16 ก.ย. 2022 เวลา 02:30 • ศิลปะ & ออกแบบ
15 กันยายน ของทุกปี ถือได้ว่าเป็นวันของ บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยซึ่งเป็นชาวอิตาเลียนนามว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci ) หรือ ที่เรารู้จักกันว่า อ. ศิลป์ พีระศรี
ศาสตราจารย์ศิลป มีอุดมการณ์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยในยุคที่ศิลปะตะวันตกกำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย อาจารย์เล็งเห็นว่าทำอย่างไรให้คนไทยสามารถสร้างผลงานรูปแบบตะวันตกได้ด้วยตัวเอง แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรม เพื่อเพาะพันธุ์เ ช่างแห่งกรุงสยาม โรงเรียนสอนเพื่อผลิตศิลปินนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวงการศิลปะ นอกจากนี้มีส่วนช่วยในการจัดหาทุนทรัพย์และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาศิลปะชาวไทยเพื่อรักษาให้ชาติยังคงมีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นต่อไป เนื่องจากในยุคข้าวยากหมากแพงนั้นผู้ปกครองแทบทุกคนไม่สนับสนุนให้ลูกของตนเรียนศิลปะ เขาจึงได้พยายามอย่างสุดความสามารถให้ไทยสามารถมีช่างที่มีฝีมือได้ต่อไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างขอบคุณอาจารย์ที่เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสิ่งที่สวยงามอย่างศิลปะเป็นความรู้ที่ยืนยาว
ส่วนคำคุ้นเคยอย่าง Ars longa Vita brevis 'ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น' ซึ่งเป็นคำขวัญประจำมหาวิทยาลัยที่แปลจากคำภาษาละตินจาก โดยดัดแปลงมาจาก ผู้เขียนเป็นหมอชาวกรีกยุคโบราณที่ชื่อ ฮิปโปคราเตส (Hippocrates) เมื่อราว พ.ศ. 83-166 จากตำราทางการแพทย์ ‘Aphorism’ ฉบับหนึ่ง แต่คำว่า ‘aphorism’ ของคุณหมอฮิปโปฯ นั้นหมายความถึง ‘การแยกแยะ’ (คือการแยกแยะประเภทของโรคภัยไข้เจ็บ) และ ‘การนิยาม’ ‘ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น’ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยคเต็มว่า ‘ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว วิกฤติในพริบตา ประสบการณ์ในภยันตราย และการตัดสินใจที่ยากลำบาก’ ars longa, vita brevis, occasio praeceps, experimentum periculosum, iudicium difficile"
ในสมัยกลาง คำว่า 'art’ จึงมีความหมายถึง 'ความรู้' ตามอย่างชื่อวุฒิเมื่อสำเร็จการศึกษา และก็เป็นความหมายเดียวกันกับที่คุณหมอฮิปโปฯ หมายถึงไว้แต่แรกเริ่มนั่นเอง โดยหากจะกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว แต่เดิมทีเดียว ภาษิตภาษาละตินที่ว่า 'ars longa vita brevis' จึงควรที่จะแปลว่า 'ความรู้ยืนยาว ชีวิตสั้น' อะโหลึกซึ้ง จนทำให้ยิ่งเห็นคุณค่าของการใช้เวลามากขึ้นไปอีกจ๊ะ เพราะมันมีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย หยิบหนังสือข้างหัวเตียงมาปัดฝุ่นเลยจ้า
โฆษณา