18 ก.พ. 2023 เวลา 01:00 • หนังสือ

คุณจะใช้ชีวิตอย่างไร

ถ้ารู้ว่าชีวิตของเราไม่ได้มีเวลามากอย่างที่คิด
โพสนี้ไม่ได้มารีวิวสรุปหนังสือ
วันนี้อยากเล่าความรู้สึกหลังจากได้อ่าน
#ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ จบครับ
2
ส่วนตัว ยกให้เป็นเป็นหนังสือที่ดีมาก จัดอยู่ในระดับเดียวที่สามารถเปลี่ยนมุมมองต่อเรื่องใดเรื่องนึงในชีวิตได้เลย เหมือนกับเล่ม Psychology of Money ที่เปลี่ยนเรื่องมุมมองและจัดการเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเงินของเรา และ Think Again ที่เปลี่ยนเรื่องวิธีคิดของเราที่มีต่อเรื่องต่างๆ
ส่วนหนังสือ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ มาเปลี่ยนวิธีการใช้เวลากับชีวิตของเราครับ
1
ปกติ หนังสือแนว time management ทั่วไป จะให้หลักคิดในการจัดการเวลา คือคนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากันใน 1 วัน และแต่ละช่วงเวลาเราจะมีความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่างกันตามลักษณะพื้นฐานร่างกายของแต่ละคน เราจึงต้องเข้าใจตัวเองว่าเราเป็นคนประเภทไหน แล้วจัดการทำงานให้เหมาะสม โดยเอางานสำคัญที่สุดไปไว้ในช่วงเวลาที่เรามีประสิทธิภาพสูงสุด (ซึ่งคนส่วนมากจริงๆ ที่จะมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดของวันอยู่ในช่วงหลังตื่นนอนตอนเช้า แต่ก็ไม่ทุกคน)
3
จุดประสงค์ของการจัดตามนั้นก็เพื่อเราจะได้ใช้เวลาในแต่ละวันให้คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง
แต่มันเป็นการมองเวลาในระยะสั้น และไม่ได้มองเผื่อว่า
“พรุ่งนี้เราอาจจะไม่ได้มีเวลา 24 ชั่วโมงอีกครั้งนะ”
5
น่าตกใจไหมครับ
หนังสือชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ ไม่ได้บอกให้เราคิดกับเวลาแบบนั้น
กลับแต่เป็นการฉายภาพใหญ่ให้เห็นว่าชีวิตเรามีเวลาสูงสุดจริงๆ ก็ประมาณ สี่พันสัปดาห์ หรือ 78 ปีเท่านั้น (บนสมมติฐานว่า เราไม่ป่วยหรือเป็นอะไรไปเสียก่อน) และถ้าหัก 15-20 ปีแรกที่เรายังทำอะไรไม่ได้มากนอกจากเรียนหนังสือ ก็จะเท่ากับเวลาที่เราเหลือจริงๆ ที่จะได้ใช้ความรู้และใช้ชีวิตในแบบที่เราอยากใช้
5
คำถามสุดท้ายคือวันนี้เราอายุเท่าไหร่แล้วล่ะ
ลองเอา 78 ตั้งแล้วลบอายุตัวเองตอนนี้ นั่นคือเวลาที่เหลือทั้งหมดของเรา
3
เช่นตัวผม ตอนนี้ 49
78-20 ปีแรกของชีวิต - 49 =
19 ปีเองนะ
3
หลายคนอาจจะเหลือ 40 ปี ++
บางคน 30 ปี ยังเหลือ
แต่สำหรับผม ไม่ถึง 20 ปีแล้ว ซึ่งถ้าคิดแนว conservative คือลดลงเผื่ออีกสัก 20%
แปลว่าผมเหลือเวลาจริงๆ อีกประมาณ 15-16 ปี หรือ 600 สัปดาห์เท่านั้น
2
บอกไม่ได้ว่ามากหรือน้อย แต่รู้ว่าเลขนี้แหละ
1
พอรู้แบบนี้ ลองมองกลับมาในชีวิตประจำวันของเรา แป๊บๆ วันจันทร์อีกแล้ว แปลว่าเวลาแต่ละสัปดาห์ผ่านไปไวมาก
3
ตัวเลข 600 กว่าสัปดาห์นั้น เอาจริงๆคือ
ไม่นานเลย
เมื่อเราตระหนักแล้วว่า เวลาเรามีเหลือเท่านี้จริงๆ
ความคิดทุกอย่างในการใช้เวลาของชีวิตเปลี่ยนหมด
1. จากที่ไม่เคยคิดว่าอะไรสำคัญ ไม่สำคัญ สำคัญมาก/น้อย อะไรด่วน/ไม่ด่วน เราจะได้คำตอบและตกผลึกไวขึ้น
1
2. เรื่องที่อยากทำมากเป็นเรื่องแรกๆ ในชีวิต จะถูกขยับขึ้นมาหยิบทำได้เป็นลำดับต้นๆ
2
3. เราจะรู้ว่า เราควรใช้เวลาที่เหลือกับใคร แค่ไหน จัดสัดส่วนได้เหมาะสมกว่าเดิม (การใช้เวลากับคนในครอบครัวหรือคนที่รักทั้งหมด 100% ไม่ใช่คำตอบนะครับ เพราะคนนอกที่เราต้องติดต่องานด้วย เพื่อนฝูงที่ช่วยให้เรามีความสุขในมิติอื่นๆ ก็ต้องมี แต่เราจะจัดสัดส่วนของเวลาได้ดีขึ้นว่า ให้งานเท่าไหร่ เพื่อนเท่าไหร่ ก็พอ ไม่ใช่ให้เท่าไหร่ถึงจะพอ)
3
4. เรื่องอื่นหรือคนอื่นที่พาให้เราเสียเวลา เราจะตัดออกได้โดยไม่ลำบากใจ
3
5. อะไรที่เราเคยคิดว่า บางเรื่องก็ปล่อยให้เวลาทำหน้าที่ของมัน เราจะเลิกคิดแบบนั้นแล้วหาทางจัดการมันด้วยตัวเอง
1
6. บางอย่างที่ตัดสินใจไม่ได้ เราจะกล้าตัดสินใจกับมันได้ทันที บางเรื่องรอก่อนก็จะรู้เลยว่าจะรอหรือพอแค่นี้
1
7. เราจะกล้าลุกขึ้นจัดการกับชีวิตและปัญหาตัวเองได้ทันที ถ้าเราอยากให้มันถูกแก้ และเราจะลดความกังวลเกี่ยวกับความรู้สึกของคนอื่นน้อยลง
2
8. เราจะกล้ายอมรับกับผลที่ตามมา หมดความลังเลว่า เดี๋ยวก่อน ไว้ก่อน รอให้พร้อมรับผลกรรมก่อนค่อยทำ
3
9. เมื่อปรับวิธีคิด เราจะหาเวลามาทำเรื่องสำคัญเอง โดยไม่ต้องจัดเวลาเพื่อทำ
2
10. และเมื่อเราจัดการเรื่องที่อยากทำครบแล้ว เวลาที่เหลืออยู่เราจะเป็นอิสระอย่างแท้จริง
ถ้าคุณเชื่อว่า ชีวิตเราจะมีเรื่องเสียดายที่ไม่ได้ทำก่อนตาย มากกว่าทำแล้วมานั่งเสียใจ
หนังสือเล่มนี้ คือคำตอบครับ
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา