Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2022 เวลา 23:01 • สุขภาพ
#โรคอะคาเลเซียกลืนไม่ลงกลืนติดชีวิตรันทด
สวัสดีทุกคนครับ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์วันนี้ หมอมีเรื่องราวของโรคกลืนติด ที่มีชื่อว่า อะคาเลเซีย(ACHALASIA) มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันครับ
โรคอะคาเลเซีย(ACHALASIA)เป็นโรคที่เกิดจากการที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างเกร็งตัวไม่คลาย ทำให้อาหารที่กินเข้าไปเกิดการคั่งค้างอยู่ในหลอดอาหาร ไม่ผ่านหูรูดลงไปยังกระเพาะอาหาร โดยโรคนี้มีโอกาสเกิด 1 ใน 100,000 คน โดยสาเหตุการเกิดของโรคในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุได้
ความเสี่ยงของการเกิดโรคACHALASIAนี้คือ
-มีปัญหาระบบประสาท
-เป็นโรคดาวน์ซินโดรม
-เป็นเบาหวาน
-เป็นโรคต่อมไธรอยด์ทำงานต่ำ
-เป็นโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคอะคาเลเซียหรือไม่?
อาการของโรคอะคาเลเซียคืออาการกลืนติด กลืนไม่ลง โดยถ้าเป็นโรคนี้นานๆ จะทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดอาหารและนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้
โรคอะคาเลเซีย สามารถวินิจฉัยได้โดย การใส่เครื่องวัดความดันของหูรูดหลอดอาหาร (ESOPHAGEAL MANOMETRY) โดยเมื่อใส่เครื่องนี้เข้าไปในหลอดอาหารแล้ววัดความดันของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างดู จะพบว่ามีความดันสูงกว่าปกติ และไม่เกิดการคลายขงอหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างในตอนที่เรากินอาหารเข้าไป
นอกจาการใส่เครื่องวัดความดันหลอดอาหารแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยได้จากการกลืนแป้งทึบรังสีแล้วทำการเอกซเรย์ดู โดยจะพบลักษณะเหมือนปากจะงอยนก (BIRD BEAK APPEARANCE) ซึ่งเป็นลักษณะที่จำเพาะของโรคนี้นั่นเอง
การรักษาโรคอะคาเลเซียมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1.การส่องกล้องบอลลูนขยายหูรูด วิธีนี้ไม่ต้องผ่าตัด แต่ข้อเสียคือมักกลับมาเป็นซ้ำ 30%
2.การผ่าตัดคลายหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เป็นการส่งกล้องเข้าไปผ่าตัดคลายกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เพื่อให้สามารถกลืนอาหารได้นั่นเอง
แต่ถ้าอาการของคนไข้เป็นมาเรื้อรังจนมีการขยายตัวของหลอดอาหาร ก็จำเป็นต้องผ่าตัดหลอดอาหารทิ้งก่อนที่จะเกิดมะเร็งหลอดอาหารนั่นเอง
ถ้าคุณมีอาการกลืนติดอย่ารอช้า
รีบมาปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านคุณ
ด้วยความห่วงใย
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
REFERENCE
1 Vantrappen G, Hellemans J, Deloof W, et al. Treatment of achalasia with pneumatic dilatations. Gut 1971; 12: 268–75.
2 Richter JE, Boeckxstaens GE. Management of achalasia: surgery or pneumatic dilation. Gut 2011; 60: 869–76.
3 Willis T. Pharmaceutice Rationalis Sive Diatribe de Medicamentorum Operationibus in Human Corpore. London, England: Hagae Comitis, 1674.
4 Boeckxstaens GE. The lower oesophageal sphincter. Neurogastroenterol Motil 2005; 17 (suppl 1): 13–21.
5 Kahrilas PJ, Kishk SM, Helm JF, Dodds WJ, Harig JM, Hogan WJ. Comparison of pseudoachalasia and achalasia. Am J Med 1987; 82: 439–46.
เรื่องเล่า
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
1 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคกรดไหลย้อนเป็นเรื่องใหญ่ ปล่อยทิ้งไว้ได้ผ่าตัดแน่
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย