี้ ทำให้ตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้น 66% และตลาดขายส่งเพิ่มขึ้น77% เติบโตมากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562
โดยเฉพาะบริการส่งสินค้าอาหารในช่วงเวลาเช้า (Early Morning Delivery) คือบริการที่ผู้ซื้อสั่งสินค้าในช่วงเวลากลางคืน และได้รับสินค้าในตอนเช้าของวันถัดมา จากความรวดเร็วของการขนส่งนี้ส่งผลให้บริการดังกล่าว เติบโตขึ้นเป็น 15 เท่าในรอบ 4 ปี
บริการ Early Morning Delivery เริ่มขยายตลาดหลังจาก Market Kurly เปิดให้บริการในปี 2558 โดย Market Kurly เติบโตจากยอดขาย 157.1 พันล้านวอน ในปี 2561 เป็น 1.561 ล้านล้านวอน ในปี 2564 และคาดว่า ตลาดบริการ Early Morning Delivery จะเพิ่มสูงถึง 11.9 ล้านล้านวอน ในปี 2566 จาก 8 แสนล้านวอนในปี 2562
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลัก เช่น SSG.com Coupang และ Market Kurly ซึ่งแบ่งสัดส่วนประมาณ 80% ของตลาด การส่งสินค้าอาหารในช่วงเวลาเช้านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็ว เนื่องจากการจราจรไม่ติดขัด รวมถึงความสดใหม่ของอาหาร อย่างไรก็ตาม บางบริษัทได้ถอนตัวออกจากตลาด Early Morning Delivery และยังมีบริษัทที่ประกาศเปิดตัวใหม่ซึ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนของตลาด
เครื่องปรุงและซอสสำหรับการปรุงอาหารเองที่บ้าน
นอกจากการบริโภคอาหารสำเร็จรูปแล้ว การทำและปรุงอาหารด้วยตัวเองที่บ้านก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้น เหมือนกัน แต่การทำอาหารด้วยตนเองนั้น อาจมีปัญหาในเรื่องของรสชาติ จึงทำให้เครื่องปรุงรสและซอสชนิด ต่างๆ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ตามรายงานของกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาของเกาหลีใต้ ณ ปี 2563 การผลิตซอสในประเทศมีมูลค่า 2.31 ล้านล้านวอนหรือ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.5% จาก 1.9 ล้านล้านวอนหรือ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2559
โดยสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องดื่มปรุงรส พริกไทย มัสตาร์ด สมุนไพร สลัดปรุงรส ซอสหอยนางรม ซอสเผ็ด และน้ำมันมะกอก ในขณะที่สินค้าที่ผู้บริโภคลดปริมาณในการซื้อลดลง ได้แก่ น้ำตาล น้ำเชื่อมปรุงรส น้ำมันปรุงรส น้ำมันงา และน้ำมันงา
อาหารจากชุมชนและอาหารพรีเมี่ยม (Community Agricultural Food & Premium Food)
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตรในพื้นที่ชนบท มีการปลูกข้าวขนาดเล็กหลายหลากชนิด และพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงตามชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการพยายามเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
บริษัท CJ ได้วางแผนที่จะนำเสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้บริโภค เช่น ข้าวปรุงสำเร็จรูป “Hetbahn rice” ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวแทนของสินค้า HMR แม้ว่าแผนการในครั้งนี้จะอยู่ท่ามกลางแนวโน้มการบริโภคข้าวในประเทศที่ลดลง นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งได้พัฒนาและแปรรูปผลไม้หลากหลายชนิดเพื่อสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคในภาคผลไม้ เช่น ส้ม พีช และองุ่น อีกทั้ง พันธุ์ใหม่ๆ ที่กำลังพัฒนา เพื่อส่งออกสู่ตลาดในอนาคต
การคาดการณ์ของเทรนด์ในตลาดอาหารเกาหลีในปี 2565
ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานและชุดทำอาหารสำเร็จรูป (HMR & Meal kit)
สินค้าอาหารในรูปแบบของการพร้อมรับประทาน (Ready to eat) พร้อมอุ่น (Ready to heat) และพร้อมทำ (Ready to cook) ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดของสินค้าอาหาร ชนิดนี้จะมีมูลค่าถึง 10 ล้านล้านวอนหรือ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2566 อีกทั้ง การผนวกเทคโนโลยี เข้ากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยิ่งทำให้คาดการณ์ได้ว่าคุณภาพรวมถึงบรรจุภัณฑ์ของสินค้าจะมีการพัฒนาขึ้นอย่าง แน่นอน
นอกจาก อาหารแช่แข็งทั่วไป ยังมีการคาดการณ์ว่าหลายบริษัทจะผลิตสินค้าที่มีความหรูหรามากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ เช่น บริษัท hy ได้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความหรูหราของชุดทำอาหารสำเร็จรูป โดยที่ผลิตสินค้าตามสูตรอาหารของคนที่มีชื่อเสียงหรืออาหารที่มีชื่อเสียงของแต่ละภูมิภาค
อาหารและของทานเล่นเพื่อสุขภาพ
ผู้บริโภคมีความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการรับประทานและการออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดเทรนด์ “Healthy Pleasure” ที่ผู้บริโภคต้องการดูแลสุขภาพโดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือของทานเล่นที่มีสารปรุงแต่ง และน้ำตาลมากเกินไป จากเทรนด์นี้ทาง Lotte ได้ออกแบรนด์ขนมที่ชื่อว่า “ZERO” ขนมหวานไร้น้ำตาลโดยใช้เครื่องปรุงรสทางเลือกแทน และมียอดขายเกิน 2 พันล้านวอนหรือ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในหนึ่งเดือน
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2563 ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงการบริโภคอาหาร ทำให้อุตสาหกรรมอาหารของเกาหลีใต้ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คำนึงถึงความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และรสชาติเป็นหลัก รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารข้างนอก เช่นกัน
ดังนั้น เทรนด์ในตลาดอาหารจึงมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในปี 2564-2565 ที่ทางผู้ผลิตตอบสนองการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น เน้นความสะดวกสบาย และรสชาติที่ดี รวมถึงใส่ใจสุขภาพด้วย เพื่อตอบสนองลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีในการขนส่งยังได้รับการตอบรับที่ดีมาก จึงทำให้ตลาดอาหารเติบโตยิ่งขึ้น จากการปรับตัวรูปแบบนี้ ทางผู้ประกอบไทยควรติดตามอุตสาหกรรมอาหารของเกาหลีใต้ เพื่อนำไปปรับและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มโอกาสทางการค้าต่อไป
โฆษณา