7 ธ.ค. 2022 เวลา 08:58 • ประวัติศาสตร์
ตึกแม่พระประจักษ์
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ของที่ระลึกโดยสมาคมศิษย์เก่าฯ และ Blue Bangkok
ตำนานแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด เป็นการประจักษ์ของแม่พระ(มารีย์)ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยในปี ค.ศ.1858 เด็กหญิงแบร์นาแด็ต ซูบีรู อายุ 14 ชื่อ มาหาฟืนใกล้ถ้ำแห่งหนึ่งที่เมืองลูร์ดทางตอนใต้ของฝรั่งเศสใกล้ชายแดนประเทศสเปน ที่นั่นเธอได้พบแสงคล้ายออกมาจากสตรีนิรนาม ซึ่งยืนอยู่ตรงปากถ้ำเล็ก ๆ ทำให้นางประหลาดใจ นำกลับมาเล่าให้คนในหมู่บ้านฟัง และเมื่อแบร์นาแด็ตกลับไปที่เดิมก็ได้พบสตรีท่านนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า
รวมทั้งหมด 13 ครั้งจาก 15 ครั้ง โดยแต่ละครั้งสตรีนิรนามได้มาด้วยเจตนาต่างกันออกไป ทั้งสอนให้แบร์นาแด็ตสวดสายประคำ บอกให้สร้างโบสถ์ รวมทั้งบอกเป็นนัยว่าท่านคือ "พระมารดาพระเจ้า"
แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดได้รับการรับรองจากสันตะสำนักวาติกันว่าแม่พระได้เสด็จมาประจักษ์แก่แบร์นาแด็ตจริง (มีการรับรองจากสมณะกระทรวงหลักความเชื่อของคริสตจักรโรมันคาทอลิก 10 ครั้งในแต่ละถานที่ทั่วโลก) ด้วยเหตุนี้ เรื่องราวของแม่พระแห่งลูร์ดได้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวคาทอลิกทั่วโลกนับแต่นั้น เพื่อจำลองเหตุการณ์แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดคราวนั้น ชาวคริสตังจึงมีคติการสร้าง "ถ้ำแม่พระ" ตามวัด (โบสถ์) บ้าน รวมทั้งสถานที่ต่างๆ ทั้งถาวรและตามงานเทศกาลสำคัญของศานา
ถ้ำแม่พระจำลอง มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ถ้ำ หรือเพิงผา ที่จะประดับประดาด้วยต้นไม้หรือดอกไม้ ด้านในประดิษฐานรูปปั้นแม่พระในท่าประนมกร มีสายประคำคล้องอยู่ บางแห่งมีการทำน้ำตก หรือมีรูปนักบุญแบร์นาแด็ต ซูบีรู (ภายหลังจากเหตุการณ์ ท่านได้อุทิศชีวิตให้กับศาสนา โดยไม่หวังชื่อเสียงเกียรติยศ)ทำท่าคุกเข่าสวดภาวนา หรือมีสัตว์น้อยใหญ่เกาะอยู่ตามถ้ำ
ในประเทสไทย ตั้งแต่ชาวตะวันตก โดยเฉพาะคณะมิชชันนารี ได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาพร้อมตั้งชุมชนชาวคริสต์ในสมัยอนุธยา จนเกิดสงครามเสียกรุง แล้วโยกย้ายงมายังเมืองบางกอก มีหลักฐานและเอกสารบันทึกถึงการตั้งชุมชน ก่อนการเสียกรุงก็มีอยู่เดิมแล้ว ตั้งแต่ชาวโปรตุเกส ที่แย่งชิงอำนาจอิทธิพลกับชาวยุโรปชาติอื่น
ในที่สุด ชาวฝรั่งเศส สมารถสถาปนา ศาสนวิหารอัสสัมชัญได้ ริมฝั่งเจ้าพระยาในฝากตะวันออกแทนที่ชุมชนโปรตุเกสย่านกะฎีจีนโดยมีโบสถ์ซางตาครู้สเป็นศูนย์กลางเคียงข้างวัดพุทธ และชุมชนมุสลิม
วัดพระแม่ประจักษ์ ยังมีหลายชื่อที่มีชื่อสถานที่พ่วงท้าย เช่น แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด(กาละว่าร์) วัดแม่พระฟาร์ติมา ฯลฯ โดยในไทย ศานสถานหลายแห่งนิยมชื่อเหล่านี้ ทั้งก่อตั้งเป็นชุมชน มีโบสถ์และโรงเรียน เป็นเครือข่ายศูนย์กลางความเจริญโดยรอบ บางชุมชนมีการส่งผ่าน แลกเปลี่ยนในเชิงองค์ความรู้ในหลายด้าน เช่น อาหาร วัฒนธรรม หรือแม้แต่ชื่อ ที่ไม่เพียงใช้กับสถานที่ อาคาร ยังรวมถึงกิจการร้านค้า แม้แต่ชื่อบุคคล ก็ยังมีแสดงให้เห็น
อาคารแม่พระประจักษ์ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
มีภาพถ่าย และประสบการณ์ตามคำบอกเล่าของศิษย์เก่า
ว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง อาจระบุได้ 3 ช่วงเวลา
1.อาคารไม้เรือนยาว
2.อาคารทาด้วยสีฟ้า
3.อาคารใกล้เคียงกับรูปแบบปัจจุบัน
ในการออกแบบของที่ระลึก อาคารแม่พระประจักษ์ฯ
มีลักษณะชิ้นงานที่เป็นแบบสมมาตร เพื่อขับเน้นรูปสลักตรงกลาง
ที่มีการลดทอนรายละเอียด แต่คงไว้ซึ่งรูปลักษณ์ที่สื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์
เป็นรูปสลักคล้ายบุคคลสวมชุดมีผ้าคลุมสีขาว ด้านหลังเป็นแฉกรัศมี
ที่มีทิศทางจากบนลงล่าง ตามแบบอาคารจริงที่เป็นต้นแบบ
การทำมิติเสมือนอาคารวางตัวในลักษณะตัวอักษร L
ลดทอนรายละเอียดของบานหน้าต่างและประตู
ลงสีกระเบื้องหลังคาคล้ายอาคารต้นแบบจริง คาดว่าจำลองรูปแบบสถาปัตยกรรมกระเบื้องมุงหลังคาที่ทำจากดินเผาของยุโรป
แสดงการเปรียบเทียบภาพถ่ายอาคารต้นแบบ และของที่ระลึกอาคารแม่พระประจักษ์
แสดงของที่ระลึกอาคารแม่พระประจักษ์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
โฆษณา