9 ต.ค. 2022 เวลา 23:00 • หนังสือ
ภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา) ต้องรู้
ตอนที่ 3 วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการคำนวณภาษี ผมอยากอธิบายให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า " เงินได้ " คืออะไร
เงินได้ก็คือรายรับที่เราได้รับมา ทำให้เงินในกระเป๋าเราเพิ่มขึ้น ได้แก่
-เงินเดือน (1)
-ค่าจ้าง (2)
-ค่าลิขสิทธิ์ (3)
-ดอกเบี้ย เงินปันผล และ Cryptocurrency (4)
-ค่าเช่า (5)
-ค่าวิชาชีพอิสระ (6)
-ค่ารับเหมา (7)
-เงินได้อื่นๆ (8)
(เดี๋ยวจะขอลงลึกเงินได้ทั้ง 8 ประเภทในตอนถัดๆไปนะครับ ตอนนี้ขอสรุปคร่าว ๆ ก่อน)
ดังนั้น เมื่อทุกคนเข้าใจคำว่า " เงินได้ " แบบคร่าว ๆ แล้ว เรามาทำความรู้จักกับวิธีคำนวณภาษีกันดีกว่าครับ
โดยวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีก็คือ
1.) วิธี "เงินได้พึงประเมิน"
ใช้ในการคำนวณภาษีในกรณีที่มีรายได้ประเภทที่ 2-8 รวมกันเกิน 1,000,000 บาท เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับวิธีเงินได้สุทธิและต้องเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้เยอะกว่าครับ
2.) วิธี "เงินได้สุทธิ"
วิธีนี้จะเป็นการนำ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี ซึ่งเงินได้สุทธิก็คือ รายได้รวมของเราหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว ส่วนอัตราภาษีก็จะเป็นไปตามรูปแบบที่รัฐกำหนดนั่นเองครับ
วันนี้ผมจะขออธิบายแบบคร่าว ๆ ในภาพกว้าง ๆ ให้ทุกคนได้เห็นทิศทางของผมก่อนนะครับ และตอนต่อ ๆ ไปผมจะค่อย ๆ เจาะลึกลงไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของเงินได้และวิธีการคำนวณภาษีแต่ละวิธี
ซึ่งถ้าใครยังงงๆ กันอยู่ก็ไม่เป็นไรครับ ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปเรื่อย ๆ พอผมเจาะลึกต่อไปในตอนหน้า ทุกคนก็จะเริ่มเข้าใจมากขึ้นเองครับ
ของคุณทุก ๆ คนที่ติดตามอ่านบทความของผมนะครับ 🙏🏻😊
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : Money Literacy
คนไทยฉลาดการเงิน
ผู้เขียน : ศักดา สรรพปัญญาวงศ์
จักรพงษ์ เมษพันธุ์
ถนอม เกตุเอม
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
เว็ปไซต์ : www.itax.in.th
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
โฆษณา