20 ส.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
หิน 15 ก้อนของ สตีฟ จ๊อบส์
6
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
3
ทุกครั้งที่ สตีฟ จ๊อบส์ ไปเยือนเมืองเกียวโต เขาเจาะจงใช้คนขับรถชื่อ โอชิมะ ฮิโรชิ
5
โอชิมะพาเขาเที่ยวทั่วเมืองเกียวโต ทั้งสองคุยกันอย่างถูกชะตา จ๊อบส์กลายเป็นเพื่อนกับคนขับรถชาวญี่ปุ่น เขาให้ที่อยู่กับหมายเลขโทรศัพท์ของเขาแก่คนขับรถ ทั้งยังชวนโอชิมะให้ไปเยี่ยมเขาที่อเมริกา
7
ทั้งสองสนิทสนมกันพอที่โอชิมะล้อเล่นว่า จ๊อบส์น่าจะตั้งชื่อผลิตภัณฑ์สักรุ่นตามชื่อเขาว่า Hiro
3
สตีฟ จ๊อบส์ มีความผูกพันกับประเทศญี่ปุ่นมาก ทั้งวัฒนธรรม ปรัชญาเซน สถาปัตยกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ และอาหาร
2
สตีฟ จ๊อบส์ ชอบไปเยี่ยมวัดเรียวอันจิ (竜安寺) มันมีสวนหินอันเลื่องชื่อ เขารักวัดเรียวอันจิมาก
2
วัดนี้มีอายุร่วมหกร้อยปี การจัดสวนหินในวัดนี้ถือว่าเป็นสุดยอดแห่งความเรียบง่าย และสะท้อนปรัชญาเซนอย่างชัดเจน
5
อาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร แห่งคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ เขียนว่า “ความงามของเรียวอันจิไม่ขึ้นกับตำราใดๆ และไม่ขึ้นต่อประวัติศาสตร์ เพราะวิธีสร้างความงามแบบนี้ไม่เคยมีมาก่อน
15
และมันอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ในฐานะแบบโบราณสถาน ผลของความงามที่ปรากฏขึ้นเช่นนี้เป็นเพราะผู้สร้างสวนแห่งนี้ได้ยกสภาวะของจิตของตนขึ้นด้วยการฝึกฝนจิตแบบเซน
4
เมื่อจิตสะอาดและหลุดจากกายหยาบ ความงามที่เกิดขึ้นจึงเป็นความงามที่อยู่ในสภาพละเอียด และยากที่จะพรรณนาด้วยถ้อยคำของมนุษย์กายหยาบอย่างเราๆ สวนแห่งนี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปดู แต่สร้างขึ้นเพื่อการอบรมฝึกฝนจิตของภิกษุในวัด เพื่อการค้นหา ‘จิตเดิมแท้’ ของตน”
17
วัดเรียวอันจิ
ในการไปเยือนเรียวอันจิครั้งแรก โอชิมะบอกจ๊อบส์ว่า “ในสวนนี้มีก้อนหิน 15 ก้อน แต่เราไม่สามารถมองเห็นหินทั้ง 15 ก้อนพร้อมกัน ไม่ว่ามองจากมุมไหน”
8
จ๊อบส์ตรงไปตรวจสอบทันที เขาเดินไปเดินมารอบสวน ก็จริงอย่างที่คนขับบอก
3
เขาถามว่า “ทำไมเป็นอย่างนั้น?”
1
โอชิมะบอกจ๊อบส์ว่า “ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เลข 15 หมายถึงความสมบูรณ์แบบ ญี่ปุ่นในอดีตถือว่าผู้ชายที่อายุ 15 เป็นผู้ใหญ่แล้ว คืนจันทร์เต็มดวงก็เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ”
11
คนขับเสริมอีกว่า เหตุที่ไม่มีใครมองเห็นหินสิบห้าก้อนก็เพราะการออกแบบให้ไม่เห็นหินทีเดียว 15 ก้อนก็เพราะงานไม่มีวันสมบูรณ์ ต้องพัฒนาต่อไป
31
สตีฟ จ๊อบส์
จ๊อบส์ฟังโอชิมะแล้วก็พยักหน้า เขาค่อนข้างพอใจกับคำตอบนี้ หรือปรัชญาการคิดแบบนี้ หลายปีต่อมา เมื่อเขาพาลูกไปเยือนวัดนี้ จ๊อบส์ก็เล่าคำอธิบายนี้ให้ลูกฟัง
5
สตีฟ จ๊อบส์ เข้าใจปรัชญาหิน 15 ก้อนนี้ทันที เพราะเขาตั้งเป้างานออกแบบของเขาที่เลข 15 เสมอ งานของเขาต้องสมบูรณ์แบบ ลูกน้องของเขารู้ดีว่า ทำงานกับ สตีฟ จ๊อบส์ ยากเพียงไร เพราะเขาเป็น perfectionist
6
ทัศนคติการทำงานของเขาคือ “หากงานไม่ดีพอ ไม่ต้องมาเสนอหน้าให้เห็น”
2
จ๊อบส์มีสำนึกเรื่องความงามในระดับสูง ทัศนะของเขาคือความงามคือความเรียบง่าย ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอก แต่ทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
5
จ๊อบส์เห็นว่าความเรียบง่ายคือสิ่งดีที่สุดในการออกแบบ มันทอนส่วนเกินออกไปหมดสิ้น เหลือแต่แก่นของงาน ไม่เสแสร้ง ไม่วุ่นวาย ไม่ซับซ้อน
27
แม้กระทั่งคู่มือการใช้งานก็เป็นส่วนเกิน
9
หากงานออกแบบมาดี ไยต้องมีคู่มือการใช้งาน?
13
แต่เขาก็รู้ว่า ความเรียบง่ายนั้นออกแบบได้ยากที่สุด
14
สตีฟ จ๊อบส์ เชื่อปรัชญาการออกแบบที่เรียบง่ายเหมือนที่ ดีเทอร์ รัมส์ ปรมาจารย์นักออกแบบกล่าวว่า “น้อยกว่าแต่ดีกว่า” (Less, but better.)
22
ปรัชญาการออกแบบที่เรียบง่ายของ สตีฟ จ๊อบส์ มาจากไหน?
1
คำตอบน่าจะเป็นวิถีเซนของญี่ปุ่น มันอยู่ในลมหายใจของเขา
10
สตีฟ จ๊อบส์ รู้จักญี่ปุ่นครั้งแรกก็ผ่านเซน
2
วิถีเซนสอนเขาเรื่องการสัมผัสความงาม
2
คนที่ชื่นชอบปรัชญาเซนจะเข้าใจศิลปะได้ง่ายขึ้น เพราะศิลปะที่ดีคืองานที่เรียบง่าย
9
สวนหินของญี่ปุ่นสะท้อนปรัชญาเซนอย่างชัดแจ้ง การกวาดทรายเป็นริ้ว การวางก้อนหินแต่ละก้อนล้วนมีความหมาย และเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ เช่น ริ้วคลื่นคือสายน้ำ หินคือภูเขา ความอ่อนและความแข็งประสานเป็นหนึ่งเดียว
6
มันไม่ใช่การจัดสวนธรรมดา มันคือการเชื่อมตัวตนกับธรรมชาติและจักรวาล
4
นี่เป็นปรัชญาทั้งในการออกแบบและการใช้ชีวิต
2
ในฐานะคนที่พ่อแม่ทิ้ง จ๊อบส์ค้นหาตัวตนของเขามาตลอด
3
ความคิดแสวงหานี้พาเขาไปถึงวัดเซนที่ ลอส อัลทอส แคลิฟอร์เนีย นำโดย โคบัน โอโตกาวะ พระเซนสายโซโตจากญี่ปุ่น โอโตกาวะเป็นครูของเขา
4
วิถีเซนส่งผลต่อวิธีคิดและชีวิตของเขาอย่างมาก
5
เขากล่าวว่า “ผมพบว่าศาสนาพุทธ เซนญี่ปุ่น เป็นสุดยอดสุนทรียภาพ สิ่งงดงามที่สุดที่ผมเห็นคือสวนต่างๆ ในเกียวโต ผมชื่นชมสิ่งที่วัฒนธรรมได้สร้างขึ้นมาโดยตรงจากพุทธเซนอย่างมาก”
8
จ๊อบส์เห็นว่าญี่ปุ่นมีปรัชญาชีวิตและความงามที่ยอดเยี่ยม นั่นคือเรียบง่าย อันเป็นผลมาจากวิถีเซนอันยาวนาน และฝังรากลึกในสังคมญี่ปุ่น
6
เขารักงานฝีมือของญี่ปุ่นมาก โดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่น เขาชื่นชอบงานของ ชากุนางะ ยูกิโอะ ศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา งานของชากุนางะเหมือนประติมากรรมชั้นเลิศ มีสีสัน มีดีไซน์ ถูกจริตจ๊อบส์อย่างยิ่ง
11
สตีฟ จ๊อบส์ รักงานฝีมือของญี่ปุ่นมาก
จ๊อบส์เห็นเครื่องปั้นดินเผาของชากุนางะในแกลเลอรีแห่งหนึ่งที่เกียวโต แล้วหลงรักมันทันที ช่วงสามวันที่เขาพักอยู่ที่เกียวโต เขาไปซื้อเครื่องปั้นดินเผาทุกวัน
3
จึงไม่น่าแปลกที่ปรัชญาการออกแบบของ Apple ก็คือปรัชญาเซน
4
ผลงานผลิตภัณฑ์ของ สตีฟ จ๊อบส์ ซับซ้อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่การออกแบบกลับเรียบง่ายอย่างที่สุด
8
การออกแบบสวยงาม เรียบง่าย ใช้งานง่าย
5
เหล่านี้ก็คือรากของงานศิลปะญี่ปุ่นมาแต่อดีต และไม่เคยล้าสมัย
3
ความงามที่มาจากความเรียบง่ายไม่มีวันตาย
19
สตีฟ จ๊อบส์ กล่าวว่า “นานๆ ที ผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงก็มาถึง แล้วเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง”
สตีฟ จ๊อบส์ เป็นหนึ่งในคนที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แบบนั้น เขาสร้างงานที่เปลี่ยนแปลงโลกครั้งแล้วครั้งเล่า
1
สตีฟ จ๊อบส์ ร่วมก่อตั้งบริษัท Apple ในยุค 1970s ขณะที่ยังหนุ่มมาก เขาทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกลายเป็นเครื่องเรือนชิ้นใหม่ในบ้าน ทำให้งาน desktop publishing ง่ายขึ้น เขาเป็นคนนำเมาส์มาเป็นอุปกรณ์ใหม่ที่ช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของคอมพิวเตอร์ไป
7
ชะตาชีวิตที่พลิกผันทำให้เขาถูกขับออกจากบริษัทที่ตนเองก่อตั้ง แล้วไปสร้างบริษัททำหนังคอมพิวเตอร์อะนิเมชันชื่อ Pixar
3
เขาก่อตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT ในปี 1985
3
แต่ชะตาชีวิตพลิกผันอีกครั้ง เขาหวนคืนสู่ Apple ปี 1996 คราวนี้ปฏิวัติทั้งบริษัทและวงการคอมพิวเตอร์ เริ่มที่สร้างเครื่อง iMac สีสันสดใส เปลี่ยนกรอบคิดว่าคอมพิวเตอร์ต้องเป็นเรื่องซีเรียส
3
ปี 2001 เขาปล่อยของชิ้นใหม่คือ iPod ปฏิวัติวงการเพลง ทำให้แผ่นซีดีตกสมัยไปแทบทันที ตามมาด้วย iPhone รวมโทรศัพท์เข้ากับคอมพิวเตอร์
8
ตามมาด้วย iPad
3
สตีฟ จ๊อบส์ รักประเทศญี่ปุ่น ชอบไลฟ์สไตล์ของญี่ปุ่นมากๆ และชาวญี่ปุ่นก็รักเขาและวิธีทำงานของเขา
4
เขาจัดเป็นพวก Japanophile (คนที่ชื่นชมญี่ปุ่น)
5
จ๊อบส์ร่วมงานกับบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่ง เช่น โซนี เขาชื่นชม มอริตะ อะกิโอะ หนึ่งในผู้ก่อตั้งโซนี
5
จ๊อบส์รู้สึกว่าโซนีสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงโลกมากมาย เขารู้สึกตื่นเต้นกับผลิตภัณฑ์ของโซนี ตั้งแต่วิทยุทรานซิสเตอร์ โทรทัศน์ไตรนิทรอน มันส่งอิทธิพลต่อเขามาก
5
หลายครั้งเขาไปเยือนโซนีโดยไม่บอกล่วงหน้า สนทนากับพนักงาน คุยไอเดียต่างๆ ให้คนของโซนี
2
สตีฟ จ๊อบส์ มีความผูกพันกับประเทศญี่ปุ่นเสมอ
อีกบริษัทหนึ่งที่เขาชอบไปเยือนก็คือ Alps Electronics Co. เป็นบริษัทที่ผลิตไดร์ฟสำหรับฟล็อปปี ดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ยุคแรกของ Apple เขายังเลกเชอร์ให้พนักงาน Alps
ว่ากันว่า การแต่งตัวง่ายๆ ของเขา กางเกงยีน เสื้อยืดสีดำก็ได้รับอิทธิพลมาจากโซนี
4
ครั้งหนึ่งเขาไปเยือนโรงงานโซนี เขาถามมอริตะว่าทำไมพนักงานทุกคนสวมเครื่องแบบ มอริตะตอบเขาว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่มีใครมีปัญญาหาเสื้อผ้ามาสวมใส่ โซนีจึงตัดเครื่องแบบให้พนักงานสวม
7
หลังจากจ๊อบส์กลับอเมริกา เขาพยายามจะแนะนำเครื่องแบบให้ Apple แต่อเมริกันไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น ทุกคนปฏิเสธเครื่องแบบเพราะมันสวนทางกับความเชื่อเรื่องเสรีภาพ จ๊อบส์จึงสวม ‘เครื่องแบบ’ ของเขาเอง เป็นแบบเดิมไปตลอดชีวิต
18
แต่จ๊อบส์ก็คือจ๊อบส์ ใช้แต่สินค้าที่มีดีไซน์ เสื้อยืดของเขาออกแบบโดยดีไซเนอร์ Issey Miyake ผู้ที่เขารู้จักจากการแนะนำของ มอริตะ อะกิโอะ เขาสั่งเสื้อยืดสีดำมาหลายร้อยตัว กะใช้จนวันตาย
15
จ๊อบส์รักเมืองเกียวโต ทุกครั้งที่ไปเยือน จะพักที่เรียวกัง ทาวาระยะ เรียวกังเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมือง
6
เขาชอบไปกินอาหารญี่ปุ่นที่ร้านใกล้ๆ เรียวกังเป็นประจำ ชื่อร้าน Misoka-an Kawamichiya เขาชอบโซบะเย็นกับเท็มปุระ
4
วันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม 2010 โอชิมะขับรถพา สตีฟ จ๊อบส์ ผ่านหมู่บ้านใกล้ๆ วัดนันเซนจิ จ๊อบส์มองเห็นบ้านหลังหนึ่งที่สะดุดตาเขา มันชื่อ โนมูระ วิลลา สร้างเสร็จในปี 1928 โดย โนมูระ โตกูซึชิ สวนบ้านหลังนี้มีคุณค่าระดับชาติ แต่ไม่เปิดให้สาธารณะ
21
จ๊อบส์อยากเข้าไปดูสวน
2
โอชิมะบอกว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าไป แต่จ๊อบส์บอกว่าอาจมีทาง
1
จ๊อบส์โทร.หาเลขาฯของเขาที่อเมริกา สิบนาทีต่อมามีโทรศัพท์ถึงคนขับบอกว่า นัดหมายการเข้าชมสวนให้จ๊อบส์แล้วในวันพรุ่งนี้
8
วันรุ่งขึ้นจ๊อบส์เข้าไปชมสวน เมื่อกลับมาเขาบอกโอชิมะว่า “ผมอยากได้สวนแบบนี้”
5
แม้ตอนที่เขาป่วย เขาก็ยังไปเยือนเกียวโตเสมอ ไปเยือนวัดต่างๆ เช่น ไซโฮจิ วัดสายรินไซ เซน
2
เขาชอบอาหารญี่ปุ่น ชอบโซบะกับซูชิ จนถึงขนาดส่งพ่อครัวของเขาจากสหรัฐฯไปเรียนวิชาทำโซบะที่ญี่ปุ่น
4
แม้ในวาระสุดท้าย หลายเดือนก่อนตาย เขาก็ยังสั่งอาหารญี่ปุ่นมากิน
2
ช่วงสุดท้ายของชีวิต จ๊อบส์พาลูกเมียไปเกียวโต แวะร้านซูชิวะ จ๊อบส์กินอาหารมื้อนั้นอย่างเอร็ดอร่อย บอกเจ้าของร้านว่า “ผมไม่เคยกินซูชิอร่อยเท่านี้มาก่อน”
6
เจ้าของร้านบอกว่า “โอกาสหน้ามาเยือนร้านอีกนะ”
1
จ๊อบส์ตอบว่าคงจะยากแล้ว เพราะเขาป่วยหนัก นี่อาจเป็นเที่ยวสุดท้ายที่มาเยือนเกียวโต
4
หลังจบมื้อนั้น เจ้าของร้านขอลายเซ็นจ๊อบส์ให้ลูกสาว ปกติจ๊อบส์ไม่ทำเรื่องแบบนี้ แต่ครั้งนี้อาจเพราะอารมณ์ดี จึงยอมเซ็นให้
4
มันติดอยู่ที่ร้านซูชิวะ ข้อความว่า “All good things” (ทุกสิ่งดีๆ) ซึ่งย่อมาจาก “All good things must come to an end.” (ทุกสิ่งดีๆ ต้องมาถึงจุดจบ)
47
หนึ่งปีต่อมา Japanophile ชาวอเมริกันก็จากโลกไป
1
บางทีจ๊อบส์รู้ดีว่าท่อนสุดท้ายของประโยคหมายถึงเขาเองที่กำลังจะถึงจุดจบของชีวิต
7
หรืออาจเพราะเขาเห็นว่าประโยคเต็มมีสองท่อน ท่อนแรกมองโลกในแง่บวก (สิ่งดีๆ) ท่อนหลังมองโลกในแง่ลบ (ความตาย) จึงเลือกเขียนเฉพาะท่อนบวก
13
สตีฟ จ๊อบส์ เสียชีวิตในวันที่ 5 ตุลาคม 2011
3
น้องสาวของจ๊อบส์เล่าว่า ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเขาตาย สตีฟ จ๊อบส์ มองดูคนในครอบครัวทั้งหมดที่มาดูใจ พึมพำว่า “Oh wow. Oh wow. Oh wow.” แล้วจากโลกไป
4
งานออกแบบหิน 15 ก้อนของเขาสิ้นสุดลงแล้ว
2
งานที่สมบูรณ์ ชีวิตที่สมบูรณ์
3
หินในชีวิตเรามีได้ถึง 15 ก้อน เรามองไม่เห็นทั้งหมด ทว่ามีแต่เราที่รู้ว่าเรามีหิน 15 ก้อนในหัวใจหรือไม่
11
เขาใช้ชีวิตดังเช่นหิน 15 ก้อนในสวนงาม เรียบง่าย แต่งดงาม
4
และมันก็เป็น ‘ทุกสิ่งดีๆ’
8

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา