7 ธ.ค. 2022 เวลา 10:30 • ประวัติศาสตร์
ตึกฟาติมาและยิมเนเซียม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ผลงานสร้างสรรค์และออกแบบของที่ระลึก ระหว่างสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียลและ Blue Bangkok
ที่มาของตำนานแม่พระประจักษ์แห่งฟาติมา
ฟาติมา(Fatima) เป็นสถานที่แห่งหนึ่งของประเทศโปรตุเกส ที่มีปรากฎการณ์ พระแม่มารีย์ได้ประจักษ์รวมทั้งหมด 6 ครั้งตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม - 13 ตุลาคม ค.ศ 1917 (ทุกวันที่ 13 ของเดือนไปจนถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกัน) ที่ตำบล ลาโควา ดา อิรีอา อยู่ห่างจากฟาติมาประมาณ 3 กิโลเมตร แก่เด็กเลี้ยงแกะ 3 คน คือ ลูเซีย ดอสซานโตส (Lucia dos Santos) อายุ 10 ปี และลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนคือ ฟรานซิสโก (Francisco) อายุ 9 ปี และจาซินตา มาร์โต (Jacinta Marto) อายุ 7 ปี
ซึ่งเด็กเหล่านี้อ้างว่าพวกเขาได้เจอหญิงนางหนึ่งซึ่งภายหลังได้เผยว่าตัวเองเป็นแม่พระแห่งลูกประคำ ในวันที่ 13 ตุลาคม ไม่นานหลังจากเหตุการณ์นั้น เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์ขึ้นตามที่แม่พระได้บอกกับเด็ก ๆ โดยมีผู้คนจำนวนมาก
(มักมีการประเมินว่ามีประมาณ 70,000 คน) เป็นประจักษ์พยานของภาวะดวงอาทิตย์ประหลาด (จากคำกล่าวอ้างของผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายเล่าเกี่ยวกับดวงอาทิตย์พุ่งเข้าหาโลก ก่อนเคลื่อนตัวกลับไปยังจุดเดิม) ทำให้บรรดาชาวคริสต์เริ่มให้ความสนใจฟาติมา
โดยสาเหตุหนึ่งที่พระแม่มารีย์ประจักษ์ครั้งนี้ อาจมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อเริ่มต้นศตวรรษที่ 19 คริสตชนได้รับอิทธิพลจากวัตถุนิยมที่ไร้ศาสนา พระแม่มารีย์ทรงประสงค์ให้คริสตชนใช้โทษบาป สวดสายประคำ มีความศรัทธาภักดีต่อดวงพระทัยนิรมลของพระนาง ให้สวดภาวนาเพื่อคนบาปกลับใจ โดยพระนางบันดาลให้เด็กเห็นสภาพของนรก ในปี ค.ศ 1917 กำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาเทวดาได้มอบบทภาวนาว่า "ข้าแต่พระเจ้าของลูก ลูกเชื่อ ขอนมัสการและหวังในพระองค์" พระนางตรัสกับพวกเขาถึงดวงพระทัยที่ปวดร้าวต่อโลกที่ทนทุกข์เพราะบาป
ตึกฟาติมาโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ.200 (พ.ศ. 2523) เป็นอาคาร 7 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนของชั้น ป.1-2 และ ป.6 ทุกห้องติดเครื่องปรับอากาศ มีสนามเทนนิส และสนามบาสเกตบอล รวมทั้งห้องคอมพิวเตอร์ระดับประถม ห้องกิจกรรมภาษาอังกฤษ ห้องพยาบาลแผนกประถมศึกษา ดาดฟ้าชั้น 7 แต่เดิมเป็นสนามเทนนิส ซึ่งปัจจุบันถูกปรับเป็นห้องกิจกรรมย่อย มีสนามเด็กเล่นอยู่ชั้น 3
ที่มาของ ยิมซียม การฝึกตนด้วยร่างกายที่เปลือยเปล่านับจากกรีก โรมัน สู่การออกกำลังกายในไทย
ยิมเนเซียม (Gymnasium) เป็นชื่อเรียกสถานที่ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยสันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณเป็นชนชาติแรก ๆ ที่สนใจและมีบทบาทสำคัญต่อการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายทุกประเภท โดยจะไม่สวมเครื่องแต่งกาย เช่น การวิ่ง การเล่นผาดโผน ไต่เชือก กายบริหาร ศิลปะการต่อสู้ เป็นต้น และเรียกกิจกรรมทุกประเภทที่ออกกาลังกายว่า ยิมนาสติก
ดั้งนั้น ยิมนาสติกในสมัยกรีก จึงเปรียบเสมือนกับการพลศึกษาในปัจจุบัน มักมีการประกวดสรีระ หรือแข่งขันกีฬากลางแจ้ง ผู้ที่ชนะก็ถูกสร้างรูปปั้นแสดงเรือนร่างไว้บริเวณยิมเนเซียม ซึ่งที่มาของคำว่า ยิมนาสติก หมายถึง ศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า
ทั้งกิจกรรมยิมนาสติกและวิทยาการศิลปะด้านดนตรีกรีก ได้เริ่มต้นและพัฒนาไปพร้อมกัน
โดยแต่แรกมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสุขภาพร่างกายของเยาวชนให้แข็งแรง ภายหลังกีฬาแต่ละประเภทจึงแยกตัวออกไปเมื่อมีวิวัฒนาการด้านกฎ ระเบียบ กติกา ของตน คงเหลือกิจกรรมยิมนาสติกที่เห็นกันในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อกรีกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวโรมัน กิจกรรมยิมนาสติกจึงถูกใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพในด้านการฝึกทหาร จนได้รับความสนใจน้อยลงเมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจ กระทั้งถึงสมัยยุคกลาง(Middle Age ) ระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ( พ.ศ. 1943-พ.ศ. 2143 )
จากความสนใจมากขึ้นของประชาชนเป็นลำดับ ทำให้ทั่วทวีปยุโรปมีการฝึกและแสดงกันอย่างแพร่หลาย จากการฟื้นฟูกิจกรรมยิมนาสติกของกรีกอีกครั้ง ยุคนี้ใช้ม้าที่ทำจากไม้ในการฝึกขึ้นและลง มีแสดงกายกรรม การเล่นผาดโผน หรือยืดหยุ่น การทรงตัว ตามสถานที่สาธารณะ กิจกรรมยิมนาสติกได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริงในศตวรรษที่ 18 และ 19 (พ.ศ. 2343-พ.ศ. 2443) ซึ่งเป็นยิมนาสติกที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ
ประวัติความเป็นมาของกีฬายิมนาสติกในประเทศไทย
สันนิษฐานว่ากีฬายิมนาสติกในประเทศไทยนั้น เริ่มเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด เพราะช่วงนี้ได้มีการส่งคนเดินทางไปศึกษาที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก เมื่อสำเร็จการศึกษาคนกลุ่มนี้ได้เดินทางกลับมาและนำเอาวิชายิมนาสติกมาเผยแพร่ในไทยหรือสยาม ณ เวลานั้นด้วย โดยเริ่มมีการสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าวิชายิมนาสติกมีประโยชน์ในการพัฒนาร่างกาย และจิตใจ
จึงให้อาจารย์ร้อยเอกขุนเจนกระบวนหัด ซึ่งศึกษาวิชานี้มาจากต่างประเทศ เปิดสอนยิมนาสติกที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดเป็นวิชาหนึ่งในการสอนและจัดเข้าไว้ในหลักสูตรโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย ปัจจุบันกีฬายิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการที่นักกีฬาไทยมีอันดับความสามารถอยู่ในอันดับต้นๆของภูมิภาคและภายในทวีป
ตึกเกรก ยิมเนเซียม (พ.ศ. 2514) เป็นตึก 5 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 มีสนามบาสเกตบอลในร่มพร้อมอัฒจันทร์เชียร์ ชั้นบนใช้เป็นห้องเรียนชั้นประถมศีกษาปีที่ 5 และห้องกิจกรรมทางภาษาต่างประเทศ(ภาษาจีน) สนามเทนนิสและเป็นลานอเนกประสงศ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
References
Chaithet, S. " Yimnēsīam [Gymnasium]". Sanchai Sports FC. Accessed December 7, 2020.https://sites.google.com/site/saychayspxrtxefsi/prawati-yimnastik
Silpa-Mag. " Mǣphra Fātmā [Our Lady of Fatima]". Silpa-Mag. Accessed December 7, 2020. https://www.silpa-mag.com/history/article_9045?fbclid=IwAR1ys9sw5H8SL3Y88H8YTg5QykdytKz3yoBccWUbySf4-7297n_kvTAuRto
Phonsiri. "Mǣphra Fātmā [Our Lady of Fatima]". Christian Religion Department Archdiocese of Bangkok. Accessed December 7, 2020. http://www.kamsonbkk.com/bible/bible-vocabulary/5211-%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2-fatima?fbclid=IwAR1dSaQP6LiTSPAjNfLyGitvAaOL-SGaOYDpGHAueeBPuX-S4bttVAY9t8Q
ในการออกแบบของที่ระลึก อาคารฟาติมาและยิมเนเซียม ออกแบบให้มีลักษณะชิ้นงานที่เป็นแบบงานที่ขยายออกจากตำแหน่งศูนย์กลางไปด้านซ้ายและขวา เสมือนอาคารวางตัวในลักษณะตัวอักษร L เชื่อมต่อกันจากภาพถ่ายอาคารจริง โดยลดทอนรายละเอียดของบานหน้าต่างและประตู เพิ่มรายละเอียดในส่วนของลายอิฐกรุผิวด้านนอกและคงไว้ซึ่งสัญลักษณ์นาฬิกา
ในส่วนของรายละเอียดต้นไม้บริเวณกึ่งกลางของชิ้นงาน มีการใช้เทคนิคเพิ่มชั้น ให้เป็นลักษณะชั้นซ้อน ๆ กันเพื่อมิติความหนาของพุ่มไม้ ซึ่งการออกแบบอีกลักษณะคือการไล่มิติชิ้นงานแต่ละชั้นมีขอบกลืนเป็นชิ้นเดียวกัน โดยทั้งหมดจะเป็นวิธีการลดความผิดพลาดด้านการผลิต เช่น ติดแม่พิมพ์
แสดงการเปรียบเทียบภาพถ่ายอาคารฟาติมาและยิมเนเซียม กับงานออกแบบของที่ระลึก
งานออกแบบของที่ระลึกอาคารฟาติมาและอาคารยิมเนเซียม
โฆษณา