16 ก.ย. 2022 เวลา 01:31 • สุขภาพ
#กลืนติดกลืนลำบากหากเป็นมะเร็งหลอดอาหาร
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้ #คุยเฟื่องเรื่องศัลย์ หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาการกลืนติดกลืนลำบากที่ร่างกายกำลังบอกสัญญาณของการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร มาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับ
.
หลอดอาหารของคนเรา คือส่วนที่อยู่ถัดจากลำคอไปจนถึงกระเพาะอาหาร โดยมักมีความยาวประมาณ 25-30 CM โดยในช่วงบนของหลอดอาหารจะมีเซลล์ที่บุหลอดอาหารเป็นแบบ SQAUMOUS CELL และส่วนที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร คือ ช่วงหูรูดหลอดอาหารด้านล่าง จะเป็นแบบ COLUMNAR CELL ซึ่งความแตกต่างของเซลล์เหล่านี้จะมีผลต่อการรักษามะเร็งหลอดอาหารและพยากรณ์โรคที่จะเล่าต่อไปนะครับ
.
5ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร
1.การสูบบุหรี่
2.การดื่มสุรา
3.เชื้อชาติแอฟริกันอเมริกัน
4.ประวัติมะเร็งหลอดอาหารในครอบครัว
5.เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง
.
โดยอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหารนั้น ผู้ป่วยมักมาด้วยปัญหา "กลืนติด" กลืนลำบาก โดยตอนแรกเริ่มจากการกลืนอาหารแข็งติด จนกลืนอาหารอ่อนติด ไปจนกลืนน้ำติด ภาวะนี้เราเรียกว่า PROGRESSIVE DYSPHAGIA นอกจากนี้ ยังอาจมีปัญหาน้ำหนักลดลงอย่างมาก ร่วมด้วย
.
การวินิจฉัยโรคมะเร็งหอลดอาหาร
สำหรับการวินิจฉัยว่าเราเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารหรือไม่นั้น จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติที่สงสัยโรคมะเร็งเช่น อาการกลืนติดกลืนลำบาก PROGRESSIVE DYSPHAGIA อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาการกรดไหลย้อนเรื้อรัง การสูบุหรี่ การดื่มสุรา และประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว
.
หลังจากที่ซักประวัติแล้ว แพทย์จะส่งคนไข้ไปทำเอกซเรย์กลืนแป้ง BARIUM SWALLOW เพื่อหาสาเหตุการกลืนติด โดยโรคมะเร็งหลอดอาหารจะมีภาพเอกซเรย์ที่มีความจำเพาะกับโรคคือ
APPLE-CORE APPEARANCE ที่เกิดจากการตีบตันของหลอดอาหารทำให้สารทึบรังสีไหลลงไปในกระเพาะอาหารได้ยากจนเกิดลักษณะที่เหมือนกับ “แก่นของลูกแอปเปิ้ล” นั่นเอง
BARIUM SWALLOW การกลืนสารทึบแสงเพื่อดูความผิดปกติภายในหลอดอาหาร
APPLE-CORE APPEARANCE
.
เมื่อเราวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหาร แพทย์ก็จะทำการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อเข้าไปเก็บชิ้นเนื้อออกมาส่งตรวจว่าเป็นเซลล์มะเร็งชนิดไหน และทำการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อประมาณการระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหารนั่นเอง
.
การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร
.
การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารนั้น ขึ้นอยู่กับ ชนิดของเซลล์มะเร็ง ความลึกของการกัดกินของเซลล์มะเร็ง และการกระจายของเซลล์มะเร็ง โดยการรักษาหลักๆ ได้แก่
-การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง ENDOSCOPIC TREATMENT
-การผ่าตัดเอาหลอดอาหารออก ESOPHAGECTOMY
-การฉายแสงและเคมีบำบัด CHEMORADIATION
โดยค่าเฉลี่ยของการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารนั้นไม่ค่อยดี โดยประเมินอัตราการรอดชีวิตของโรคนี้อยู่ที่ 13-26 % (5 YEARS SURVIVAL RATE) เท่านั้น
ถ้าคุณมีปัญหากลืนติดกลืนลำบากน้ำหนักลดอย่ายนิ่งนอนใจ
รีบไปพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อตรวจรักษานะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
อ้างอิง
Gu Y, Swisher S.G, Ajani J.A, et al. The number of lymph nodes with metastasis predicts survival in patients with esophageal cancer or esophagogastric junction adenocarcinoma who receive preoperative chemoradiotherapy. Cancer . 2006;106:1017–1025.
This paper discusses the notion that, in addition to location and response to neoadjuvant therapy, the number of lymph nodes may be one of the most significant predictors of outcome.
Hulscher J.B, van Sandick J.W, de Boer A.G, et al. Extended transthoracic resection compared with limited transhiatal resection for adenocarcinoma of the esophagus. N Engl J Med . 2002;347:1662–1669.
This randomized trial evaluated two different approaches for esophagectomy and demonstrated: (1) less morbidity with a transhiatal approach and (2) a trend towards improved long-term survival in the transthoracic group with en-bloc lymphadenectomy.
Kahrilas P.J, Bredenoord A.J, Fox M, et al. The Chicago classification of esophageal motility disorders, v3.0. Neurogastroenterol Motil . 2015;27:160–174.
The Chicago classification has provided a framework to understand and categorize esophageal motility disorders through the use of precise definitions involving high-resolution manometry.
โฆษณา