20 พ.ย. 2022 เวลา 18:17
เป็นคนวิเคราะห์ไม่เก่งเลยค่ะ อายุยี่สิบแล้วยังวิเคราะห์อะไรไม่ค่อยได้เลยค่ะ ทำยังไงดีคะ ?
คำถามนี้ถูกลบ
ผมมองว่า
1) “ตั้งคำถามแล้วลงมือหาคำตอบ”
1
“Wonder is the feeling of a philosopher, and philosophy begins in wonder.”
Plato
การตั้งคำถามเป็นจุดเริ่มต้นในการออกเดินทางเพื่อแสวงหาคำตอบ และผมมองว่าการตั้งคำถามคือจุดเริ่มต้นของการเป็น “นักวิเคราะห์” ที่ดีในทุกวงการ ไม่ว่าคุณจะเป็น เชฟ, นักลงทุน, นักกีฬา ฯลฯ เช่น
- “ทำอย่างไรให้เนื้อปลาหมึกไม่เหนียวก่อนที่เราจะใช้มันทำ sushi?”
- “ทำอย่างไรถึงจะคำนวณอัตราผลตอบแทนในการลงทุนเทียบกับความเสี่ยงในการลงทุนให้ได้ค่าที่มีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุด?”
- “ทำอย่างไรถึงจะรักษาสมดุลในการฝึกซ้อมกีฬาและออกกำลังกายโดยที่ยังสามารถมีเวลาฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังจากที่ฝึกซ้อมมาอย่างหนัก?”
2) “หาคำตอบโดยการลงมือทำ”
2.1) มันมีทั้ง thinkers กับ doers ครับ แต่ thinkers นั้น อาจจะคิดอย่างเดียวโดยไม่ต้องลงมือทำ ส่วน doers นั้นทำแน่ๆขึ้นอยู่กับว่าต้องคิดเองทั้งหมดหรือมีคนคิดให้ พูดง่ายๆคือ doers สามารถสวมบท thinkers ในเวลาเดียวกันได้ด้วย
2.2) ข้อดีของการเป็น doers คือ เขาจะมีประสบการณ์จากการลงมือทำ และเขาสามารถนำข้อมูลจากประสบการณ์นั้น feedback กลับไปสู่กระบวนการคิด ณ เวลาที่เขาสวมบท thinkers ได้ด้วย ซึ่งถ้าข้อมูลถูก updated เขาสามารถคิดได้ดีขึ้น นั่นคือ เขาจะเป็น better thinkers ต่อไปครับ
ครับ ช่วงที่ “ราคานำ้มัน” อยู่ในช่วงขาขึ้น ผมเองเป็นชาวบ้านคนหนึ่งที่ไม่รู้ข้อมูลเรื่อง “ที่มาของต้นทุนราคาน้ำมัน” ที่ขายภายในประเทศเลย
ผมจึง “ลงมือ” ค้นคว้าหาคำตอบถึงเหตุผลที่ราคาน้ำมันในบ้านเรามีความแตกต่างและแนวโน้มการผันแปรของราคาขายปลีกนำ้มันเชื้อเพลิงโดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ
จนผมสามารถเขียนเป็น post นี้ขึ้นมาได้ทั้งๆที่ผมเองไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านนี้เลยแม้แต่น้อย
3) “แสวงหาข้อมูลและเรียนรู้วิธีคิด”
3.1) “สุ, จิ, ปุ, ลิ”
สูตรในทางพระพุทธศาสนาที่สอนให้คนเป็นนักแสวงหาข้อมูลเพื่อให้เกิด “ปัญญา”
3.2) “เมื่อคิดเป็นย่อมเป็นนักคิดนักวิเคราะห์”
มีคำกล่าวที่ว่า
”We cannot solve our problems with the same thinking we used when we created them.”
Albert Einstein,
อันนี้เป็นเรื่องจริงที่พึ่งเกิดขึ้นกับผมเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
คือผมกำลังหา “case” ให้กับ iPhone SE 1st generation ของที่บ้าน
ผมค้นแล้วค้นอีกบนเน็ตตาม online shopping platforms ต่างๆ และเกือบจะสั่งซื้อผิดเข้าให้ เพราะตอนนั้นผมลืมไปว่า iPhone SE รุ่นหลังๆก็มีผลิตออกมา และผมเข้าใจว่า “ขนาด” ของ gen หลังๆจะใหญ่กว่า 1st gen ของที่บ้าน จึงทำให้การค้นหาเพื่อสั่งซื้อเป็นไปอย่างยากลำบากและใช้เวลานาน.....มาาาาาากๆๆๆๆๆ.....!!!
จนกระทั่งผมมาค้นพบความจริงที่ว่า “ขนาด” ของ SE 1st gen นั้น เท่ากันกับขนาดของ iPhone 5/5S !!!
ดังนั้นแทนที่จะค้นหา SE 1st gen ผมก็ค้นหา case สำหรับ 5/5S แทน !!! จนผมทำการสั่งซื้อได้ในที่สุดอย่างรวดเร็วโดยอัศจรรย์!
บทเรียนนี้สอนผมได้อย่างดีสำหรับคำกล่าวของท่าน Einstein ข้างต้น!
3.3) หลักการเรื่อง “วิธีคิด” ที่ผมเคยได้ยินมาแบบกว้างๆจะมีสองแนวทาง คือ
3.3.1) การวิเคราะห์ (Analysis)
คือการ “แยกแยะ” สิ่งใหญ่ๆ แล้วมองเข้าไปหา สิ่งเล็กๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งใหญ่ๆนั้น เช่น เมื่อคุณพยายามหาคำตอบว่า
“smartphone ที่เราถืออยู่ในมือตอนนี้นั้น มันประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้าง?”
3.3.2) การสังเคราะห์ (Synthesis)
คือการ “รวบรวม” สิ่งเล็กๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นสิ่งที่ใหญ่ขึ้น
เช่น คุณมี Lego ชิ้นเล็กๆจำนวนหนึ่ง แล้วคุณก็ถามตัวเองว่า
“เราจะนำชิ้นส่วน Lego เหล่านี้ มาต่อเข้าด้วยกันให้เป็นงานศิลปะแบบไหนได้บ้าง?”
4) “ถอดบทเรียนจากความผิดพลาด”
โฆษณา