7 ก.พ. 2023 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม? เงินเฟ้อญี่ปุ่น จะไม่ได้มาจากฝั่งผู้บริโภค เร็ว ๆ นี้

ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงอัตราเงินเฟ้อกลับสู่อัตราเป้าหมาย ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงยืนกรานที่จะใช้นโยบายผ่อนคลายเป็นพิเศษจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะถูกขับเคลื่อนโดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง แต่สิ่งที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องการอาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนมกราคมเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ซึ่งใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 42 ปี IMF กล่าวว่าค่าจ้างในประเทศญี่ปุ่นต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3%
เพื่อตรึงอัตราเงินเฟ้อที่ตอนนี้ได้สูงกว่ากรอบเป้าหมายเอาไว้
แม้ว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นบางแห่ง เช่น Suntory Holdings Ltd และ Fast Retailing Co. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการแบรนด์เสื้อผ้า Uniqlo จะขึ้นค่าจ้างมากกว่าปกติแล้ว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ แต่ค่าจ้างโดยรวมไม่สามารถตามอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและของญี่ปุ่นได้ และตลาดแรงงานก็ไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ
ผลการสำรวจพบว่า บริษัทขนาดกลางจนไปถึงเล็กในญี่ปุ่น
ตอบรับคำขอของรัฐบาลว่าจะขึ้นค่าจ้างให้ในอนาคต
โดย 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามยินดีที่จะปรับขึ้นค่าแรงให้
ในขณะที่ 24.9% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าจะขึ้นค่าแรงให้ แต่ขึ้นน้อยกว่า 2%
อีก 27.8% ระบุว่าจะขึ้นค่าแรงระหว่าง 2% ถึง 3%
แต่ก็มีอีกถึง 32% ที่ตอบว่าไม่มีความตั้งใจที่จะขึ้นค่าจ้าง โดยอ้างถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนและรายได้ที่ซบเซา
จากการคาดการณ์ของ Goldman Sachs Group Inc. พบว่า ในปีนี้ค่าจ้างโดยรวมในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น 2.8% และจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.2% ของฐานเงินเดือน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา รายได้เติบโตขึ้นในอัตราเฉลี่ยปีต่อปีที่ประมาณ 0.3%
แต่รายได้เพิ่มขึ้นถึง 2% ในช่วง 3 เดือนจาก 9 เดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ครั้งสุดท้ายที่รายได้เพิ่มขึ้นเหนือ 3% คือในเดือนมกราคม ปี 1997
ซึ่งก็หมายความว่าค่าจ้างที่แท้จริงลดลงเป็นเวลา 8 เดือนติดต่อกันแล้วและไม่สามารถปรับตามให้ทันกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นได้
ยิ่งไปกว่านั้น ประเภทของการจ้างงาน เช่น พนักงานพาร์ทไทม์ พนักงานสัญญาจ้าง และพนักงานตามฤดูกาลมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
กลุ่มคนทำงานเหล่านี้เสี่ยงต่อการตกงานและได้รับค่าจ้างน้อยกว่าพนักงานประจำถึง 33% อีกด้วย
ในขณะที่การขึ้นค่าจ้างได้รับการสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในอดีตของญี่ปุ่นยังแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของค่าจ้างไม่ได้มาพร้อมกับความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นเสมอไป
โดยก่อนการแพร่ระบาดของโควิด อัตราส่วนงานต่อผู้สมัครเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 โดยมีตำแหน่งงานมากถึง 164 ตำแหน่งสำหรับผู้หางานทุกๆ 100 คน
แม้ว่าตลาดแรงงานจะแข็งแกร่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะขึ้นค่าจ้างให้อยู่ในระดับที่ธนาคารกลางต้องการได้
อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานที่ตึงตัวเและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นก็เป็นส่วนผสมที่แข็งแกร่งกว่าสำหรับการสร้างสัญญาณการเติบโตของค่าจ้างซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่ธนาคารกลางต้องการ
ในสถานการณ์ปัจจุบันของญี่ปุ่น นักวิเคราะห์บางคนแนะนำว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นควรตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% เป็นเป้าหมายระยะยาวแทนที่จะเป็นเป้าหมายที่ต้องทำให้เร็วที่สุด
ตัวอย่างเช่น Nobuyuki Hirano อดีต CEO ของธนาคาร Mitsubishi UFJ Financial Group แนะนำว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการใช้นโยบายการเงิน
ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่มีข่าวลือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษของญี่ปุ่น
และคำแนะนำจากกลุ่มที่ปรึกษาด้านนโยบายอิสระ ซึ่งรวมถึงการกำหนดกรอบเวลาที่นานขึ้นเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อคงที่ที่ระดับ 2% สกุลเงินญี่ปุ่น แตะระดับสูงสุดที่ประมาณ 129.20 เยนต่อดอลลาร์ แข็งค่าประมาณ 1 เยน
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา