1 พ.ย. 2022 เวลา 08:42 • ประวัติศาสตร์
• พระนาม “พระอมิตาภพุทธเจ้า” ที่เก่าแก่ที่สุด เท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน
1
• หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏพระนามของ "พระอมิตาภพุทธเจ้า" ในฝ่ายมหายานที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน
1
• เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2520 พบจารึกจากการขุดค้นที่ โควินท์นคร (Govindnagar) ในเขตชานเมืองทางตะวันตกของเมืองมถุรา (Mathira) รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) อินเดีย (India) 🇮🇳
1
• เป็นจารึกที่ฐานพระพุทธรูป ซึ่งองค์พระพุทธรูปได้เสียหายไป ปรากฎวันเดือนปีที่ระบุในจารึก คือ
1
ฐานพระปฏิมา พระอมิตาภพุทธเจ้า พร้อมคำอุทิศของนาครักษิต
* วันที่ 26 เดือนที่ 2 แห่งฤดูฝน ปีรัชศกพระเจ้าหุวิษกะที่ 26 (มหาราชสฺย หุเวษฺกสฺย สํ ๒๖ ว ๒ ทิ ๒๖ ) หรือ
2
* บางท่านว่าเป็นการนับต่อศักราชพระเจ้ากนิษกะ ตกราวปี ค.ศ. 152-153 ซึ่งเป็นต้นรัชกาลพระเจ้าหุวิษกะ บางแห่งว่านับใหม่ ก็เป็นปี ค.ศ. 180 ปลายรัชกาลพระเจ้าหุวิษกะ
1
* จารึกด้วยอักษรพราหมี แบบราชวงศ์กุษาณะ มีนักวิชาการอ่านจารึกแล้ว อ่านได้ต่างกันอยู่ในบางคำ อย่างน้อย 4 แบบ แต่ปรากฎคำสำคัญในจารึกที่เหมือนกันว่า
1
คำว่า พุทฺธสฺย อมิตาภสฺย อักษรพราหมี แบบราชวงศ์กุษาณะ
ภควโต พุทฺธสฺย อมิตาภสฺย ปฺรติมา
1
• ตามการถอดความของ Schopen: 1987 จารึกเนื้อหาเป็นคำถวายอุทิศพระปฏิมา พระอมิตาภพุทธเจ้า ของผู้มีนามว่า "นาครักษิต"
1
• ซึ่งอาจจะเป็นพ่อค้าหัวหน้ากองคาราวาน โดย นาครักษิต อ้างสายสาแหรกตระกูลว่า เขามีปู่ชื่อ สัตจกะ ซึ่งเป็น หัวหน้ากองคาราวาน มีตาชื่อ เศรษฐีพลกัตตะ มีบิดาชื่อ พุทธปาละ
1
• ในตอนท้าย กล่าวคำอธิษฐานว่า อย่างคติในมหายานว่า ขอบูชาปวงพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ด้วยกุศลมูลที่ได้ทำ
1
• ขอบรรดาปวงสัตว์ทั้งหลาย จงบรรลุอนุตรพุทธชญาน (อย่างเดียวกันกับ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือญาณอันยิ่งสำหรับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
1
• หมายเหตุ : พระเจ้าหุวิษกะ (มหาราช เทวปุตฺร หุวิษฺก) ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้ากนิษกะมหาราช และสืบสันตติวงศ์จากพระบิดา เป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกุษาณะ เมื่อประมาณช่วง ปี ค.ศ. 150
1
รูปสลักหิน พระเจ้าหุวิษกะทรงถวายทานแด่พระโพธิสัตว์
• ปรากฎหลักฐานว่าพระเจ้ากนิษกะนั้นทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนาทั้งสองฝ่าย คือมหายานและสาวกยาน
1
รูปสลักหิน พระเจ้าหุวิษกะทรงถวายทานแด่พระโพธิสัตว์
- แต่ในกรณี พระเจ้าหุวิษกะ แม้จะดำเนินนโยบายเหมือนอย่างพระบิดา แต่ดูเหมือนทรงมีศรัทธาปสาทะและอุปถัมภ์ในมหายานมากกว่าสาวกยาน
1
เครดิต: Vitarka-วิตรรกะ นำมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
1
อ้างอิง:
1
(i) Marks of Empire: Extracting a Narrative from the Corpus of Kuṣāṇa Inscriptions: Michael C Skinner
1
(ii) Buddhism and Society in the Indic North and Northwest 2nd Century BCE–3rd Century CE: Henry Albery
1
(iii) On the origins of Mahāyāna Buddhism: Shinkan Murakami
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา