16 ก.ย. 2022 เวลา 13:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) คืออะไร
บางท่านอาจเคยได้ยินคำว่า NPAEs (เอ็น-เป้) มาแล้ว ซึ่งในการทำบัญชีมักจะได้ยินว่ากิจการประเภทนี้ต้องจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานบัญชี NPAEs
ซึ่งเป็นมาตรฐานบัญชีชุดเล็ก ใช้สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
แล้วกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) ละ คืออะไร และกิจการสองประเภทนี้ต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความหมายของสองอย่างนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ
📌 NPAEs (Non-Publicly Accountable Entities) หมายถึง กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐาน TFRs for NPAEs
(Thai Financial Reporting Standards for Non-Publicly Accountable Entities)
หรือ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
📌 PAEs (Publicly Accountable Entities) หมายถึง กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐาน TFRs for PAEs
(Thai Financial Reporting Standards for Publicly Accountable Entities)
หรือ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือมาตรฐานการรายงานทางเงินของไทย (TFRSs)
หากจะแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างกิจการสองประเภทนี้
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ก็อย่างเช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่พบเห็นอยู่ทั่วไป
ส่วนกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) หรือตามที่เข้าใจกันก็คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง
นอกจากนี้ PAEs ก็ยังมีส่วนสำคัญอื่นที่ต่างจาก NPAEs เช่น ส่วนประกอบของการจัดทำงบการเงิน ประเภทของงบการเงินที่ต้องนำส่ง เป็นต้น
ส่วนประกอบของงบการเงินสำหรับบริษัทจดทะเบียนฯ
ประเภทของงบการเงินสำหรับบริษัทจดทะเบียนฯ
การจำแนกกิจการว่าเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ยังมีหลักการพิจารณาได้ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs)
ซึ่งให้ความหมายของ "กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ" ว่าหมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 8 และไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้
1) กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the counter)
รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค หรือ กิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ต่อประชาชน
2) กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง
เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น
3) บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน
4) กิจการอื่นที่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะ (ต้องพิจารณากฎหมายเฉพาะด้วยว่ากำหนดให้กิจการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีใด)
ก็หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณผู้อ่านมีความเข้าใจใน PAEs และ NPAEs กันมากขึ้น และแยกความแตกต่างของกิจการทั้งสองประเภทนี้ได้แล้วนะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา