24 พ.ย. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“อุตสาหกรรมข้าวกัมพูชา” ทำอย่างไรให้เป็นข้าวดีที่สุดในโลก?
เมื่อไม่นานมานี้ เราคงได้ทราบข่าวกันแล้วว่า ข้าวหอมมะลิ ผกาลำดวน ของกัมพูชา ได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลกเป็นครั้งที่ 5
2
ซึ่งในรอบการตัดสิน มีเพียงแค่ไทยกับกัมพูชาเท่านั้น ที่มาแข่งขันกัน
โดยครั้งนี้ข้าวผกาลำดวนคว้าแชมป์ไปด้วยเรื่องของกลิ่นหลังการหุงที่ยังคงความหอมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเกษตรกรได้รับการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวผกาลำดวนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 1999 หลังจากที่ได้มีการพัฒนาและทดลองมาร่วม 10 ปี
2
แล้วกัมพูชามีวิธีพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตข้าวของตนเองอย่างไร ให้ขึ้นมาครองแชมป์อยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ ?
1
ย้อนกลับไปในช่วงยุค 1970s กัมพูชาสามารถผลิตข้าวได้มากถึง 3.8 ล้านตัน
แต่แล้วก็ต้องเผชิญกับการปฏิวัติเขมรแดง ที่ต้องการเปลี่ยนผู้คนในประเทศให้มีแต่ชนชั้นกรรมาชีพ โดยเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจเป็นแบบสังคมนิยมพึ่งพาตนเอง และเกณฑ์ประชาชนออกจากเมืองหลวง เพื่อไปทำการเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ
แต่การปฏิรูปในครั้งนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจในระบบอย่างแท้จริง และยังทำให้ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
การผลิตข้าวในสมัยนั้นก็แทบจะล้มเหลวไปเกือบหมด
และผลผลิตข้าวส่วนเกินก็ถูกนำไปสำรองไว้ให้กับทางกองทัพ
ภายหลังเหตุการณ์นั้น กัมพูชาก็เริ่มฟื้นฟูประเทศ
โดยทางรัฐบาลได้เข้ามาฟื้นฟูภาคเกษตรกรรม และเริ่มนำการเกษตรเข้ามาในระบบตลาด โดยในช่วงปี 1990s เกษตรกรรมก็ได้เป็นสัดส่วนสำคัญในเศรษฐกิจของกัมพูชา คิดเป็นราว ๆ 45-50% ของ GDP ทั้งประเทศ โดยข้าวคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในภาคเกษตรกรรม
1
ปัจจุบัน (อ้างอิงจาก The Asian Development Bank) การปลูกข้าวคิดเป็นประมาณ 70% ของพื้นที่เกษตรกรรมและคิดเป็น 50% ของผลผลิตการเกษตรทั้งหมด โดยการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และมีการส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ยุโรป และมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10%
ต่อมารัฐบาลกัมพูชาได้ตระหนักถึงศักยภาพการส่งออกข้าว
จึงได้ออกกฎหมายนโยบายส่งเสริมการผลิตข้าวเปลือกและการส่งออกข้าว
เพื่อส่งเสริมและนำข้าวกัมพูชาออกสู่ตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม ประเทศก็ยังเจอความท้าทายจากการขาดแคลนข้าวในบางจังหวัด
ถึงแม้ในภาพรวมจะมีผลผลิตข้าวส่วนเกินก็ตาม
ซึ่งปัญหานี้ ก็เป็นประเด็นที่ภาครัฐต้องจัดการ
นอกจากนี้ ราคาข้าวยังคงผันผวนอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากความไม่สมดุลกันระหว่างอุปสงค์และอุปทานและยังถูกกดดันจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย และ เวียดนาม ที่มีความสม่ำเสมอในคุณภาพของข้าวและการบริหารจัดการที่ดีกว่า รวมไปถึงกัมพูชายังขาดโครงสร้างพื้นฐานหลังการเก็บเกี่ยวและเทคโนโลยีการผลิต
1
อีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญก็คือ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นภัยคุกคามต่อการทำนาอีกด้วย
โดยกัมพูชามีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายมากขึ้นจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง เช่น น้ำท่วมหรือ ภัยแล้ง ซึ่งผลักดันให้เกษตรกรต้องมองหาวิธีการปลูกพืชแบบอื่น
📌 การปรับโฉมอุตสาหกรรมข้าวกัมพูชา
ในปี 2013 รัฐบาลกัมพูชาได้กู้เงินมูลค่า 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก The Asian Development Bank
และอีก 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก Global Agriculture and Food Security Program
เพื่อโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวในประเทศ
โดยโครงการนี้สนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำมาซึ่งการค้าข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการปฏิรูปนโยบายที่ช่วยด้านการกระจายการผลิตและเมล็ดพันธุ์ไปสู่ท้องถิ่นดีขึ้น
การจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมการค้าภายในประเทศและการส่งออกข้าวซึ่งจะทำให้การเกษตรภายในประเทศมีความเข้มแข็ง
โครงการยังสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดหลักที่ผลิตข้าว ได้แก่ พระตะบอง กำปงธม และ ไพรแวง
1
ซึ่งโครงการนี้ยังรวมถึงการฟื้นฟูระบบชลประทานที่ป้องกันสภาพอากาศ
การก่อสร้างโรงตากและโรงเก็บข้าวเปลือก และการก่อสร้างโรงแปรรูปและโรงเก็บเมล็ดพืช
2
โดยการลงทุนในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงการแปรรูปและการเก็บรักษาข้าวภายในประเทศ เพิ่มคุณภาพและความสม่ำเสมอของข้าวเพื่อการส่งออก ส่งเสริมสร้างศักยภาพของโรงสีและผู้ประกอบการ และการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินเชื่อของเกษตรกร ผู้ค้า และโรงสี
1
และยังมีโครงการจัดเขตการใช้ที่ดิน ปรับปรุงระบบนิเวศของข้าว การจำแนกดิน และแผนที่การใช้ที่ดินเพื่อระบุพื้นที่ปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และรวมการวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตรเข้ากับแผนการใช้ที่ดิน เพื่อให้ใช้ที่ดินได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด
3
📌 การเตรียมพร้อมเพื่อการส่งออก
โครงการดังกล่าวคาดว่าจะสำเร็จลุล่วงในปี 2023 โดยบางส่วนของโครงการก็ประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
การผลิตข้าวในกัมพูชาเพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านตันในปี 2012 เป็น 10.9 ล้านตันในปี 2020
โดยในจังหวัดที่ปลูกข้าวเป็นหลัก จะผลิตข้าวหอมมะลิให้ได้ 2,493 ตันต่อปี
อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 ได้มีการระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อไปยังโลจิสติกและซัปพลายเชน ซึ่งส่งผลต่อไปยังการผลิตที่ลดลงและเพิ่มต้นทุนการผลิต ทำให้สถานะทางการเงินของเกษตรกรอ่อนแอ
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ได้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของโควิด 19 และเพิ่มการจ้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
1
นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นปี 2022 The Global Agriculture and Food Security Programยังได้จัดสรรเงินอีก 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและฟื้นฟูภาคการเกษตรจากการระบาดของโควิด 19 ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ด้วยการอุดหนุน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนผลิตลดลง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมไปถึงพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลาย ก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้อุตสาหกรรมข้าวของกัมพูชาก้าวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกได้
1
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา