24 ก.พ. 2023 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์

เพียงแค่'รัก'ไม่พอ

การตกหลุมรักกับใครสักคน ไม่ได้หมายความว่า เขาคือคนที่ใช่ และเขาจะเป็นคนที่อยู่ด้วยกันกับเราตลอดไป
1
สิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกคนที่เข้ามาในชีวิต ที่จะทำให้ความเกี่ยวพันระหว่างคนสองคนกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคงได้ ไม่ใช่เพียงใช้แค่ใจ ที่เราต่างมองไม่เห็น - เป็นกระบวนการทางอารมณ์ที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำให้รู้สึกถึงความพึงพอใจ
แต่ยังต้องใช้สมอง - กระบวนการคิดเชิงตรรกะ ผ่าน'ความคิดที่เป็นเหตุและผล' และแสดงออกมาเป็นการกระทำที่เรามองเห็นและสัมผัสได้ สังเกตได้จากการปฏิบัติดูแลที่เขามีต่อตัวเองและคนใกล้ชิดรอบข้าง และนั่่นหมายถึง 'ตัวเรา' ด้วยเหมือนกัน
เป็นไปได้ว่าเราจะตกหลุมรักคนคนที่ปฏิบัติกับเราไม่ดี แถมยังทำให้เรารู้สึกเกี่ยวกับตัวเองแย่ลงมากกว่าเดิม
ความรักจึงไม่ควรเป็นเพียงเหตุผลที่ทำให้เราอยู่ในความสัมพันธ์แย่ๆ เพราะความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้จริงและมั่นคงต้องมี
1. การเชื่อมต่อที่ผูกกลายเป็นความสัมพันธ์ (Connections)
1.1) เคมี (Chemistry) - เป็นแรงขับภายในที่ดึงดูดกันและกัน ส่งผลให้มีความรู้สึกเชิงบวกที่ทำให้อยากใช้เวลาด้วยกัน และทำให้แสดงพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เช่น ตื่นเต้น เขินอาย เผลอยิ้ม ถือเป็นการเชื่อมต่อทางอารมณ์ที่มีระหว่างกันและกัน
1
เมื่อเรามีระดับเคมีสูงกับใครสักคน เราจะผูกขาดทางความคิดและอารมณ์ ทําให้เรามองไม่เห็นหรือเพิกเฉยข้อบกพร่องของอีกฝ่าย เหมือนคำพูดที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด - เป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนเรา ที่ควรใส่ใจและให้ความระมัดระวังเสมอ
1.2) ความเข้ากันได้ (Compatibility) – ความสัมพันธ์ที่ยืนยงและมั่นคงเกิดขึ้นได้ ต้องมีวิถีการดำเนินที่เป็นไปตามธรรมชาติ - ไม่เสแสร้ง และมีความสอดคล้องหรือใกล้เคียงกันที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความชอบ ความเชื่อ ค่าที่ให้และลำดับความสำคัญในชีวิต เป็นต้น
1
ถ้ามีค่าที่ให้ในชีวิตต่างกัน เช่น คนหนึ่งทำงานรักษากฏหมาย อีกคนเป็นนักพนัน หรือคนหนึ่งต้องการแต่งงานและมีครอบครัว อีกคนไม่ต้องการ จึงเป็นไปได้ยากที่จะกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว
2. การสื่อสาร (Communications)
"ไม่มีใครสามารถคาดเดาจิตใจใครได้" ดังนั้น การสื่อสาร - การฟังและการพูด จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสัมพันธ์ที่ดี เพราะนอกจากช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อความต้องการของกันและกันมากขึ้นแล้ว ยังเป็นพื้นฐานของการสร้างความไว้วางใจต่อกันและกัน ทำให้เกิดการปล่อยวางความเปราะบาง ส่งผลให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น
1
คำพูดและการกระทำต้องเป็นไปในทางเดียวกันเสมอ ถ้าฝ่ายหนึ่งบอกว่าจะทําอะไรสักอย่าง อีกฝ่ายจะเชื่อใจว่าจะทําตามที่พูด ถ้าต่างคนต่างทําผิดพลาด ก็ต้องแสดงความซื่อสัตย์และจริงใจด้วยการพูดความจริง แม้ว่าจะรู้สึกอึดอัดก็ตาม
3. การยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบอย่างเข้าใจ (Embracing imperfections)
1
แน่นอนว่า การทะเลาะเบาะแว้งหรือความขัดแย้งระหว่างคนสองคนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะ “ความรัก” เกิดจากความไม่สมบูรณ์แบบของคนสองคน - ที่ต่างมีข้อบกพร่องมาเจอกัน ดังนั้น ต้องยอมรับข้อบกพร่องให้มากพอกับข้อดีที่อีกฝ่ายมี ซึ่งต่างฝ่ายต้อง..
- รับรู้และยอมรับข้อบกพร่องของตนเองอย่างเปิดเผย
- ยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายและยินยอมปรับปรุงข้อบกพร่องบางอย่างให้กันและกันอย่างเต็มใจ และ
- ชื่นชมข้อดีของกันและกันอย่างสม่ำเสมอ
เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบังคับใครได้ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทางบวกเกิดขึ้นได้ โดยต่างฝ่ายต่างยินยอมปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องด้วยความเต็มใจ ต่างเรียนรู้ ให้อภัย และไม่ยอมแพ้ต่อความสัมพันธ์ที่มีแบบง่ายๆ เมื่อนั้นความสัมพันธ์ก็จะเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้
4. การเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ (Being a giver and a taker)
ความเห็นแก่ตัว คือ สัญญาณของความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว
1
ความสัมพันธ์ที่ดีต้องมีการให้และการรับที่เป็นไปอย่างเป็นอิสระ หมายความว่า ไม่ต้องคอยบอกเตือนตัวเองหรือต้องมีวันสำคัญที่พิเศษ เพื่อแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่ายังรักและชื่นชม แต่ต่างฝ่ายต่างต้อง
- ดูแลและเอาใจใส่กันและกันตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างเต็มใจ และ
- ปฏิบัติต่อกันและกันอย่างไร้เหตุผลและการเรียกร้องอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าเป็น “ผู้ให้” เพียงฝ่ายเดียวจะรู้สึกเหนื่อยและบ่อยครั้งทำให้รู้สึกไม่มีความสุข แต่ถ้าเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ จะรู้สึกได้ถึงความสบายใจและมีความสุข ส่งผลให้ความรักและความสัมพันธ์นั้นแข็งแกร่งขึ้น
5. ความรักต้องมีขอบเขต (Boundaries)
บางครั้งอาจเป็นเรื่องยาก ในการหาสมดุลในการให้และการรับ ระหว่างตัวเราและคนรัก
บางครั้งเป็นเรื่องไม่'คุ้ม'ที่ต้องเสียสละ'ค่า'สำคัญบางอย่างในชีวิต เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นความรักกลับมา เพราะ..
ความรักกินไม่ได้..
ความรักไม่ชนะทุกอย่าง..
ความรักไม่ใช่ความอดทน.. และ
ความรักไม่ได้แก้ปัญหาความสัมพันธ์ที่มีในชีวิต..
ดังนั้น ความรักจึงต้องมีขอบเขต ที่ไม่ได้เพียงแค่ช่วยปกป้องตัวเราจากการโดนทำร้ายทางร่างกายและจิตใจแล้ว ยังเป็นการแสดงให้ต่างฝ่ายเข้าใจต่อการปฏิบัติและการได้รับการปฏิบัติจากกันและกัน บนพื้นฐานของขอบเขตที่แต่ละฝ่ายมี
1
นอกจากนี้ การมีขอบเขตเป็นสัญญาณของการ'เคารพกันและกัน' การดูแลกันและกัน โดยให้แต่ละฝ่ายได้มีพื้นที่ส่วนตัวได้หายใจ และมีอิสระได้ทำบางอย่างที่ต้องการได้อย่างสบายใจ นั่นหมายถึง ความรักและความสัมพันธ์ก็ดีขึ้นตามไปด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา