5 ก.ย. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและใช้บ่อย (ฉบับคัดย่อ)
2
การดูอัตราส่วนทางการเงิน ทำให้เห็นธรรมชาติของธุรกิจได้ เช่น มีความแข็งแกร่งเพียงใด ทำกำไรได้ดีหรือไม่ บริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สินเป็นอย่างไร
โดยอัตราส่วนตัวที่สำคัญและถูกนำมาใช้บ่อยในการวิเคราะห์เลือกหุ้นนั้น ก็มีดังนี้ค่ะ
Current Ratio, Quick Ratio, GM, NM, P/E, P/BV, DIV, ROA, ROE, D/E & CC
📌 Current Ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน)
เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน กับหนี้สินหมุนเวียน
- ถ้ามีค่า > 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพคล่อง เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ
- ถ้ามีค่า < 1 แสดงว่า บริษัทไม่มีสภาพคล่อง เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนไม่เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ
📌 Quick Ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว)
ใช้วัดอัตราส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องมาก สามารถแปรสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว โดยตัดรายการสินค้าคงเหลือออกไป เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า
ปกติอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วอยู่ที่ 1:1 ก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว
** แต่ถ้ามีค่า > 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
และถ้าค่านี้ยิ่งสูงก็ยิ่งดี เพราะแสดงถึงสภาพคล่องของบริษัทในระดับสูงนั่นเอง
1
📌 GM : Gross profit margin (อัตรากำไรขั้นต้น)
แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรขั้นต้น เปรียบเทียบกับยอดขาย (ยอดขายหักด้วยต้นทุนสินค้าหรือบริการ)
** อัตรากำไรขั้นต้น ” ยิ่งสูงยิ่งดี “ เพราะแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ มีการควบคุมต้นทุนการผลิตที่ดี
📌 NM : Net profit margin (อัตรากำไรสุทธิ)
แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ เปรียบเทียบกับยอดขาย
- อัตรากำไรสุทธิ “ ยิ่งสูงยิ่งดี “
- แต่ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจค้าปลีกจะมี NM ต่ำ แต่ก็สามารถทำกำไรได้มากเพราะมีการหมุนเวียนสินค้ามาก
📌 PE : Price to Earnings Ratio (อัตราราคาต่อกำไร)
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นที่กิจการทำได้ในรอบปีล่าสุด
PE จะคำนวณ จากกำไรย้อนหลัง 4 ไตรมาส
- PE 4-10 เท่า >> น่าซื้อ
- PE 10-20 เท่า >> เฉยๆ
- PE สูงกว่า 20 เท่า >> ไม่ควรซื้อ
PE เป็นแนวคิดเบื้องต้นในการใช้ซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำๆ และขายหุ้นที่ P/E สูงๆ แต่บางกรณี หุ้นที่ P/E สูงๆ ก็ยังน่าลงทุนได้
เช่น หุ้นที่มีสภาพคล่องดี มักมี P/E สูงกว่า พวกหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ๆ และซื้อขายปริมาณมากในแต่ละวัน
1
📌 P/BV : Price to Book Value (อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี)
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
 
- P/BV < 1 แสดงว่า ราคาหุ้นนั้นถูกกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกิจการ
- P/BV > 1 แสดงว่า ราคาหุ้นนั้นแพงกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกิจการ
หุ้นที่มี P/BV ต่ำ จะดีกว่า P/BV สูง แต่ค่านี้อาจเบี่ยงเบนได้ถ้าใช้มาตรฐานบัญชีที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะที่จะใช้กับธุรกิจที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย
📌 DIV : Dividend Yield (อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล)
ใช้วัดอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หากหุ้นตัวใดมีค่านี้สูง แสดงว่ามีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง
📌 ROA : Return on Assets (อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์)
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลกำไรของกิจการเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด
** ROA ค่ายิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทสามารถให้ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมดสูง เป็นการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
📌 ROE : Return on Equity (อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น)
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลกำไรของกิจการเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น
1
** ROE ควรมีค่าสูง แต่ต้องระวัง ค่าสูงๆ ที่เกิดจากหนี้สินเยอะๆ หรือส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) ลดลงเรื่อยๆ
1
📌 D/E : Debt/Equity Radio (อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น)
แสดงถึงสัดส่วนของเงินทุนจากการกู้ยืมต่อส่วนของทุน โดยอัตราส่วนยิ่งต่ำยิ่งดี
- ถ้า < 1 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ < ทุน
- ถ้า > 1 แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ > ทุน
📌 CC : Cash Cycle (วงจรเงินสด)
วงจรเงินสด ยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะแสดงว่ากิจการมีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้เร็ว
กิจการสามารถบริหารสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดย
- ถือสินค้าให้สั้นที่สุด ( ขายให้เร็ว )
- เก็บหนี้ให้สั้นที่สุด ( เก็บเงินให้เร็ว )
- จ่ายชำระหนี้ให้นานที่สุด ( จ่ายเงินให้ช้า )
💥 ข้อควรระวัง
ไม่ควร ที่จะดูอัตราส่วนทางการเงินแค่เพียงบริษัทเดียว ควรจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมว่าบริษัทนั้นดีหรือไม่
แต่ไม่ควร เปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรม เพราะอาจทำให้เข้าใจผิดพลาดได้
ก็จบไปแล้วสำหรับการคัดแล้วก็ย่ออีกที ก็หวังว่าข้อมูลชุดนี้จะกระชับขึ้นและเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม(หน่อย) นะคะ 😁
หรือถ้าอยากอ่านในเวอร์ชั่นเต็ม ก็สามารถเข้าไปศึกษาได้จากลิ้งนี้เลยค่ะ 👇
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา