7 ธ.ค. 2022 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
ตึกเดอ มงฟอร์ต โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ผลงานสร้างสรรค์และออกแบบของที่ระลึก ระหว่างสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียลและ Blue Bangkok
ประวัติชื่อของอาคาร เดอ มงฟอร์ต
บาทหลวงหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เกิดในครอบครัวคาทอลิกของนายยีนบับติสต์ กรีญอง และนาง ยีน โรแบรต์ กรีญอง ที่เมืองมงฟอร์ตซูเมอร์ (Le Montfort Sur3Meu) ประเทศฝรั่งเศส ณ บ้านเลขที่ 15 ถนนลู เดอลา โซลเนรี (Rue de La Saulnerie) ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1673 (พ.ศ. 2216)
ด้วยความที่ท่านมีความศรัทธาต่อแม่พระมาก จึงได้ใช้พระนาม “มารีย์” เสริมชื่อเข้าไปด้วยตอนโต จนเมื่อได้รับศีลล้างบาปที่เมืองมงฟอร์ตจึงใช้นามเต็มว่า “หลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต” (หลุยส์ มารีย์ กรีญอง แห่งเมือง มงฟอร์ต)
ในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านบัว-มาร์เกร์ (Bois-Mar-Quer) มีพี่น้องรวม 18 คน เป็นขาย 8 คน หญิง 10 คน ด้วยอาชีพทนายความของบิดาของท่าน อีกทั้งฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน พี่ชายของหลุยส์เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 5 เดือน
ดังนั้นหลุยส์จึงกลายเป็นบุตรคนโตของครอบครัว ช่วยมารดาทำงานสารพัดเอาจริงเอาจังกับการเรียน และสอบได้เป็นที่หนึ่งของชั้นเสมอ เมื่อเรียนจบหลุยส์ได้เข้าเรียนในบ้านเณรเพื่อเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ ซึ่งท่านได้รับการบวชเมื่ออายุได้ 27 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1700 (พ.ศ.2243) ที่โบสถ์แซงต์ซูลปีซ (St.Sulpice Seminary) ณ กรุงปรารีส
บาทหลวงหลุยส์ได้อุทิศชีวิตของท่านด้วยการเทศนาสั่งสอน ให้คนที่ประพฤติตนไม่ดี ได้กลับใจเป็นคนดี ทั้งยังช่วยเด็ก ๆ ที่ยากจน ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน การที่บาทหลวงหลุยส์ทำงานอย่างหนัก โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของตนเอง จึงทำให้ท่านล้มป่วยลงหลายครั้ง จนในที่สุดท่านก็ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.1716 (พ.ศ.2259) อายุของท่านในขณะนั้นเพียง 43 ปี 3 เดือนเท่านั้น
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2510 — 2530
ปัจจัยสำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สถาปัตยกรรมโมเดิร์นเข้ามาครอบงำแนวทางหลักในงานสถาปัตยกรรมไทย ช่วง 40 ปีที่แล้ว คือสถาปนิกนักเรียนนอกที่มีวิถีชีวิตตามสังคมสมัยใหม่ได้กลับมายังประเทศบ้านเกิด และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เพราะกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าเหล่านี้ มีความกระหายอยากทันโลก สถาปัตยกรรมโมเดิร์นอันแฝงสุนทรียศาสตร์ ภาพลักษณ์ของอาคารคอนกรีต จึงต้องถูกประยุกต์ให้เข้ากับวัสดุพื้นถิ่นภายใต้สภาพอากาศเขตร้อนชื้น
การขยายตัวออกของเมืองพร้อมการเพิ่มของจำนวนประชากร จากผลของการตัดถนนใหม่หลายสายผ่านพื้นที่รกร้าง อาคารสำนักงาน โรงแรมและศูนย์การค้าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ วิถีชีวิตของคนที่อาศัยจะต้องปรับตัววิ่งตามให้ทันกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีในการก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงความเป็นไปได้ส่งผลต่อบ้าน อาคารเรือนแถวเชิงพาณิชย์ จากแนวราบเป็นแนวดิ่งกลายเป็นตึกระฟ้า สนองเจ้าสัวใหม่ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ธุรกิจล้ำสมัยของตน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2504) ภายใต้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ เป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของยุคสังคมอุตสาหกรรมแบบไทย ๆ อันจะส่งต่ออิทธิพลให้กับสถาปัตยกรรมในช่วงสองทศวรรษนี้เป็นอย่างมากในช่วงภายหลังปี พ.ศ. 2510 ขณะที่คำว่า "อุตสาหกรรม" ไทยเองยังเพิ่งจะเรียนรู้ แต่ในหมู่สถาปนิกผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศได้รับเอารูปแบบ "สถาปัตยกรรมโมเดิร์น" เข้ามา
อีกทั้งมีความพยายามประยุกต์ใช้กับเทคนิคการก่อสร้างและวัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปฏิวัติรูปแบบสังคมและเศษฐกิจ ด้วยระบบอุตสาหกรรมของชาติตะวันตก
เทคนิคการหล่อคอนกรีตและอาคารรูปทรงเรขาคณิต มาพร้อมกับการจัดวางผังอาคารโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดการใช้พลังงาน และการออกแบบแผงกันแดดให้ตอบรับทิศทางแสงเป็นการนำเสนอทางออกใหม่แทนการใช้ชายคา พื้นผิวเปลือย แสดงเนื้อแท้ของวัสดุ เปลี่ยนภาพลักษณ์อาคารให้ดูทันสมัย มาพร้อมกับเทคโนโลยีคอนกรีตเสริมเหล็กที่จะอำนวยความสะดวกในการออกแบบพื้นที่ใช้สอย ที่จะกลายเป็นแฟชั่นใหม่แทนการก่ออิฐถือปูนแบบเดิม ๆ
ซึ่งสถาปัตยกรรมไทยในยุคสมัยนี้สะท้อนความพยายามในการทดลองหาความเป็นไปได้ระหว่างความซาบซึ้งในสถาปัตยกรรมโมเดิร์น รสนิยม ตลอดจนมุมมองความงามที่เปลี่ยนไปของเหล่าสถาปนิกกับสภาพพื้นที่เขตร้อนของไทย
อาคารเดอ มงฟอร์ต ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
อาคารเดอ มงฟอร์ต เป็นอาคาร 4 ชั้น โดยชั้นล่างและชั้นสองเป็นโรงอาหารนักเรียน และหอประชุม มีห้องสมุดกลาง พิพิธภัณฑ์ผีเสื้อและแมลงของภราดาฟิลิปต์ อำนวย ปิ่นรัตน์ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง พิพิธภัณฑ์แร่และซากฟอสซิล ห้องเรียนและฝึกซ้อมศิลปะการแสดงนาฏศิลป์(โขน) ดนตรีไทย และดนตรีสากล
References
Monfort Secondary School. " Yimnēsīam [Gymnasium]". Monfort Secondary School. Accessed December 7, 2020. https://www.montfort.ac.th/about-us/st-louis/?fbclid=IwAR09ZHlYhrkraJqLmF0Ay42CdoworY_H8NcQCDXWZvbhevHKIJ9p3ZlLQYY
TCDC Resource Center. " Yimnēsīam [Gymnasium]". TCDC Resource Center. Accessed December 7, 2020. https://library.tcdc.or.th/record/view/c00000056?fbclid=IwAR20x5WMf4SvAjXP85DcmN3OMvbrgzkEaBRjKj-Mn8kFLjO3sFOJv5eitVQ
ในการออกแบบของที่ระลึก อาคารเดอ มงฟอร์ต ออกแบบให้มีลักษณะชิ้นงานที่เป็นมุมองทัศนียภาพด้านข้างและด้านหน้าของอาคาร ที่มีความน่าสนใจของจังหวะพื้นที่ว่าง และการซ้ำ ของรายละเอียด ทั้งหน้าต่าง ประตู และฟาซาด(Façade) ซึ่งการออกแบบในช่วงระยะแรกมีความกังวลต่อความเรียบง่ายในรูปแบบ ลักษณะของอาคาร
แต่เมื่อมีการทำต้นแบบสี ทำให้เกิดความน่าสนใจด้วยตัวอาคารที่มีสีขาว ตัดกับสีรายละเอียดส่วนอื่น ๆ กระจายน้ำหนัก เป็นการดึงดูดสายตาในสัดส่วนประมาณ หกสิบเปอร์เซ็นต์ต่อสี่สิบเปอร์เซ็นต์ นอกจากความกังวลในข้างต้น ยังมีความเสี่ยงการหักของชิ้นงานในส่วนครีบตกแต่งอาคารทางด้านซ้ายเมื่อมองจากภาพถ่าย ที่มีแท่งแนวตั้ง โดยใช้การแก้ปัญหาทำองศาขอบลดมุมที่ชันในลักษณะ Taper หรือการแก้ปัญหาการทำสีในส่วนรายละเอียดของหน้าต่าง ช่องที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ต้องอาสัยความชำนาญและเทคนิคการทำสี
โฆษณา