8 ธ.ค. 2022 เวลา 13:39 • ยานยนต์
ผมเองก็ยังไม่เคยซื้อรถใหม่เลยในชีวิต รถที่ใช้อยู่คันปัจจุบันเป็นรถที่น้องโอนให้ซึ่งเป็นรถที่ผมพยายามดูแลรักษาเป็นอย่างดีเพราะอายุรถเข้าใกล้ 20 ปีแล้ว แต่ขับดีมากๆ เพราะอะไหล่ที่สำคัญๆได้รับการเปลี่ยนใหม่ตามอายุการใช้งานและคำแนะนำจากช่างของศูนย์
1
1) ผมมองว่าในการเลือกซื้อรถนั้น สิ่งสำคัญเริ่มจากตัวบริษัทผู้ผลิตรถยนต์
หากรถยนต์เป็นรุ่นที่ติดตลาดและได้รับความนิยม (กลุ่ม Mainstream) แถมยังมีศูนย์บริการและตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ หรือ “Authorised Dealers” เป็นจำนวนมาก
ก็พอจะอนุมานได้ว่า เมื่อเราต้องนำรถเข้ารับบริการจากศูนย์ เพื่อเช็คสภาพตามระยะและเปลี่ยนอะไหล่พื้นฐานตลอดอายุการใช้งาน
ก็เป็นไปได้ว่า
- ไม่ต้องรอนัดหมายล่วงหน้านาน
- ราคาอะไหล่และค่าแรงอยู่ในระดับราคาที่จับต้องได้
- อะไหล่หาง่าย, รอไม่นาน, ราคาไม่สูงมากจนเกินไป
2) การเลือกศูนย์บริการ ก็ควรประเมินจาก
ระยะเวลาที่กลุ่มทุนนั้นดำเนินกิจการ “dealers” ของ brands รถยนต์ที่เราสนใจ
พูดง่ายๆว่า ถ้าเขาขายรถยนต์ยี่ห้อนั้นมานานๆ แถมยังมีหลายสาขา ก็แสดงว่า “เขาลงทุน” ไปกับการเป็น “ตัวแทนจำหน่าย” ของรถยี่ห้อนั้นๆอย่างจริงจัง และแน่นอนว่า บริษัทผลิตรถยนต์ที่เป็นเจ้าของ brands รถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ ย่อมให้ความสำคัญกับ dealers เจ้านั้นๆ ในระดับหนึ่งทีเดียว
เพราะการลงทุนเปิดศูนย์บริการและเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั้น เป็นการลงทุนจากทางตัว dealers เองทั้ง “ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พนักงาน, เครื่องจักร, call centers, งานซ่อมตัวถังและพ่นสี ฯลฯ” ซึ่งโดยคร่าวๆแล้วผมคาดว่าคงเป็นเม็ดเงินลงทุน ระดับร้อยล้านบาทจนถึงระดับพันล้านบาท
เลยทีเดียว
และในโลกยุค social media เฉกเช่นในยุคนี้ หาก dealers ไม่สามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งตัวรถและงานบริการได้ ตัวบริษัทรถยนต์ก็จะพยายามช่วยเหลือเพื่อรักษาฐานลูกค้าในวงกว้างเอาไว้
#และหากเป็นไปได้
ควรเลือกซื้อรถยนต์ที่มีโรงงานประกอบภายในประเทศ เพราะกว่าที่บริษัทผลิตรถยนต์จะประกอบรถขึ้นมาได้ เขาต้องมีระบบการป้อนชิ้นส่วนและอะไหล่รถรุ่นนั้นๆก่อน
ด้วยเหตุนี้ การใช้ชิ้นส่วนรถยนต์จากผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ (local contents) จะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้คนในประเทศ แล้วผู้ซื้อรถเองก็จะสามารถหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ง่ายกว่าและถูกกว่ารถยนต์ที่ประกอบจากต่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย!
3) มีอยู่เทคนิคหนึ่งที่ผมใช้จริงมาแล้ว นั่นคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมบังเอิญได้พบเจ้าของรถยนต์ที่มาจากยี่ห้อและรุ่นที่ผมสนใจในบริเวณที่จอดรถของห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ
ผมจะเดินเข้าไปขออนุญาตสอบถาม เจ้าของรถยนต์คันนั้นๆ (quick chat) ถึง “ประสบการณ์” การใช้รถและความเห็นต่อการให้บริการจาก dealer ว่าเขามี “ความพึงพอใจ” มากน้อยเพียงใด
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของรถยนต์เหล่านั้นยินดีที่จะ “เล่าประสบการณ์” การใช้รถของพวกเขาด้วยความเต็มใจ
1
และคำถามส่วนใหญ่ที่ผมมักใช้สัมภาษณ์มักจะเป็น
- เวลาคุณพี่เอารถเข้าศูนย์ ต้องรอนานมั้ยครับ?
- ศูนย์ล้างรถให้ฟรีมั้ยครับ?
- รถรุ่นที่คุณพี่ใช้ กินนำ้มันมากมั้ยครับ?
- ตอนอยู่ในระยะประกันจากศูนย์ รถของคุณพี่มีปัญหาจุกจิกบ้างมั้ยครับ แล้วถ้ามีปัญหา ทางศูนย์เขาแก้ปัญหาให้คุณพี่ได้ดีแค่ไหนครับ?
4) หากพิจารณาไปที่ “พนักงานขาย” โดยตรง
ผมมองว่า หากเป็นบริษัทรถยนต์ใหญ่ๆ เขาจะมีระบบฝึกอบรมพนักงานขายที่เข้มแข็งในระดับหนึ่งทีเดียว
เป็นต้นว่า เขาจะเปิดโอกาสให้พนักงานขายได้มีโอกาส ทดสอบขับ (test driving) รถยนต์ที่กำลังเปิดตัวใหม่ในตลาด พร้อมแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆที่มากับรถยนต์รุ่นนั้นๆ
เพื่อที่ว่า พนักงานขายสามารถ “ถ่ายทอดประสบการณ์” เหล่านั้นให้กับ “ผู้สนใจ” (potential customers) ที่แวะเวียนมาสอบถามข้อมูลที่ศูนย์ได้อย่างเต็มที่ เพราะลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงตัวรถยนต์ได้ เพียงแค่เปรียบเทียบข้อมูลทางเทคนิคจากตัวเลขที่มีให้ตามสื่อ online แค่เพียงอย่างเดียว!
5) ประสบการณ์ในการทำ test drive ของผมถูกถ่ายทอดลงใน post นี้ของผมแล้วครับ
6) “รถใหม่, รถมือสอง, รถ EV, รถ Hydrogens”
7) ทำไมผมจึงแนะนำ Toyota
8) ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อรถของผม
โฆษณา