31 ธ.ค. 2022 เวลา 14:12 • ความคิดเห็น
1) ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบใช้เวลาฟังการบรรยายในพิธีปัจฉิมนิเทศโดยผู้บรรยายที่ได้รับเกียรติจากสถาบันการศึกษาที่ทั้งเก่าแก่และมีชื่อเสียงเขิญท่านเหล่านั้นไปให้โอวาทแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษานั้นๆ
หนึ่งในคลิปดังกล่าวที่ผมชื่นชอบมากที่สุดก็เห็นจะเป็น Steve Jobs ที่ท่านไปบรรยายที่ Stanford ในปี 2005 และมียอด views บน Youtube นับสิบๆล้าน views
และอีกคลิปหนึ่งเป็นของ Elon Musk ที่เขาได้รับเชิญไปบรรยายที่ University of Southern California (USC) ในปี 2014
Musk ได้กล่าวสั้นๆ แต่ความสั้นของเวลาที่เขาใช้นั้น กลับเป็นการเน้นถึง “ความสำคัญ” ของสิ่งที่เขาต้องการสื่อสารให้เหล่านิสิตได้รับรู้
Musk บอกว่า “การทำงานหนัก” นั้น คือหัวใจของการประสบความสำเร็จ
เขาเล่าว่า เขาและญาติได้เช่าห้องทำงานขนาดเล็ก ในการสร้างธุรกิจ
“Paypal”
เขาใช้ห้องเช่าขนาดเล็กนั้นทำงาน และเป็นที่หลับนอนในเวลาพักผ่อน
2
พอมีเวลาเขาก็เดินไปอาบนำ้ที่ องค์กรเพื่อเยาวชน YMCA ที่ผมเข้าใจว่าอยู่ในละแวกเดียวกันกับ office
ของเขา
Musk บอกว่า ถ้าคุณทำงานอาทิตย์ละ 100 ชั่วโมง ในขณะที่คนอื่นทำเพียง 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คุณก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายใน 6 เดือน ในขณะที่คนอื่นต้องใช้เวลา 1 ปี!
ในที่สุด เมื่อมีนักลงทุนขอซื้อ Paypal จาก Musk เขาก็กลายเป็นเศรษฐีเงินหลายสิบล้านดอลลาร์ในทันที!
และทุกวันนี้ ผมก็เคยได้ยินมาว่า Musk ยังใช้ โรงงาน Tesla เป็นทั้งที่ทำงานและที่หลับนอนเช่นเดิม! และว่ากันว่า Musk ทำงานอาทิตย์ละ 120 ชั่วโมงเลยทีเดียว!
ครับ มีผู้คนจำนวนมากที่มักพูดว่า
“work smart, not hard” ซึ่งส่วนหนึ่งคือคนที่มองว่า ควรทำงานที่สำคัญ และ “มอบหมาย” งานที่ไม่สำคัญให้ผู้อื่นทำแทน (delegating / outsourcing)
แน่นอนว่า ใช่ว่าทุกคนจะสามารถหาคนอื่นมาทำงานแทนได้ทุกทีไป
3
และงานที่คุณไม่ได้ทำเอง คุณก็จะ “ไม่รู้” ในรายละเอียดของงานนั้นๆ จนเมื่อใดที่ถึงเวลาที่คุณต้องทำเอง คุณอาจทำได้ไม่ดี
ในอีกมุมหนึ่ง คนที่ทำงานหนัก หรือ work hard ก็ใช่ว่า เขาจะทำงานไม่มีประสิทธิภาพหรือบริหารเวลาไม่เป็น คนที่ทำงานหนัก อาจเป็นคนที่ฉลาดกว่าคนที่บอกว่าตัวเองเป็นคนทำงานฉลาดก็ได้ แต่เขายังเลือกที่จะทำงานหนักอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ด้วยเหตุผลเดียวกันกับ Elon Musk ก็ได้!
2) ผมจึงเชื่อว่า hard work คืออีกหนทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่ความ “โชคดี” ผมจึงขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผม
ผมเป็นคนที่สนใจเรื่องรถยนต์มาตั้งแต่เด็กๆ แต่ผมมักใช้บริการรถประจำทางและรถไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเดินทางเป็นส่วนใหญ่ และผมไม่เคยมีรถยนต์เลย
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสใช้รถยนต์อย่างจริงจังมากขึ้น เพราะผมกลับมาดูแล “พระในบ้าน”
ของผม
และนั่นเองที่ผมเริ่มมีประสบการณ์การดูแลรักษารถยนต์อย่างเต็มที่
ถ้าให้ผมคาดเดา ผมจินตนาการว่า เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่ เวลาที่รถเริ่มมีอาการสตาร์ทไม่ติดหรือตอนที่เปิดเครื่องเสียงหรือวิทยุในขณะที่รถไม่ได้ติดเครื่อง แล้วระบบไฟฟ้าไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติ พวกเขามักนึกถึงการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
และผมคาดเดาอีกว่า เจ้าของรถยนต์เหล่านั้นมักขับรถไปที่ร้านแบตเตอรี่หรือโทรศัพท์เรียกให้ทางร้านแบตเตอรี่นำแบตเตอรี่ใหม่มาเปลี่ยนให้ถึงบ้านตามรุ่นของรถยนต์ที่ตัวเองขับ แล้วก็แค่จ่ายค่าแบตเตอรี่ไป
ครับ นั่นไม่ใช่วิธีเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ผมนิยมสักเท่าไหร่
เป็นเพราะผมชอบศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรถมาตั้งแต่เด็กๆ ผมจึงค้นหาข้อมูลของรุ่นของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับรถยนต์ของผมที่ได้รับการโอนมาจากน้องที่เป็นเจ้าของเดิมมาอีกที และเป็นรถยนต์ที่มีอายุใกล้ 20 ปีเข้าไปแล้ว
ในที่สุดผมก็พบข้อมูลของรุ่นแบตเตอรี่ที่เหมาะสม (compatible) กับรถยนต์ของผม และผมได้ซื้อแบตเตอรี่รุ่นนี้จากทางศูนย์ เป็นครั้งแรกในชีวิตการใช้รถยนต์ของผมด้วยราคาราว 2,400 บาท
เมื่อเวลาผ่านไป ผมยังรักที่จะศึกษาเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ต่อไปตามเวลาสมควร จนผมค้นพบ “ข้อมูลทางเทคนิค” หรือ สเปค (specification) ของแบตเตอรี่รถยนต์โดยละเอียด
หากจะกล่าวโดยย่อ รถยนต์ที่มีขนาดของเครื่องยนตร์ใหญ่เล็กต่างกัน จะต้องการกำลังไฟจากแบตเตอรี่ต่างกัน
ดังนั้นการเลือกแบตเตอรี่ตามสเปคของขนาดเครื่องยนตร์จึงมีความสำคัญไม่น้อย และค่ามาตรฐานที่ใช้เป็นตัวกำหนดความสามารถในการจ่ายไฟของแบตเตอรี่คือค่าที่มีชื่อว่า “CCA” (Cold Cranking Amps)
โดยแบตเตอรี่แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีค่า CCA ต่างกันออกไป และเมื่อใช้แบตเตอรี่ไปนานๆ ค่า CCA จะลดลงตามอายุการใช้งาน จนเมื่อค่า CCA ลดลงต่ำถึงจุดหนึ่ง รถก็จะสตาร์ทไม่ติด!
แน่นอนครับ ด้วยความพยายามและการทำงานหนักของผม ทำให้ผมรู้มาว่า แบตเตอรี่จากศูนย์ที่ผมซื้อมาในราคา 2,400 บาท นั้น มีค่า CCA อยู่ที่ 295 และผมก็ใช้แบตเตอรี่ลูกแรกนี้มาโดยไม่เคยมีปัญหาใดๆตลอดอายุการใช้งานของมันเลย
จนกระทั่งเมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ผมจึงมีความคิดว่า ผมอยากลองเปลี่ยนไปใช้แบตเตอรี่ยี่ห้ออื่นดูบ้าง เพื่อเป็นการเปรียบเทียบตามความสนใจเรื่องรถยนต์ของผม
และในที่สุด ผมก็ค้นพบแบตเตอรี่ยี่ห้อหนึ่งซึ่งมีรุ่นที่ใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ลูกเดิม แต่มีคุณสมบัติที่น่าสนใจกล่าวคือ
- มีค่า CCA สูงถึง 480 และราคา 1490 บาท จาก Authorised dealer หรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และนั่นคือราคาขายปกติไม่ใช่ราคาโปรโมชั่นพิเศษนะครับ!
ผมจึงตัดสินใจซื้อแบตเตอรี่ลูกใหม่นี้ และทำการติดตั้งด้วยตัวเองจากการดูคลิปการเปลี่ยนแบตเตอรี่บน
Youtube
ครับ คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพของแบตเตอรี่ใหม่ลูกนี้ แต่ที่แน่ๆคือ ผมสามารถประหยัดเงินค่าแบตเตอรี่รถยนต์ไปได้ถึง 910 บาท!
แล้วผมก็ได้นำเงินที่ประหยัดได้ 910 บาทนั้นไป upgrade นำ้มันเครื่องของรถผม โดยปกติผมจะใช้นำ้มันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ หรือ semi synthetic ที่มีอายุการใช้งานราว 6 เดือน ไปเป็น นำ้มันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% หรือ fully synthetic ที่มีอายุการใช้งานราว 9 เดือน โดย semi synthetic มีค่าใช้จ่ายราว 1,000 บาท แต่ fully synthetic จะมีราคาราว 2,000 บาทโดยประมาณ
และผมยังมีความสามารถในการเลือกแบตเตอรี่และติดตั้งแบตเตอรี่ใหม่ให้กับรถของญาติๆและเพื่อนๆได้อีกด้วย!
นี่แหละครับ “การทำงานหนัก” ที่สามารถสร้างโชคดีให้ได้
ถ้าลองคิดดูเล่นๆว่า ปีนี้มีรถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ราว 10 ล้านคัน แล้วทุกคันเจ้าของรถใช้เทคนิคการเลือกซื้อแบตเตอรี่อย่างที่ผมใช้เพื่อให้ได้แบตเตอรี่ที่มีค่า CCA สูงขึ้นราว 60% แถมยังมีราคาถูกลงราว 40% นั่นหมายถึงผมได้ช่วยเพื่อนๆที่ใช้รถประหยัดเงินค่าแบตเตอรี่ร่วมๆ 9.1 พันล้านบาท!
และเมื่อท่านทั้งหลายเหล่านั้น นำเงิน 9.1 พันล้านบาท ไปจับจ่ายกับสินค้าชนิดอื่นๆ ระบบเศรษฐกิจของบ้านเราจะเติบโตไปอีกเท่าไหร่ในทุกๆรอบการเปลี่ยนแบตเตอรี่!
ดังนั้น “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีและยั่งยืนทั้งยังได้ผล แถมยังไม่ต้องสิ้นเปลืองภาษีของประชาชน” ก็คือ “การให้ความรู้แก่ประชาชนในการเลือกซื้อสินค้าและบริการให้ได้คุณภาพดีขึ้น แต่จ่ายในราคาลดลง” นั่นเอง!
หรือถ้าคุณลองจินตนาการดูว่า คุณทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ แล้วคุณสามารถประหยัดงบประมาณจาก 2,400 ล้านบาท ให้เหลือแค่เพียง 1,490 ล้านบาทได้ นั่นคือองค์กรของคุณมีเงินงบประมาณเหลือสูงถึง 910 ล้านบาท
โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของงานที่ออกมา
แล้วผู้บังคับบัญชาหรือ CEO ในองค์กรนั้นของคุณจะมอบคำชื่นชมและอนาคตดีๆในหน้าที่การงานให้กับ
คุณอย่างไร!
และเอาเข้าจริงๆ คุณก็สามารถ
“work hard smartly” ได้!
3) posts เกี่ยวกับการสร้างโชคด้วยตนเองของผม
และแน่นอนที่สุดครับ
การศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป็นการสร้างโชคดีอย่างเหลือเชื่อ!
โฆษณา