Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
19 ส.ค. 2022 เวลา 16:59 • สุขภาพ
#กลืนติดกลืนลำบากเพราะอาจจะมีกระเปาะในหลอดอาหาร
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์ หอมมีเรื่องเกี่ยวกับโรค ZENKER’S DIVERTICULUM หรือ โรคกระเปาะโป่งพองในหลอดอาหารมาเล่าให้ทุกคนฟัง เรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาฟังกันเลยครับ
.
โดยปกติแล้ว หลอดอาหารของคนเราจะมีลักษณะเป็นท่อตรงที่ประกอบด้วย้เยื่อบุหลอดอาหารและกล้ามเนื้ออีก2ชั้น พาดผ่านจากคอผ่านช่องอกไปต่อกับกระเพาะอาหารในช่องท้อง แต่เมื่อเกิดภาวะความดันในหลอดอาหารสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำใหเกิดการโป่งพองของหลอดออาหารออกมาเป็นกระเปาะที่เราเรียกว่า ZENKER’S DIVERTICULUM นั่นเอง
.
อาการของโรคกระเปาะในหลอดออาหารนี้ คนไข้จะมีอาการ “กลืนติด” โดยอาการมักมาในช่วงวัย70-80 ปี โดยจะมีอาการกลืนติด สำลักอาหาร ไอเรื้อรัง เสียงแหบ นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายที่เกิดกระเปาะหลอดอาหารนี่บริเวณคอ จะมีก้อนที่คอที่เมื่อเขย่าหรือเวลาเดินแล้วจะมีเสียงเหมือนน้ำกระฉอกอยู่ภายใน
.
สาเหตุของโรคเกิดมาจาการที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างมีการเกร็งตัว ก่อให้เกิดภาวะความดันในหลอดอาหารสูงอย่างต่อเนื่องจนเกิดการโป่งพองของกระเปาะหลอดอาหารนั่นเอง
.
โดยความรุนแรงของอาการของโรคนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ระดับคือ
1.กลืนอาหารแข็งลำบาก
2.กลืนอาหารอ่อนลำบาก
3.กลืนของเหลวลำบาก
4.กลืนไม่ได้เลย
.
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคนี้?
การวินิจฉัย ZENKER’S DIVERTICULUM นั้น โดยปกติจะอาศัยการตรวจรังสีวินิจฉัย โดยให้คนไข้กลืนแป้งทึบรังสีแล้วทำการเอกซเรย์ จะพบว่ามีกระเปาะของหลอดอาหารงอกออกมา
นอกจากการกลืนแป้งแล้ว ยังมีการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่จะทำให้เราได้เห็นลักษณะโครงสร้างของกระปาะที่ผิดปกตินี้อย่างชัดเจนอีกด้วย
.
แล้วถ้าเป็นโรคนี้จะรักษาอย่างไร?
โดยปกติแล้วโรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะต้องรักษาโดยการผ่าตัดปิดทางเข้าของกระเปาะนี้เพื่อป้องกันอาหารตกลงไปในกระเปาะแล้วก่อให้เกิดอาการสำลักอาหาร โดยการผ่าตัด มี 3 แบบ ทั้งการส่องกล้องผ่าตัดผ่านช่องปาก การส่องกล้องผ่าตัดผ่านลำคอ และการผ่าตัดเปิดแบบดั้งเดิม โดยในปัจจุบัน การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นที่นิยมมากเนื่องจากสามารถฟื้นตัวได้ไว และผลข้างเคียงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
https://link.springer.com/article/10.1007/s00464-020-07861-5
ถ้าคุณมีอาการกลืนติดขัดอย่ารอช้า
รีบมาปรึกษาแพทย์โดยไวนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
references
1. Zhang LY, Iung-Chiang Wu P, Szczesniak MM, et al. Clinical utility of cricopharyngeal
distensibility measurements during endoscopic myotomy
for Zenker’s diverticulum. Gastrointest Endosc 2021;93:390-7.
2. Dzeletovic I, Ekbom DC, Baron TH. Flexible endoscopic and surgical
management of Zenker’s diverticulum. Expert Rev Gastroenterol Hepatol
2012;6:449-65;quiz 466.
3. Yang J, Novak S, Ujiki M, et al. An international study on the use of
peroral endoscopic myotomy in the management of Zenker’s diverticulum.
Gastrointest Endosc 2020;91:163-8.
เรื่องเล่า
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
2 บันทึก
2
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคกรดไหลย้อนเป็นเรื่องใหญ่ ปล่อยทิ้งไว้ได้ผ่าตัดแน่
2
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย