16 ส.ค. 2022 เวลา 23:35 • สุขภาพ
#ไส้เลื่อนกระบังลมโรคไม่ใหม่แต่อันตราย
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์หมอมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ “โรคไส้เลื่อนกระบังลม” มาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับ
ไส้เลื่อนกระบังลมคืออะไร?
ภาวะ “ไส้เลื่อน” หรือ “HERNIA”คือภาวะที่มีอวัยวะหนึ่ง ไหลลอดผ่านอีกอวัยวะหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้หลายที่ เช่น ไส้เลื่อนขาหนีบ ไส้เลื่อนลำไส้เล็ก ไส้เลื่อนลำไส้ใหญ่ และเรื่องที่เราจะคุยกันวันนี้คือ “ไส้เลื่อนกระบังลม”
ไส้เลื่อนกระบังลม คือโรคที่เกิดการเลื่อนของประเพาะอาหาร เลื่อนผ่านกระบังลมบริเวณที่เป็นหูรูดหลิดอาหารส่วนล่างซึ่งเป็นจุดที่ช่องอกและช่องท้องเชื่อมกัน โดยกระเพาะหารที่เลื่อนขึ้นไปจะทำให้เกิดอาการ จุกแน่นในอกเวลาที่กินอาหาร หรือ มีอาการของกรดไหลย้อน แต่ถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น กระเพาะอาหารบิดขั้ว กระพาะอาหารถูกรัดจนเน่า หรือ เกิดการแตกของกระเพาะอาหารในช่องอก ก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงจนถึงชีวิตได้
อาการของโรคไส้เลื่อนกระบังลม
โรคไส้เลื่อนกระบังลม มีอาการได้หลายอย่างได้แก่
-รู้สึกว่ากลืนอาหารติดในช่องอก
-โรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง
-คลื่นไส้อาเจียนหลังจากกินอาหาร
-จุกแน่นในอกหลังจากที่กินอาหาร
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนกระบังลม
สำหรับการวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนกระบังลมนั้นเริ่มต้นด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกาย แต่โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ง่ายมากจากการทำเอกซเรย์ทรวงอก (CHEST X-RAY) โดยที่เราจะเป็นกระเพาะอาหารไหลขึ้นไปในช่องอกได้อย่างชัดเจน หรือการกลืนแป้งทึบรังสีแล้วเอกซเรย์ที่จะทำให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น นอกการการส่งตรวจเอกเรย์ทรวงอกแล้ว ยังมีการส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินลักษณะของการไหลเอน เพื่อวางแผนการรักษาต่อไปได้อีกด้วย
การรักษาโรคไส้เลื่อนกระบังลม
การรักษาโรคไส้เลื่อนกระบังลมจะแบ่งเป็น 2 แบบได้แก่
1.กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก
กลุ่มนี้การรักษาจะเน้นไปที่การให้ยาลดกรดและลดอาการต่างๆของโรค
2.กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ
-กรดไหลย้อน
-จุกแน่นอก
-กลืนติด
-ปวดท้องหลังกินอาหาร
-น้ำหนนักลด
-หืดหอบ
-โลหิตจาง
คนไข้กลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไขภาวะไส้เลื่อนกระบังลม
ซึ่งในปัจจุบัน การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคไส้เลื่อนกระบังลมนั้น สามารถทำการรักษาได้โดยการผ่าตัดส่องกล้อง โดยหลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะพักฟื้นในรพ.ต่อเพียง24-48ชั่วโมง ก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ใน2-3สัปดาห์หลังผ่าตัด
ถ้าคุณมีอาการจุกแน่นอกอย่ารอช้า
รีบมาพบแพทย์โดยไวนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
reference
Seltman AK, Kahrilas PJ, Chang EY, Mori M, Hunter JG, Jobe BA. Endoscopic measurement of cardia circumference as an indicator of GERD. Gastrointest Endosc 2006;63:22–31. [PubMed: 16377311]
Pandolfino JE, Kim H, Ghosh S, Clarke JO, Zhang Q, Kahrilas PJ. High-Resolution Manometry of the EGJ: An Analysis of Crural Diaphragm Function in GERD. Am J of Gastro 2007;102:10561063.
Pandolfino JE, Kim H, Ghosh S, Clarke JO, Zhang Q, Kahrilas PJ. High-Resolution Manometry of the EGJ: An Analysis of Crural Diaphragm Function in GERD. Am J of Gastroenterol 2007;102:1056–1063. [PubMed: 17319930]
Bredenoord AJ, Weusten BL, Timmer R, Smout AJ. Intermittent spatial separation of diaphragm and lower esophageal sphincter favors acidic and weakly acidic reflux. Gastroenterology 2006;130:334340. [PubMed: 16472589]
โฆษณา