14 ต.ค. 2022 เวลา 01:06 • ความคิดเห็น
• จากคำถามนี้: เป็นลักษณะคำถามปลายเปิด และเปิดกว้างมาก ๆ ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนหลาย ๆ ท่านเข้าใจคำถามนี้ดี
3
• เนื่องจากมันมีช่องว่างของคำถามอย่างนี้ ผมขอตอบว่า “กฎแรงดึงดูดเป็นวิทยาศาสตร์ 100% ไม่ใช่การเพ้อเจ้ออย่างแน่นอน” หากได้ศึกษาอย่างจริงจัง ยกตัวอย่าง
3
• แรงโน้มถ่วง คือแรงที่กระทำกันระหว่างมวล ดึงดูดวัตถุรอบข้างเข้าสู่ศูนย์กลางตัวเองและจักรวาลแห่งนี้เสมอ เช่น แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitational Force) จะดึงดูดทุกวัตถุตกลงจากที่สูงมาที่ต่ำเสมอ
3
ไอแซ็ค นิวตัน (Isaac Newton) ค้นพบแรงโน้มถ่วง
***แรงโน้มถ่วง ที่เป็นแรงดึงดูดกันระหว่างมวลนี้ แม้สายตาเรามองไม่เห็นก็ตามที แต่ก็สามารถพิสูจน์ได้จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์
2
• ผมขอโฟกัส “กฏแรงดึงดูด” ที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ผ่านสุภาษิตไทยโบราณ เพื่ออธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เพื่อจะทำความเข้าใจเท่านั้น ดังนี้:
2
1. ถ่มน้ำลายรดฟ้า = คนที่คิดร้ายหรือดูหมิ่นบุคคลที่สูงกว่า (นึกถึงจิวยี่ในสามก๊กเลย)
2
ถ่มน้ำลายรดฟ้าหรือรดหน้าตัวเองกันแน่
• จากสุภาษิตนี้ สามารถทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้ว่าจะสอดคล้องกับ “กฎแรงดึงดูด” ของโลกได้หรือไม่
3
2. แกว่งเท้าหาเสี้ยน = อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว
3
แกว่งเท้าหาเสี้ยน เสี้ยนตำโดนเท้าเจ็บมั้ยครับ
• ตัวเราสามารถเอาเท้าเปล่า ๆ ลองไปสัมผัสเสี้ยนได้ น่าจะเจ็บอยู่นะ แต่สำหรับบางคนอยู่เฉย ๆ มักจะดึงดูดเรื่องราวปวดหัวเข้ามาเสมอ
2
3. หาเหาใส่หัว = รนหาเรื่องเดือดร้อน รำคาญใจมาใส่ตนเอง
2
ปกติไม่สระผมวันเดียวยังเกาหัวยิก ๆ เลย
• เราสามารถขอเหาจากชาวบ้านมาใส่หัวตัวเองเพื่อทดลองว่ารู้สึกเป็นอย่างไร แต่บางคนมักจะดึงดูดเหามาที่หัวของตัวเอง ทำไมไม่เกิดกับทุกคน
2
4. หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น = ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว (พืชย่อมรอเวลาในการให้ดอกออกผล กรรมก็เช่นกัน)
2
• จากสุภาษิตนี้ ปลูกถั่วก็ได้ถั่ว ปลูกงาก็ได้งา เป็นพืชอย่างอื่นไม่มี ย่อมเป็นไปไม่ได้
2
5. กงเกวียนกำเกวียน = ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผมของกรรมนั้น
2
ใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น
• กรรมบางอย่างก็เห็นผลเร็ว กรรมบางอย่างก็เห็นผลช้า เหมือนพืชต่างชนิดกันย่อมใช้เวลาที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนหนีไม่พ้นอย่างแน่นอน
2
• สุภาษิต เป็นคำกล่าวแนะนำ สั่งสอน เตือนสติ ด้วยหลักความจริง เป็นควบคุมการกระทำ ทางกาย วาจา ใจ ของเรา
2
• จากข้อ 1 - 3 เป็นกรรมทางกายและวาจา เราสามารถเห็นผลได้เชิงประจักษ์ แต่ทางใจอาจจะมองไม่เห็น แต่ไม่ใช่ว่ามันจะมี ขึ้นอยู่ว่าเราอยากจะทดลองให้เห็นจริง ๆ ด้วยตัวเองหรือเปล่า
2
• ยกตัวอย่าง คนที่ฆ่าตัวตาย เค้าไม่ได้ตัดสินใจ ณ โมเมนต์นั้นทันที มันจะเกิดการคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจนฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึก (ภูเขาน้ำแข็งจมน้ำหรือภูเขาไฟรอวันปะทุ) จนมันแสดงออกมาชัดเจนทางคำพูดและการกระทำจริง ๆ
2
***เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า “ศีลเสมอกัน” “บุญเสมอกัน” “เคมีตรงกัน” “ผึ้งอยู่กับผึ้ง แมลงวันอยู่กับแมลงวัน” เหล่านี้มันคือ “กฎแรงดึงดูด” ใช่หรือไม่
2
***ความคิดควบคุมการกระทำและคำพูด คิดดี พูดดี ทำดี ย่อมดึงดูดสิ่งที่ดีงามเข้ามาในชีวิตเราเสมอ “ผมเชื่อกฎแรงดึงดูด” ตามหลักพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับเรื่องของ “กฎแห่งกรรม”
3
โฆษณา