Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
blue bangkok
•
ติดตาม
7 ธ.ค. 2022 เวลา 07:28 • ประวัติศาสตร์
อาคารมาร์ตินเดอตูร์ หรือ ตึกแดงโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ผลงานสร้างสรรค์และออกแบบของที่ระลึก
ระหว่างสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียลและ Blue Bangkok
ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
วัดคอนเซ็ปชัญ หรืออัสสัมชัญ กับ สังฆราช ปาลเลกัวซ์(Bishop Pallegoix) ที่คณะสง์มิชชันนารีต่างประเทศแห่งกรุงปารีส แต่งตั้งเป็นประมุขแห่งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในสยามขณะนั้น(ช่วงรัชกาลที่ 3) โดยกลุ่มคณะทั้งมิชชันนารีและกองเรือการค้าของฝรั่งเศส ได้ใช้การเผยแผ่ศาสนา และการค้าภายใต้ร่มธงของกองเรือรบ ที่มีความเข้มแข็ง ควบคุมทั้งคาบสมุทรอินโดจีน อันเป็นแหล่งเครื่องเทศสำคัญ
อุษาคเนย์ ได้มีหลักฐานแสดงการทำการค้ามาแต่ยุคโบราณ เริ่มจากนักเดินเรือเลียบชายฝั่ง ลัดเลาะไปตามไหล่ทวีป จนถึงเรือเดินสมุทรน้ำลึก จากอาณาจักรยุคโรมัน กระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับช่วงเวลาหลังการจัดการศึกษาตามแบบแผนใหม่ของตะวันตก มีการจัดตั้งโรงเรียนหลายแห่งขึ้น หนึ่งในนั้นมีโรงเรียนอัสสัมชัญ(พ.ศ.2428) ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะสงฆ์มิชชันนารีฝรั่งเศสรวมอยู่ด้วย
โรงเรียนอัสสัมชัญได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านบุคคลากรไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น จากในปีแรก 33 คน เพิ่มเป็น 130 คนในปีถัดมาและเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ.2443 บาทหลวงกอลมเบต์(Pele Emile Colombet) ผู้ก่อตั้งทั้งบริหารกิจการโรงเรียนอัสสัมชัญ และศาสนกิจของคณะสงฆ์ จึงใช้ช่วงเวลเดินทางกลับไปพักผ่อนที่ประเทศฝรั่งเศส ติดต่อขอบุคคลากรมาช่วยทำการสอน จากคระภรดาเซนต์คาเบรียล
คระภรดาเซนต์คาเบรียล ทั้งหมดรวม 9 รูป(ชุดแรกมี 5 รูป จากนั้นอีก 2-3 เดือนเดินทางมาสมทบอีก 4 รูป) ได้เดินทางมาดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญตามคำเชิญของบาทหลวงกอลมเบต์ โดยมีภรดามาร์ติน เดอ ตูรส์(ฺBro. Martin de Tours) อาวุโสสูงสุดในบรรดาคณะสงฆ์ชุดแรก (อายุ 38 ปี) ดำรงตำแหน่งอธิการบดีโรงเรียนอัสสัมชัญ แทนบาทหลวงกอลมเบต์ ผู้ก่อตั้ง
ภรดามาร์ติน เดอ ตูรส์(พ.ศ.2406-2476) และคณะที่ปรึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญมีความคิดจะเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ขึ้น อีกทั้งมีข้อเสนอจากบาทหลวงบรัววาต์(เจ้าอาวาสวัดเซนต์ฟรังซัวซาเวียร์) ติดต่อให้เปิดโรงเรียนในที่ดินของวัดได้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซังโรมันคาทอลิก
ส่วนสาเหตุที่ต้องใช้ชื่อโรงเรียนเซนต์คาเบรียล แทนที่จะใช้ชื่อ โรงเรียนอัสสัมชัญสามเสน
เพราะข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการช่วงนั้น(ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 กฎหมาย พ.ศ.2452 อนุญาตให้มิสซังโรมันคาทอลิกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในสยามได้ โดยพระราชทานที่ดิน 68 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา คลุมอาณาเขตชุมชนบ้านญวนแซงต์ฟรังซัวซาร์เวียร์ ที่ตั้งวัดเซนต์ฟรังซัวซาเวียร์ และชุมชนบ้านเขมรอิมมากูเลตกองเซปชัญ ที่ตั้งวัดคอนเซ็ปชัญ) ห้ามมีชื่อโรงเรียนเดียวกันซ้ำซ้อน ซึ่งภายหลังมีการยกเลิกข้อกำหนดนี้ไป ต่อมาจึงมีโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี หรือโรงเรียนหลายแห่งที่มีชื่ออัสสัมชัญนำหน้า
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2463 โดยภรดามาร์ติน เดอ ตูรส์ ได้ย้ายมาเป็นอธิการคนแรก โดยสิ่งแรกคือการสร้างอาคารเรียน แต่ด้วยภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1(พ.ศ.2461) ที่ส่งผลกระทบมายังสยาม ทำให้ขาดแคลนวัสดุก่อสร้างรวมถึงสินค้ามีราคาแพง
ภรดามาร์ติน เดอ ตูรส์ เนื่องจากมีความรู้ด้านสถาปัตยกรรม จึงเป็นผู้ออกแบบตึกเรียนรูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิค(Classic) ผังเป็นรูปตัว E ให้มีมุขยื่นสามมุข เหมือนกันทุกชั้น ทางเข้าอยู่มุขกลาง ส่วนบันไดทางขึ้นภายในอาคารอยู่ที่มุขริมทั่งสองข้าง โดยมีนายเบเกอแลง (
Mr.Be
'quein)
มุขกลางมีจั่วเรียบเกลี้ยงเลียนแบบมหาวิหารกรีก ประดับด้วยช่องลมสามบาน หลังคามุงด้วยกระเบื้องภายใต้โครงสร้างที่ทำด้วยไม้ให้เป็นทรงปั้นหยา ช่องหน้าต่างทั่วไปใหญ่และยาวจรดถึงพื้น
โครงสร้างอาคารใช้กำแพงก่ออิฐรับน้ำหนักสองข้าง วางไม้กระดานตามแนวขวางเป็นพื้นของห้องต่าง ๆ เรียงไปตามแนวความยาวอาคาร โดยมีระเบียงทางเดินไม้รอบทุกด้าน ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานรากที่ใช้ซุงเป็นเสาเข็ม มีสามชั้น แล้วเสร็จพ.ศ.2464 ชั้นล่างสุดมีพื้นที่ใช้สอยเป็นห้องเรียนเคยมี ห้องธุรการ และห้องการเงิน ชั้นสองใช้เป็นห้องเรียนทั้งหมด พื้นทำจากไม้ ส่วนชั้นสามเป็นส่วนสำหรับที่พักของภรดากับนักเรียนประจำ ด้านล่างใต้ถุนอาคารทำเป็นก้องเก็บเหล้าองุ่น
ไม้สักได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบทั้งหลัง โดยมีบริษัทบอมเบย์เบอรมา เป็นตัวแทนติดต่อและจัดส่งวัสดุต่างๆมาให้ ตามบัญชีที่มีการบันทึกไว้รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ประมาณหนึ่งแสนบาทเศษ
ด้านนอกก่ออิฐฉาบปูน ผนังเรียบเกลี้ยงมีลวดบัวขนาดเล็กเดินรอบเพื่อทำการแบ่งชั้นขางอาคาร ชั้นล่างผนังมีการแต่งแนวปูนที่ฉสบให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเลียนแบบการก่อด้วยอิฐ(Rustication)ทาสีเป็นแนวยาวสีขาว ส่วนด้านบนทาสีแดงจึงเรียก ตึกแดง
(มีความทรงจำศิษย์เก่า เล่าถึงการเรียนการแต่งกายยุคนั้นไว้หลายแบบ บางคนมันสวมกางเกงแพร บางคนเล่าว่าขึ้นไปไล่ตีค้างคาวที่ใต้หลังคา เพราะมีความโปร่ง โครงสร้างไม้) ด้านล่างมีช่องระบายอากาศเพราะสยามเป็นเขตร้อนชื้น(ในงานชิ้นนี้มีการเก็บรายละเอียดส่วนนี้)
ต่อมา พ.ศ.2542-2543 จึงมีการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอย จนปัจจุบัน จนไม่ใช้เพื่อการเรียนการสอนแต่เป็นหอประชุมและงานธุรการต่าง ๆ รวมถึงหอเกียรติยศและพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
แสดงภาพถ่ายและของที่ระลึก อาคารมาร์ติน เดอ ตูรส์
https://www.facebook.com/StGabrielAlumni/posts/pfbid0cG2Bnmu2nZren5vkqu5rGL7Dv55F1yLB65aLmERA9KjRQbuR6hi1nETjKeeaXtq1l
จากบันทึกศิษย์เก่าหมายเลขประจำตัว 518 ได้เล่าเกี่ยวกับตึกแดงว่า
"ข้าพเจ้ายังนึกสงสัยว่ารากฐานของตัวตึกอันมหึมาหลังนี้ ในสมัยนั้นเขาใช้อะไรรองรับพื้นฐานกัน มันจึงทนน้ำหนักตัวตึกหลังใหญ่ให้ตั้งอยู่ได้โดยไม่ทรุดหรือเอียง เพราะเวลานั้นกรรมวิธีแบบตอกเสาเข็มใช้ไม้ทั้งต้นหรือเสาเข็มคอนกรีตยังไม่มีใครนำมาใช้ในประเทศเรา หรือบางทีเขาอาจเอาไม้ซุงทั้งต้นมาวางเรียงซ้อนกันก็ได้ โดยเมื่อเข้าเรียนวันแรกข้าพเจ้าเห็นพวกคนงานจีนกำลังนั่งทุบอิฐมอญโรยถนนรอบตัวตึก ประตูใหญ่สมัยนั้นอยู่ตรงบันไดหลังห้องอธิการเวลานี้ และสองข้างประตูปลูกต้นก้ามปูร่มครึ้ม ทางเข้าปูอิฐนอน"
จุดเด่นของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในระยะแรก ที่จะสามารถกล่าวได้ว่าเป็นสถานศึกษานานาชาติ เนื่องจากการเป็นโรงเรียนสังกัดคริสต์ศาสนาในละแวกย่านชุมชนสามเสน ที่มีชาวต่างชาติ ได้แก่ โปรตุเกส เขมร(กันพูชา) ญวน และฝรั่งเศส ที่ส่วนมากเป็นผู้เข้ารีตหรือนับถือศาสนาคริสต์ส่งบุตรหลานเข้าเรียน ซึ่งอีกส่วนน่าจะประกอบจากความน่าเชื่อถือของระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนอัสสัมชัญ
จำนวนนักเรียนในปีแรก มีผู้มาสมัครเข้าเรียนมากถึง 141 คน ซึ่งอาคารตึกแดง(ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารมาร์ตินเดอตูรส์) ยังสร้างไม่เสร็จนั้น ได้ทำการใช้งานบ้านพักของนายเบอริล (ฺBeril House) ในซอยมิตรคามเป็นโรงเรียนและอาคารเรียนชั่วคราว ต่อมามีจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นเป็น 220 คนเมื่ออาคารเรียนใหม่สร้างเสร็จ(ตึกแดง สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ.2565) และ 332 คน(เมื่อสิ้นปีพ.ศ.2566)
การแต่งกายของนักเรียนเซนต์คาเบรียล ในสมัยแรกเริ่มได้ถูกบันทึกไว้ว่า "นักเรียนชายนุ่งกางเกงสั้นสีน้ำเงินอัญเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียน ฝรั่ง เมื่อก่อนไม่มีเครื่องแบบ เราแต่งกายกันตามสบายเท่าที่จะหาใส่มาโรงเรียนได้ แต่อย่าให้มันมอวอเต็มทน หรือฉูดฉาดจนเกินไปก็แล้วกัน ผู้ที่เป็นเชื้อจีนก็นุ่งกางเกงจีนขาวขายาว สวมเสื้อกุยเฮงแขนสามส่วน ผู้ที่มีเชื้อสายเวียดนามก็นุ่งกางเกงขาก๊วยสีขาวหรือไม่ก็สีดำขายาวแค่น่อง สวมเสื้อกุยเฮงสีขาวแบบจีน
ส่วนนักเรียนทางวัดคอนเซปชัญก็นุ่งกางเกงจีนขายาวสีดำ และบางคราวก็สวมเสื้อสีดำมาด้วยแต่สีพื้นธรรมดาก็สีขาว นักเรียนที่เป็นไทยมุสลิมแต่งกายแบบมุสลิมคือบางวันก็นุ่งกางเกงขายาว บางทีก็นุ่งโสร่ง สวมหมวกแบบอิสลาม นักเรียนที่เป็นแขกซิกข์ก็นุ่งกางเกงขายาวเรียวลีบถึงข้อเท้าสวมเสื้อสีขาวแขนยาว ใช้ผ้าโพกศีรษะเหมือนอย่างแขกซิกข์พาหุรัด ส่วนผ้าโจงกระเบนอันเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติสมัยนั้น นักเรียนพวกเราไม่มีใครแต่งมาโรงเรียน"
ภรดามาร์ติน เดอ ตูรส์ อยู่บริหารโรงเรียนเซนต์คาเบรียลจนโรงเรียนมีความมั่นคง โดยใช้ระยะเวลา 6 ปี(พ.ศ.2463-2469) จึงกลับไปบริหารโรงเรียนอัสสัมชัญอีกครั้ง ซึ่งได้มอบหมายให้ ภรดาเฟรเดอริค ยัง เป็นอธิการท่านต่อมา นับเป็นผลดีจากการจัดตั้งโรงเรียนเซนต์คาเบรียลได้เป็นที่เรียบร้อย ทำให้คณะภรดาเซนต์คาเบรียลมีความเชื่อมั่นจากกระแสการตอบรับด้านการศึกษาที่บริหารโดยคณะสงฆ์คาทอลิกมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.2475 จึงมีการขยายโรงเรียนไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้เกิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
อาจสรุปได้ว่าการเปิดโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ซึ่งนับเป็นสาขาที่ 2 ของโรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ แทนที่การขยายโรงเรียนอัสสัมชัญให้เจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม ภายใต้การบริหารจัดการของภรดาคณะเซนต์คาเบรียล
References
Edward Van Roy, Siamese Melting Pot, Trans. Mukdawijit, Y.(Bangkok : Matichon, 2022), p. 74-103.
Hirst, J. The Shortest History of Europe, Trans. Kittikhunseri W.(Bangkok : Paragraph, 2022), p. 95-168.
Sirat, S. "ʻĀkhānmātin Dœ̄ [Martin De Tours Building]". The Association of Siamese Architects under Royal Pratonage. Accessed December 6, 2020.
https://virtualexpo.asa.or.th/content/page6_award/9
Siri, Y. "Tưkkao-rōngrīandœ̄m [Old Building-Old School]". Bangkok: Matichon. 2014, p. 218-227.
ขั้นตอนและกระบวนการออกแบบ ของที่ระลึก สรุปแบบสังเขปได้ดังนี้
1.ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม ทั้งเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารภาพถ่าย เรื่องราวจากคำบอกเล่าทั้งที่เป็นบทสัมภาษณ์หรือการสอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.สรุปข้อมูล และความต้องการ โดยมีสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล และคณะผู้บริหารโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ให้คำแนะนำและกำหนดแนวทางของที่ระลึกในด้าน รูปแบบ เนื้อหา การใช้งาน และการตกแต่งผิว เช่น สี ในขั้นตอนสุดท้าย
3.การร่างแบบ และการแก้ไขแบบ จากความต้องการของสมาคมฯ
4.การทำต้นแบบ สามมิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกระบวนการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D CAD-CAM and 3D Printing)
5.การทำสีผลงานต้นแบบ มีการเสนอผลงานต้นแบบจากการออกแบบและตรวจสอบความถูกต้อง กับทางสมาคมฯ
6.การผลิตจำนวน (Mass Production)
1.ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม ทั้งเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารภาพถ่าย เรื่องราวจากคำบอกเล่าทั้งที่เป็นบทสัมภาษณ์หรือการสอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
มีการใช้ข้อมูลจากการค้นคว้า ลงพื้นที่สำรวจ หรือใช้เอกสารเชิงลายลักษณ์อักษรหรือภาพถ่ายในอดีตแต่ละช่วงเวลา ซึ่งพบว่า บางอาคารมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในหลายครั้ง
รูปแบบอาคาร ที่นำมาออกแบบเป็นของที่ระลึก สรุปได้ดังนี้
1.รูปแบบอาคารที่ระลึกมาร์ติน เดอร์ ตูรส์
2.รูปแบบอาคารที่ระลึกแม่พระประจักษ์
3.รูปแบบอาคารที่ระลึกฟาติมาและยิมเนเซียม
4.รูปแบบอาคารที่ระลึกเดอ มงฟอร์ต
แสดงการผสมมุมมองทัศนียภาพจากภาพร่างหลายแบบ
แก้ไขรายละเอียดจากการนำข้อมูลมาปรับเป็นภาพร่างชิ้นงาน
กำหนดมิติ ลักษณะทรงพื้นฐานของงานแต่ละประเภท
2.สรุปข้อมูล และความต้องการ โดยมีสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล และคณะผู้บริหารโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ให้คำแนะนำและกำหนดแนวทางของที่ระลึกในด้าน รูปแบบ เนื้อหา การใช้งาน และการตกแต่งผิว เช่น สี ในขั้นตอนสุดท้าย
มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและกำหนดรูปแบบงานออกแบบของที่ระลึก ให้มีลักษณะการใช้งานได้ทั้ง การเป็นแม่เหล็กติดตู้เย็น และมีความหนาประมาณ 2 เซ็นติเมตร เพื่อการทรงตัว ตั้งวางได้ในการตกแต่งสถานที่ หรือใช้เป็นที่ทับกระดาษ
ทั้งนี้มีการสรุปแบบในบางอาคาร ทั้งรูปแบบและสี ให้สอดคล้องกับรูปลักษณ์ปัจจุบัน เพื่อการเข้าถึงกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เพราะแนวคิดของการใช้รูปแบบอาคารในอดีตบางอาคาร มีความสุ่มเสี่ยง และอาจเกิดการคลาดเคลื่อน รวมทั้งอาจเป็นการยากต่อการเข้าใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือคนในปัจจุบัน
การประชุมหารือและสรุปแบบ ณ สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล 17052022
3.การร่างแบบ และการแก้ไขแบบ จากความต้องการของสมาคมฯ
เป็นการกำหนดรูปแบบของที่ระลึก ที่ให้มีลักษณะและคุณสมบัติตรงตามความต้องการ เพื่อเป็นการยืนยันงานออกแบบสองมิติ ก่อนการทำต้นแบบสามมิติ
แสดงภาพร่างที่มีการคัดเลือกเพื่อปรับแก้และทำต้นแบบสามมิติ
4.การทำต้นแบบ สามมิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกระบวนการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D CAD-CAM and 3D Printing)
ใช้การขึ้นต้นแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ โดยอ้างอิงจากภาพร่างในหลายมุมมอง โดยบางมุมมองมีการลดทอนหรือเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการออกแบบ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะสร้างให้สมบูณ์ครบถ้วนตามอาคารจริง โดยทุกรายละเอียดมีผลต่อการผลิต เนื่องจากเป็นงานออกแบบของที่ระลึกที่ใช้การย่อส่วน จำลองรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ดังนั้นความละเอียดที่มากเกินความจำเป็น จะเป็นอุปสรรคในการพิมพ์ด้วยระบบเครื่องพิมพ์สามมิติ และการทำสีในพื้นที่ขนาดเล็ก มิติชิ้นงาน 5 x 7 x 2 เซ็นติเมตร
แสดงขั้นตอนการขั้นรูปบางอาคารที่ระลึก
แสดงมุม องศาของหลังคา และมิติด้านต่างๆ
แสดงรูปแบบอาคารที่ระลึก 4 รูปแบบในมุมหน้าตรง
5.การทำสีผลงานต้นแบบ มีการเสนอผลงานต้นแบบจากการออกแบบและตรวจสอบความถูกต้อง กับทางสมาคมฯ
เมื่อใช้ระบบการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ จะต้องนำมาตรวจสอบความเรียบร้อย การแตกหัก ชิ้นส่วนที่ขาดหรือเกิน เพื่อทำการตัด ขัดให้ผิวชิ้นงานมีลักษณะเหมาะสม หากขัดมากเกินไปจะทำให้รายละเอียดเสียหาย
แสดงชิ้นงานจากการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยมีรูปแบบอาคารที่ระลึก 4 แบบ
แสดงขั้นตอนเตรียมการชำระสิ่งสกปรก หลังการตรวจสอบและขัดแต่งชิ้นงานต้นแบบ
แสดงขั้นตอนการเตรียมการทำสีต้นแบบ โดยใช้ถาดเปียก และสีอะคริลิกสูตรตัวทำละลายน้ำ
แสดงขั้นตอนการลงสีรองพื้น ซึ่งเป็นสีชั้นแรก ในการทำสีผลงานต้นแบบ
แสดงการผสมสี และการลงรายละเอียด ตามภาพร่าง
แสดงการลงรายละเอียดชิ้นงานต้นแบบสี
แสดงผลงานต้นแบบที่ลงสีตามที่กำหนดไว้ รายละเอียดตำแหน่งค่าสี
6.การผลิตจำนวน (Mass Production)
เป็นขั้นตอนการนำต้นแบบผลิตภัณฑ์สามมิติที่ยืนยันจากกระบวนการการออกแบบและแก้ไขเรียบร้อยแล้ว มาทำการผลิตในระบบจำนวนมาก โดยมีหลายวิธี ซึ่งในกรณีนี้ใช้วิธีการผลิตแบบทำพิมพ์หล่อ โดยการทำพิมพ์จากต้นแบบด้วยซิลิโคน แล้วใช้วัสดุเรซิ่นเป็นวัสดุหลัก จากนั้นขัดและตกแต่งผิว เมื่อเรียบร้อยนำไปสู่กระบวนการทำสี เก็บรายละเอียดชิ้นงานซึ่งมีเทคนิคและขั้นตอนที่เหมาะสม
ประเมินกระบวนการทำงานแต่ละขั้นด้วยต้นทุน ระยะเวลา รูปแบบความยากง่าย และข้อพึงระวังจากความผิดพลาด เช่น แม่พิมพ์มีรายละเอียดบางส่วนสุ่มเสี่ยงทำให้เกิดการติดในแม่พิมพ์ เรียก under molding หรือเสี่ยงในการทำให้แม่พิมพ์ฉีกขาดเพราะลักษณะงานต้นแบบมีช่องว่างดึงรั้งตัวชิ้นงาน
แสดงขั้นตอนและกระบวนการการทำต้นแบบ ก่อนการทำการผลิตระบบจำนวน
แสดงชิ้นงานจากการผลิตระบบจำนวน รูปแบบอาคารที่ระลึกมาร์ตินเดอร์ตูรส์
แสดงชิ้นงานจากการผลิตระบบจำนวน รูปแบบอาคารที่ระลึกแม่พระประจักษ์
แสดงชิ้นงานจากการผลิตระบบจำนวน รูปแบบอาคารที่ระลึกฟาติมาและยิมเนเซียม
การออกแบบของที่ระลึก จากอาคารมาร์ติน เดอ ตูรส์ ทางสมาคมฯได้เลือกรูปแบบการใช้งานเป็นแม่เหล็ก มีความหนา 2 เซ็นติเมตร เพื่อการตั้งแสดงและติดบนวัสดุผิวโลหะ ทำให้ชิ้นต้องมีมิติไม่แบนบาง
ในส่วนที่ยากของการออกแบบในงานชิ้นนี้ คือ ชิ้นงามสามมิติที่ผสมทัศนียภาพสองมิติในมุมมองด้านข้างกึ่งมุมเงยแบบ ant eye view และมุมกดแบบ bird eye view ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถทำแบบนั้นได้ในมุมมองสายตาของมนุษย์ตามหลักทัศนียภาพ
ในหลักการทัศนียภาพรูปแบบ 3 points perspective ซึ่งใช้กระบวนการ 3D files และ 3D printing ทำงานลดความผิดพลาด ขั้นตอนสุดท้ายคือการเทียบสี จากความทรงจำให้ใกล้เคียง สีตึกแดง มากที่สุด เพื่อทำการผลิตระบบจำนวน โดยใช้ช่างทำสีที่ชำนาญ ถ่ายทอดออกมาตามงานต้นแบบทุกมิติ
แสดงผลงานการออกแบบของที่ระลึก อาคารมาร์ติน เดอ ตูรส์ หรือตึกแดง โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
facebook.com
Blue Bangkok
Blue Bangkok. 3,588 次赞 · 27 人在谈论. สินค้าที่ระลึกที่เกิดจากการจับสถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่ามาย่อส่วน
ไลฟ์สไตล์
ธุรกิจ
ประวัติศาสตร์
บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ของที่ระลึกอาคารโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย