4 ต.ค. 2022 เวลา 13:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Insider Trading กลยุทธ์การซื้อขายที่เป็นภัย
1
หลายคนอาจไม่ทราบว่าการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน (insider trading) เป็นธุรกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นล่ำเป็นสันในตลาดหุ้นไทย
1
แม้จะมีกรรมการและผู้บริหารบริษัทโดนปรับอยู่เนืองๆ ก็ตาม อย่างเช่น
- กรณีกลุ่มผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่เข้าซื้อหุ้นสยามแม็คโครก่อนประกาศว่าจะทำการควบรวมและโดนค่าปรับกว่า 33 ล้านบาท
- กรณีกรรมการบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ใช้ข้อมูลภายในที่ว่าบริษัทมีผลประกอบการดีเกินคาดจนโดนค่าปรับร่วม 13 ล้านบาท
- กรณีผู้บริหารบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่ใช้ข้อมูลเรื่องการจ่ายหุ้นปันผลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จนโดนค่าปรับร่วม 5 ล้านบาท
📌 ทำไมการใช้ข้อมูลภายในเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์จึงเป็นปัญหา
การที่ผู้บริหารและกรรมการบริษัทใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในมือมาทำกำไร ดูเผินๆ ก็ไม่เห็นจะมีใครเดือดร้อน
แต่ความจริงแล้วพฤติกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของบริษัทแล้ว ยังบั่นทอนความน่าดึงดูดของตลาดหลักทรัพย์ในภาพรวม และยังเป็นการเอารัดเอาเปรียบนักลงทุนคนอื่นๆ อีกด้วย
เมื่อเหล่าผู้บริหารหรือคณะกรรมการได้รับข้อมูลภายในก่อนคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัท การจ่ายปันผล การควบรวมกิจการ
หากพวกเขาเลือกที่จะใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อหากำไรเข้ากระเป๋าหรือลดผลขาดทุนในพอร์ตก่อนที่ข่าวสารจะเปิดเผยต่อสาธารณะ
การกระทำเช่นนั้นไม่ต่างจากการเอารัดเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย เพราะการส่งคำสั่งซื้อขายทุกครั้งย่อมมีคนอีกฝั่งที่เสียเปรียบ เช่น
หากผู้บริหารรู้ว่าผลประกอบการไตรมาสหน้าว่าจะเลวร้ายถึงขั้นแย่หนักมาก แล้วรีบเทขายหุ้นที่มีอยู่ในมือก่อนที่งบการเงินจะเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ก็เท่ากับเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนที่เข้ามาซื้อแบบไม่ทราบข้อมูล ซึ่งไม่ต่างจากการหลอกลวงนักลงทุนเลย และนักลงทุนเหล่านั้นก็กลายเป็นเหยื่อไปโดยไม่รู้ตัว
📌 การกำกับดูแลและบทลงโทษ
สำหรับทางเลือกซึ่งบังคับใช้ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ก็คือ การอนุญาตให้กรรมการ ผู้บริหาร รวมถึงคนในครอบครัวสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทได้ตามปกติ
แต่มีเงื่อนไขคือต้องรายงานการซื้อขายทั้งปริมาณและราคาต่อสาธารณชนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
เช่น การรายงานตามแบบ 59 ของไทยซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 3 วันเมื่อทำการซื้อขาย ทาง ก.ล.ต. จะรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลรายวันให้ประชาชนรับทราบและใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อขายหุ้นในตลาด
โดย ก.ล.ต. จะมีหน้าที่วินิจฉัยว่า การทำธุรกรรมดังกล่าวเข้าข่ายการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายในหรือไม่ หากเข้าข่ายก็จะพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง
โดยเรียกคืนทั้งค่าปรับและผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ หากผู้กระทำผิดยอมจ่ายค่าปรับก็จะถือว่าคดีสิ้นสุดทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ดูเหมือนว่า ก.ล.ต. ไทยค่อนข้างใจดีกับเหล่านายทุน เพราะบทลงโทษดังกล่าวเทียบไม่ได้เลยกับกฎหมายการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายในของสหรัฐอเมริกา
1
ที่กำหนดโทษจำคุกสูงถึง 20 ปี และมีตัวอย่างผู้บริหารและคนดังจำนวนมากที่ต้องเข้าคุกด้วยข้อหาดังกล่าว
เช่น กรณีของ ImClone Systems บริษัทวิจัยและพัฒนายา ที่ผู้บริหารทราบว่ายาตัวหนึ่งกำลังจะล้มเหลวจึงรีบเทขายหุ้นก่อนที่ข้อมูลจะเปิดเผยต่อสาธารณะ
แม้ว่าเขาจะรอดจากผลขาดทุนแต่ก็ต้องมาชดใช้ให้กับค่าปรับจำนวนมหาศาลและถูกลงโทษจำคุกถึง 7 ปี
1
การที่บริษัทได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นการกลายสภาพจากบริษัทเอกชนสู่บริษัทมหาชน ซึ่งคำว่ามหาชนนั้นหมายถึงคนจำนวนมาก
บริษัทจึงต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นและการกำกับดูแลที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อแลกกับความสามารถที่จะระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้
จึงไม่ควรทำลายความไว้วางใจจากสาธารณชนด้วยการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน เพื่อแลกกับผลกำไรเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเทียบกับความมั่งคั่งมหาศาลที่มีอยู่เป็นทุนเดิมของบริษัท
Cr. thematter
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา