28 ม.ค. 2023 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์

Boston Tea Party งานเลี้ยงน้ำชาที่ก่อร่างสร้างชาติอเมริกา

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ออกโรงเตือนว่าหนี้สหรัฐฯ กำลังแตะชนเพดาน หากไม่ปรับเพิ่มเพดานหนี้ให้สูงขึ้นอาจเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้
2
เมื่อย้อนกลับไปในปี 2011 สหรัฐฯ ก็ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการชำระหนี้เช่นเดียวกัน และหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดความวุ่นวายเช่นนี้ก็คือกลุ่มทางการเมืองที่ชื่อว่า Tea Party
1
นี่จึงทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าแล้วกลุ่ม Tea Party เกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ Boston Tea Party งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตันอันโด่งดัง และเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสรภาพของอเมริกาจากอังกฤษในปี 1778
1
Bnomics จึงจะพาย้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นกันค่ะ
⭐️ ชา - อังกฤษ - อเมริกา
หลังจากคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบโลกใหม่ในปี 1492 และตั้งชื่อว่าอเมริกา ดินแดนแห่งนี้ต่างดึงดูดชาวยุโรปให้เข้ามายึดครองจับจองพื้นที่ทำกิน สร้างอาณานิคมเป็นของตนเอง
ชาวยุโรปที่เข้ามาเหยียบแผ่นดินนี้เป็นที่แรกคือ สเปน ตามด้วยโปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส และดัตซ์
โดยสเปนและโปรตุเกสได้เข้ายึดครองบริเวณอเมริกากลางและอเมริกาใต้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมปัจจุบันประเทศแถบนี้อย่างอาร์เจนตินา เวเนซุเอลา อุรุกวัย ถึงพูดภาษาสเปนเป็นภาษาหลัก เว้นแต่บราซิลที่่พูดโปรตุเกส ในขณะที่อังกฤษ ฝรั่งเศสและดัตซ์ได้ยึดครองบริเวณอเมริกาเหนือ
1
อังกฤษถือเป็นชาติที่มีความสำคัญที่สุดเพราะสามารถตั้งอาณานิคมได้ถึง 13 รัฐบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ และตั้งชื่อให้ดินแดนบริเวณนี้ว่า อังกฤษใหม่ หรือ New England
เมื่อชาวอังกฤษเข้ามายึดครองก็ไม่ได้มามือเปล่า แต่ได้นำวัฒนธรรม “การดื่มชา”เข้ามาด้วย และความคลั่งไคล้ในชานี้ก็ส่งต่อไปถึงชาวอังกฤษในดินแดนอเมริกาด้วยเช่นเดียวกัน
หากมามองประวัติศาสตร์ชา เป็นที่ทราบกันดีว่าชาเป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษ กล่าวได้ว่าชาวอังกฤษดื่มชา 300 แก้วต่อปี!
ในศตวรรษที่ 17 Thomas Garway เจ้าของร้านกาแฟได้ลองนำชาเข้ามาขายเป็นครั้งแรกที่ลอนดอนซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก จนอีกไม่กี่สิบปีต่อมาร้านคาเฟ่ในลอนดอนกว่า 500 แห่งก็แห่กันขายชายกใหญ่
แม้ชาจะเป็นที่นิยม แต่ไม่ใช่ว่าใครๆก็สามารถดื่มได้ เพราะราคาสูงและถูกจำกัดไว้สำหรับคนมีเงินเท่านั้น โดยราคาชาในปี 1700 คือ 36 ชิลลิ่ง แต่แรงงานทำงานได้เงินเพียง 1 ชิลลิ่งต่อสัปดาห์เท่านั้น! เรียกได้ว่าถ้าอยากดื่มชาก็คงต้องเก็บเงินกันเกือบปีเลยทีเดียว
⭐️ เกิดอะไรขึ้นที่บอสตัน?
และเพราะความคลั่งไคล้ในชานี่เอง ทำให้ “ชา” กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างรัฐบาลอังกฤษและอเมริกาจนนำไปสู่การประกาศอิสรภาพของอเมริกาในปี 1778
1
ย้อนกลับไปในช่วง 1760s ชาวอาณานิคมในอเมริกาดื่มชามากกว่า 1 ล้านปอนด์ต่อปี ทำให้รัฐบาลอังกฤษเห็นช่องในการหาผลประโยชน์และเก็บภาษีชาสูงขึ้น
ชาวอาณานิคมต่างโกรธเกรี้ยวและยืนกรานว่าจะไม่จ่ายภาษีให้อังกฤษ จนเกิดเป็นวลีโด่งดังที่ว่า “ไม่จ่ายภาษี ถ้าไม่มีตัวแทน” (no taxation without representation) เพราะหากไม่มีตัวแทนของชาวอเมริกันเข้าไปนั่งในสภาก็จะไม่ยอมรับกฎหมายเก็บภาษีนี้
ด้วยความไม่พอใจ ทำให้ชาวอาณานิคมจึงหันไปลักลอบนำเข้าชาจากชาติอื่นแทน กล่าวได้ว่า 90% ของชาที่ชาวอเมริกันดื่มนั้นมาจากชาวฮอนแลนด์ไม่ใช่อังกฤษ
ด้วยแรงกดดันทางการเงินที่ต้องการเงินไปบำรุงกองทัพและจ่ายหนี้จากการก่อสงครามกับฝรั่งเศส รัฐบาลอังกฤษจึงออกกฎหมายเก็บภาษีชาในเดือนพฤษภาคมปี 1773 (Tea Act 1773) ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกจากการยกเว้นภาษีนำชา ทำให้ชาราคาถูกกว่าเจ้าอื่น แต่ชาวอเมริกันกลับมองว่านี่คือความพยายามผูกขาดเพื่อบีบบังคับให้ซื้อชาจากอังกฤษเท่านั้น
หลังจากนั้นไม่นานความตึงเครียดเริ่มปะทุขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออังกฤษพยายามส่งชาจากบริษัทอินเดียตะวันออกไปตามท่าเรืออาณานิคม แต่กลับถูกต่อต้านและไล่ให้กลับไปอังกฤษแทน
ในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 ณ ท่าเรือบอสตัน กลุ่มอาณานิคมที่ต่อต้านอังกฤษมีชื่อว่า บุตรแห่งเสรีภาพ (Sons of Liberty) ทำการแต่งตัวเป็นชาวอินเดียนแดงขึ้นไปบนเรือขนชาของอังกฤษที่จอดอยู่ท่าเรือบอสตัน พร้อมเทหีบชาทิ้งลงกลางทะเลกว่า 342 กล่องรวมแล้วกว่า 45 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ!
เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้อังกฤษเสียหายมหาศาล จึงลงโทษชาวอาณานิคม โดยการปิดท่าเรือบอสตัน และประหารชีวิตคนที่ต่อต้านรัฐบาล พร้อมส่งกองกำลังเข้ามาควบคุมในเมืองบอสตันอย่างเข้มงวด
Boston Tea Party ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำของชาติอเมริกาเพราะเป็นการต่อต้านเชิงสร้างสรรค์ที่ไม่มีการนองเลือดเกิดขึ้น
และเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านอังกฤษ นำไปสู่การประกาศอิสรภาพของอเมริกาในปี 1778
⭐️ เหตุการณ์ Boston Tea Party กับการเมืองสหรัฐฯ ในยุคสมัยใหม่
แม้เหตุการณ์ Boston Tea Party จะล่วงเลยไปกว่า 300 ปี แต่คำว่า Tea Party ก็ยังถูกนำมาใช้แสดงถึงขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของสหรัฐฯ ในยุคสมัยใหม่
ในปี 2009 เกิดกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อว่างานเลี้ยงน้ำชา (Tea Party) ต้องการออกมาต่อต้านการใช้จ่ายงบประมาณมหาศาลของรัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลลดภาษี ลดหนี้ระดับชาติ และลดการแทรกแซงเศรษฐกิจ ซึ่งมีอุดมการณ์คล้ายกับเหตุการณ์ในอดีตที่ต้องการต่อต้านรัฐเรื่องการเก็บภาษี
จากกลุ่มประท้วงการเมือง Tea Party เริ่มเข้ามามีอำนาจในสภาภายใต้พรรครีพับลิกันในปี 2011
และลงผลโหวตปฏิเสธที่จะปรับเพดานหนี้จนเกือบเสี่ยงทำให้สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับสภาวะเกิด Government Shutdown ที่พนักงานรัฐต้องหยุดงานเนื่องจากไม่มีการอนุมัติงบประมาณประจำปี
และนี่ก็คือเรื่องราวเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและเป็นที่จดจำของชาวอเมริกาที่นำไปสู่การประกาศเอกราชกลายมาเป็นสหรัฐฯ อย่างทุกวันนี้
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา