31 ส.ค. 2022 เวลา 00:30 • คริปโทเคอร์เรนซี
รู้หรือไม่การเทรดมันมีจังหวะของมันอยู่!
ทำไมอยู่ ๆ กราฟพุ่ง? ทำไมบางช่วงเทรดง่าย บางช่วงเทรดยาก 🤔
เรื่องจังหวะและเวลาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเทรด ถ้าเรารู้ว่าจังหวะไหนจะเกิดอะไรขึ้น ก็อาจช่วยให้เราวางแผนการเทรดหรือจัดแจงเวลาให้ตัวเองได้ดีขึ้นได้นะ!
วันนี้เรามาดูจังหวะและเวลาที่ส่งผลต่อการเทรดของเรากัน
🎯 เวลาเปิด-ปิดตลาดของทรัพย์สินนั้น ๆ
แต่ละทรัพย์สินก็มีการเปิด-ปิดตลาดที่ต่างกัน
🟠 คริปโทฯ - ก็แน่นอนว่าเปิด 24 ชั่วโมง แต่อย่าลืมว่าคนเราก็มีตื่นนอนเหมือนกัน พวกแก๊งตี3 ไรงี้ อีกประเทศนอนอีกประเทศตื่น คนก็เปิดกราฟมาเทรดกันตามเวลา โซนไหนคนเยอะคนน้อยก็มีผล อย่างน้อยก็พวกเจ้าที่ตื่นมาเก็บของปล่อยของ ฮ่า ๆ 😂
🟠 หุ้นไทย - เปิดเปิดระหว่าง 09:30-12:30 ช่วงบ่าย เปิดระหว่าง 14:00-17:00 อันนี้เป็นตัวเลขกลม ๆ ถ้าให้ลงลึกไปอีกก็มีเวลา Pre-Open เช้าบ่าย มีสุ่มเวลาเปิดช่วง 5 นาทีแรกอะไรงี้
🟠 ตลาดค่าเงิน/ทอง (FX) - แบ่งออกเป็น 4 โซนประเทศ โดยมีเวลาเปิด-ปิด ตามเวลาประเทศไทยดังนี้
ออสเตรเลีย (AUD) เปิดเวลา 05.00 - 13.00 น.
ญี่ปุ่น (JPY) เปิดเวลา 06.00 - 14.00 น.
ยุโรป (EUR) เปิดเวลา 14.00 - 23.00 น.
ลอนดอน (GBP) เปิดเวลา 15.00 - 23.00 น.
อเมริกา (USD) เปิดเวลา 19.00 - 03.00 น.
หากดูจากรูปอาจมองง่ายกว่า และจะเห็นได้ว่าทองจะมีช่วงเวลาที่ตลาดเปิดทับกัน นั่นทำให้ช่วงเวลานั้นมีสภาพคล่องในการเทรดสูง กราฟวิ่งทันใจ พร้อมข่าวเศรษฐกิจแต่ละโซนที่เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการสิ่งของราคาอย่างมาก
🎯 ข่าวเศรษฐกิจและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ปฏิทินเศรษฐกิจคือสิ่งที่นักลงทุนควรรู้จักและใช้ประกอบการลงทุน มีหลากหลายเว็บให้เลือกสรร เช่น https://th.investing.com/economic-calendar
ปฏิทินเศรษฐกิจจะช่วยให้เราได้วางแผนการเทรดได้ เพราะในบางข่าวหรือตัวเลขที่ออกมามันสมารถส่งผลต่อทิศทางราคาได้เป็นอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น พรุ่งนี้จะมีประกาศตัวเลข Non-Farm Payrolls ของสหรัฐฯ เวลาทุ่มครึ่ง ช่วงเวลานี่นราคาจะผันผวนสูงมาก ใครที่ชอบราคาแรง ๆ พร้อมเตรียมตัวมาแล้วก็จะเป็นโอกาสดีที่จะเข้าเทรด บางทีอาจจะทำกำไรได้เท่ากับตลอดทั้งวันที่นั่งเทรดไป ๆ มา ๆ ด้วยซ้ำ (จากประสบการณ์แอดเอง 😅)
หรือสำหรับใครที่ไม่กล้าเสี่ยง ไม่อยากวุ่นวายกับสงครามเทรดตามข่าว ก็เป็นการดีที่จะวางแผนหยุดเทรดช่วงใกล้จะประกาศข่าวนั้น ๆ ได้
*สำหรับข่าวไหนคืออะไร ส่งผลอย่างไรบ้าง ไว้แอดจะทำแยกออกมาจากบทความนี้นะ เพราะมันเยอะมาก
นอกจากข่าวตามปฏิทินเศรษฐกิจ นักลงทุนต้องติดตามข่าวสารบ้านเมืองที่เกิดขึ้นด้วย เช่นข่าวการเกิดสงคราม ภัยพิบัติ เทคโนโลยี การเมือง และอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อราคาทรัพย์สินนั้น ๆ หรือส่อแววว่าในอนาคตอันใกล้อาจเกิดอะไรขึ้น เช่น ข่าว The merge ของ Ethereum ก่อนหน้านี้ ตัวเลขดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) หรือข่าวการเปิดสงครามยูเครน-ซีเรียที่เกิดขึ้นซึ่งส่งผลต่อราคาทอง น้ำมัน เป็นต้น
🎯 ปัจจัยทางเทคนิค
หากคุณเป็นสายเทคนิค ตีกราฟ ใช้ Indicator ต่าง ๆ นา ๆ ก็น่าจะรู้จังหวะเข้า-ออกอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีแม้เครื่องมือต่าง ๆ อาจแสดงสัญญาณที่น่าสนใจแต่ก็ใช้ว่าจะแม่นยำ 100% ซึ่งยังไม่รวมถึงปัจจัยภายนอกอย่างข่าวสารและปัจจัยพื้นฐาน
คุณอาจสนใจ
📓 รวม Indicator 1-2
📓 On-Chain Data คืออะไร?
📓 Fear & Greed Index คืออะไร?
📓 เครื่องมือช่วยติดตามเหรียญ
อย่างไรก็ดีหากคุณเห็นโอกาสจากข้อมูลทางเทคนิคแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าแอดจะบอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อโดยไม่ทำอะไรเลย อย่างน้อยเราอาจเคาะไปสัก 20 - 30% (ตัวเลขสมมุติที่เยอะอยู่) เพื่อลองเชิงดูก่อนว่าสัญญาณนั้นมันจะเป็นจริงไหม แล้วค่อยใส่ตามไปถ้ามันสามารถรันเทรนด์ได้ อย่างน้อยถ้าผิดทางก็คัดออกมาตามแผน
🎯 จังหวะของชีวิต
อันนี้อาจดูเหมือนน้ำเน่านิดนึง แต่มีสาระ 🤭 คุณอาจต้องมีช่วงที่ต้องพักเทรด หรือกลับมาเทรดได้บ้างแหล่ะ เช่นตอนขาดทุนหนัก ๆ อารมณ์ร้อน เครียด และความกังวลต่าง ๆ นั้นไม่ควรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเทรด เพราะจะทำให้เสียระบบ เสียสมาธิ และทำอะไรวู่วาม ทางที่ดีควรหยุดและออกไปนั่งสมาธิ หรือพักเทรดไปเป็นเดือนเพื่อหาเงินเก็บไว้ใช้ซะ แล้วอารมณ์ดีแล้วลองกลับมาแก้ตัวใหม่
หรืออาจไม่เกี่ยวกับอารมณ์ใด ๆ เลย แต่เป็นเรื่อง “ความสะดวก” หากคุณรู้สึกว่าการเทรดบนคอมพิวเตอร์ ใหญ่ ๆ อาจถนัดกว่ามือถือที่เล็ก และไม่ถนัดเลยสำหรับคุณ เวลาคุณอยู่ข้างนอกหรือเดินทางอยู่ก็ไม่ควรหยิบมือถือออกมาเคาะคำสั่งซื้อขาย ยกเว้นว่าคุถมั่นใจกับสถานการณ์ในตอนนั้นจริง ๆ
แอดรู้สึกว่าตัวเองชอบพลาดเมื่อเทรดบนมือถือ ขณะนั่งรถ เดินเล่น หรืออะไรก็ตาม เพราะปกติเวลาแอดจะเทรด แอดจะต้องเปิดจอหลาย ๆ หน้ามาก ทั้งตารางข่าว Indicator ต่าง ๆ Sentiment ของตลาด วาดแนวรับ-แนวต้าน และอื่น ๆ ซึ่งพอมันเปิดจากมือถือ แอดก็ขี้เกียจดูอะไรเยอะแยะแล้วเทรดตามที่ตาเห็น (แต่ถ้าบางคนสามารถทำได้ ก็ไม่ว่ากัน)
การที่เรารู้ว่าในแต่ละวันมีอะไรจะเกิดบ้าง อย่างปฏิทินเศรษฐกิจ ก็ช่วยให้เราวางแผนได้ล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี ถ้ามองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับราคาในตลาด หรือการติดตามข่าวสารอยู่เป็นประจำก็ช่วยให้เราพอจะทำนายอนาคตได้บ้างว่าอะไรจะเกิด การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์กราฟและหาจังหวะที่ดีก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจและยิ่งดีขึ้นไปอีกถ้าใช้ควบคู่กับปัจจัยพื้นฐาน
และสุดท้ายถ้าจังหวะชีวิตของคุณไม่เป็นใจสำหรับการเทรดก็อย่าฝืนและรอให้ตัวเองมั่นใจว่าขณะที่กำลังจะเปิดออเดอร์นั้นคุณมีสติ มั่นใจและทบทวนทุกอย่างดีแล้ว เมื่อนั้นคุณถึงจะลงมือได้ สวัสดี
โฆษณา