24 ต.ค. 2022 เวลา 07:33 • ประวัติศาสตร์
• เจอคำถามที่ว่า หีนยาน / มหายาน / เถรวาท / มหานิกาย / ธรรมยุติ นั้นแตกต่างกันอย่างไร? ผมจึงไปค้นคว้าข้อมูลและนำมาแชร์กันครับ
3
• ผมขอเล่าให้เห็นภาพรวมชัดเจนในเวลาอันสั้น ซึ่งท่านใดสนใจอยากทราบในประเด็นไหนเพิ่มเติม ผมยินดีตอบให้ได้ทุกคำถาม
3
• ตราบเท่าที่สังฆาจารณ์และนักวิชาการทางพุทธศาสนาได้เคยค้นพบและบันทึกไว้เท่านั้น ผมขอแบ่งการอธิบายไว้ 2 ส่วนดังนี้
3
(i) นิกายหลักของพุทธศาสนาในโลกปัจจุบันแบ่งเป็น 4 นิกายด้วยกันคือ
6
• หีนยาน (Hīnayāna) เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลตรงตัวว่า "ยานลำเล็ก" (แปลตามรูปศัพท์ ตามข้อเท็จจริง มิได้เป็นการเหยียดหรือด้อยค่าใด ๆ หรือ อาจจะถูกมองว่าเป็นคําที่มหายานใช้ดูแคลนนิกายเถรวาท)
3
หีนยานปรากฎขึ้นพร้อม ๆ กับการเกิดของมหายาน
• นักวิชาการตะวันตกใช้คำว่าหีนยานเพื่อเรียก "ระบบคำสอนที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาพุทธ" เรียกกลุ่มพระภิกษุที่มีอุดมคติและแนวคิดที่มุ่งทำตัวเองให้หลุดพ้นก่อนแล้วจึงช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ตาม
3
อ้างอิง (1): Rinpoche, Kalu (1995), Profound Buddhism From Hinayana To Vajrayana, Clearpoint Press, p. 15.
3
• มหายาน (Mahāyāna) เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลตรงตัวว่า "ยานลำใหญ่" เกิดจากภิกษุกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าการบรรลุธรรมไม่ใช่เพียงแค่การได้เป็นพระอรหันต์เท่านั้น ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด
3
พระสงฆ์นิกายมหายานท่านจะนุ่งจีวรลักษณะนี้พบเห็นได้ในประเทศทางภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น จีน 🇨🇳 ญี่ปุ่น 🇯🇵 เกาหลีใต้ 🇰🇷 เวียดนาม 🇻🇳 และอื่น ๆ
• แต่มีเป้าหมายที่สูงกว่านั้นคือ การเป็นพระโพธิสัตว์ และปรารถนาพุทธภาวะเพื่อช่วยขนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นได้คราวละมาก ๆ โดยไม่ต้องรอให้ตนเองพ้นทุกข์ก่อน
3
• ได้มีการค้นพบบันทึกเรื่องราวของมหายานไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 แต่สามารถย้อนเหตุการณ์ไปได้ถึงการสังคายนาครั้งที่ 2 หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 100 ปี
3
อ้างอิง (2): พระไตรปิฎก เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 2 จุลวรรค ภาค 2 ปัญจสติกขันธกะ (สาระสำคัญบางส่วนเรื่องพระมหากัสสปเถระ สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ.
3
***ข้อสังเกต: ทางวิชาการอาจอนุโลมใช้คำว่า “เถรวาท” และ “หินยาน” แทนกันในบริบทที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบันเท่านั้น
3
- แต่หากยึดติดกับแนวคิดที่ว่าด้วย “เถรวาทกับหินยานเหมือนกัน” และถูกนำมาใช้กับเหตุการณ์ในอดีตอาจทำให้ความเข้าใจความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์พุทธศาสนาผิดเพี้ยนไปได้
3
• วัชรยาน (พุทธทิเบต: ปัจจุบันแยกออกมาจากนิกายมหายาน โดยหลักการคล้ายกันแต่ลักษณะเด่นคือ การเข้าถึงพุทธภาวะโดยฉับพลัน; และมีพิธีกรรมเฉพาะตัวระหว่างอาจารย์กับศิษย์
3
สังเกต: ท่านดาไลลามะ และเหล่าคณะสงฆ์ฝ่ายพุทธวัชรยาน จีวรท่านจะเป็นสีและลักษณะนี้
• นวยาน (พุทธนิกายใหม่ที่ยึดถือเพียงหลักศีลธรรมและจริยธรรมทางศาสนาพุทธเท่านั้น ตัดอิทธิปาฏิหาริย์ นรก-สวรรค์ และเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ก่อตั้งโดย Bhimrao Ramji Ambedkar หรือ ดร. อัมเบดการ์ ที่รู้จักกันทั่วไปนั่นเอง
Bhimrao Ramji Ambedkar หรือ ดร. อัมเบดการ์
(ii) นิกายหลักและนิกายย่อยของพุทธศาสนาในประเทศไทยปัจจุบันมีด้วยกันดังนี้คือ
3
• เถรวาท (เป็นนิกายหลัก) แปลว่า "คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ" ยึดตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำและเนื้อความที่ได้ทำการสังคายนาครั้งแรกไว้อย่างเคร่งครัดและรักษาภาษาดั้งเดิมคือภาษาปาลี (Pali) ไว้
3
พระภิกษุและสามเณรเถรวาท: ประเทศศรีลังกา 🇱🇰 ไทย 🇹🇭 เมียนมาร์ 🇲🇲 ลาว 🇱🇦 และกัมพูชา 🇰🇭
อ้างอิง (3): พระไตรปิฎก เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 7 จุลวรรค ภาค 2 ปัญจสติกขันธกะ (สาระสำคัญบางส่วนจากเรื่องพระมหากัสสปเถระ สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ.
4
เพิ่มเติม (1): เถรวาทกับหินยานต่างกันอย่างไร
3
• คำตอบที่ถูกต้องและชัดเจน คือ เถรวาทเป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน หรืออาจตอบให้สั้นกระชับด้วยภาษาคณิตศาสตร์ว่า “เถรวาทเป็น subset ของหินยาน”
3
• มีการเสนอให้ใช้คําว่า “เถรวาท” แทนคําว่า “หินยาน” เมื่อใช้กล่าวถึงพระพุทธศาสนาที่อยู่ในศรีลังกา ไทย พม่า กัมพูชา ลาว ฯลฯ
4
• ปัจจุบัน มีการใช้คําว่า “เถรวาท” เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มีการใช้คําว่า “หินยาน” ลดน้อยลงไป ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการเลือกใช้คําในบทความวิชาการต่าง ๆ
3
• ยกตัวอย่าง: JSTOR ซึ่งเป็นเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัลขนาดใหญ่ที่รวบรวมบทความทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยารวมถึงศาสนศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538
3
JSTOR (Journal Storage) is a digital library founded in 1995 in New York City.
อ้างอิง (4): บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์. เถรวาทกับหินยานต่างกันอย่างไร. บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนาธรรมธารา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2558): (ฉบับรวมที่ 1) มกราคม-ธันวาคม. หน้า 55 – 96.
3
เพิ่มเติม (2) : การเรียกชื่อนิกายเถรวาท หีนยาน และ มหายาน แบ่งเป็น 3 ยุคด้วยกันคือ : (**ในการเขียนบทความจะต้องคำนึงถึง Timeline ให้ดีว่าเราเขียนอยู่ช่วงไหนของประวัติศาสตร์ จะได้เรียกชื่อได้ถูกต้อง ไม่สับสนครับ)
3
การชื่อนิกายหลักแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ด้วยกัน
(i) เถรวาท–มหาสังฆิกะ: ใช้กับบริบทในอดีตเมื่อมีการแบ่งนิกายครั้งในสมัยอินเดียโบราณ (ขณะนั้นยังไม่มีมหายาน และก่อนสังคายนาครั้งที่ 2)
3
(ii) หินยาน–มหายาน: ใช้กับบริบทหลังจากฝ่ายมหายานเกิดขึ้นแล้ว (หลังสังคายนาครั้งที่ 2 หรือ หลังช่วงพุทธศตวรรษที่ 2-5 เป็นต้นมา)
3
(iii) เถรวาท–มหายาน ใช้กับบริบทในปัจจุบันที่ฝ่ายหินยานที่เหลือเพียงแต่นิกายเถรวาทเท่านั้น
3
• มหานิกาย (นิกายย่อยของนิกายเถรวาท) ซึ่งเป็นคณะของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยสายเถรวาท - ลัทธิลังกาวงศ์ เป็นฝ่ายคันถธุระ
3
จีวรของพระสงฆ์มหานิกายส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองส้ม
***นั่นหมายความว่า คณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น (รัชกาลที่ 4) ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ (นิกายหลักคือเถรวาท: วัดทุกวัดทั้งหมดเป็นมหานิกาย–นิกายย่อย)
3
***ปัจจุบัน พระสงฆ์มหานิกายส่วนใหญ่ เป็นพระที่อาศัยอยู่ในวัดราษฎร์ ซึ่งเป็นวัดที่ประชาชนได้สร้างกันเอง
3
ข้อควรระวัง: มหานิกาย ไม่ใช่ มหายาน
3
อ้างอิง (5): ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. เที่ยวเมืองพม่า-เรื่องพระสงฆ์ลังกาวงศ์มาเมืองไทยจากเมืองพุกาม พิมพ์ครั้งที่ -. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2545.
3
• ธรรมยุติ (นิกายย่อยของนิกายเถรวาท) ในหลวงรัชกาลที่ 4 ทรงรับเอาวินัยวงศ์ คือ ธรรมเนียมประพฤติปฏิบัติทางพระวินัย แบบรามัญมาเป็นข้อปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ จ.ศ. 1187 ตรงกับ พ.ศ. 2368
3
จีวรพระสงฆ์ในธรรมยุตินิกายเป็นสีกรัก
รูปภาพจาก https://kaijeaw.com
• ปีที่ 2 แห่งการผนวชของในหลวงรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขการประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยของพระองค์ ยังผลให้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามจนเกิดเป็นพระสงฆ์คณะหนึ่งในเวลาต่อมา
3
• พระธรรมยุตส่วนใหญ่ คือ พระที่อาศัยอยู่ในวัดหลวงหรือพระอารามหลวง; พระป่าที่มุ่งเน้นอรัญวาสี ภาวนาจิตภาวนาธรรม นับตั้งแต่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี เป็นต้น
3
***วัดหลวงหรือพระอารามหลวง จะเป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างขึ้น หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับเข้ามาในบัญชีเป็นพระอารามหลวง
3
อ้างอิง (6): ประวัติศาสตร์กำเนิด ธรรมยุติกนิกาย พุทธศาสนาแนวสัจนิยม สมัย ร. 4 นำมาสู่อะไรบ้าง จากเว็บไซต์: www.silpa-mag.com/history/article_11064
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา