Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
What?
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2023 เวลา 05:54 • ประวัติศาสตร์
อิรัก vs. อิหร่าน ปฐมบทสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Part 1/4)
สงครามอ่าวเปอร์เซีย ที่บรรลือโลกมีจุดเริ่มต้นอย่างไร?
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดในปี 1991
เกิดจากพันธมิตรทั้ง 37 ชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาที่เข้าบุกอิรัก เพื่อยึดครองคูเวต
สงครามอ่าวเปอร์เซียในครั้งที่ 2 เกิดปี 2003 ถือเป็นสงครามที่ส่งผลกระทบต่อชาวตะวันออกกลางอย่างมหาศาลและกินเวลายาวนานหลายทศวรรษ
อะไรคือ ชนวนของสงครามอ่าวเปอร์เซีย?
ซัดดัม ฮุสเซน เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
ไปหาคำตอบพร้อมกัน..
ก่อนอื่น เริ่มจากการเซ็ต GPS ในหัวก่อนว่าอ่าวเปอร์เซีย อยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ?
ถ้าดูจากแผนที่โลกจะเห็นว่า ตะวันออกกลางตั้งอยู่ที่คาบสมุทรอาระเบีย เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุด อยู่ตรงกลาง
พื้นที่เกือบทั้งหมดของคาบสมุทรเป็นที่ตั้งของประเทศซาอุดิอาระเบีย ประมาณกว่า 2 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าไทยประมาณ 5 เท่าตัว
รอบๆ คาบสมุทรมีประเทศอาหรับขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เช่น คูเวต กาตาร์ โอมาน อาหรับเอมิเรตต์ และเยเมน
รัฐเหล่านี้ เรียกว่า เอเมียร์ ในภาษาอาหรับ แปลว่า รัฐ
ด้านตะวันออกของคาบสมุทรอาระเบียน จะมีประเทศมหาอำนาจอย่างอิหร่าน ที่ขวางกั้นกันด้วยอ่าวเปอร์เซีย
อิหร่าน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งยักษ์ในภูมิภาค มีขนาดราว 1.6 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 3 เท่ากว่าๆ ของไทย
เรียกได้ว่า ซาอุฯและอิหร่านเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค
สำหรับซาอุฯ ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นิกายซุนนี
ส่วนอิหร่าน เป็นเปอร์เซีย จะพูดภาษาฟาร์ซี
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย ส่วนใหญ่จะเป็นชีอะห์
ประเทศที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค คือ อิรัก
อยู่ทางเหนือของซาอุฯ ทางตะวันตกของอิหร่าน มีพื้นที่ประมาณ 4 แสนกว่าตารางเมตร เล็กกว่าไทยนิดหน่อย
ในแง่การเมืองภายใน และความสัมพันธ์กับมหาอำนาจโลกของภูมิภาค
ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ จะใกล้ชิดกับซาอุฯ และอิหร่าน
สำหรับซาอุฯ ใกล้ชิด เพราะปฐมกษัตริย์ของซาอุฯฯ อับดุล อาซิด พระราชทานอนุญาตให้บริษัท Standard Oil เข้าไปสำรวจน้ำมัน
จนซาอุฯ กลายเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 30
นอกจากนี้ ซาอุฯ ยังเป็นพันธมิตรสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง แม้แต่ในสงครามสันนิบาตอาหรับกับอิสราเอล ที่มีข้อพิพาทเรื่องดินแดนปาเลสไตน์
ซาอุฯที่ถือว่าเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาคก็ไม่ได้เข้าไปมีบทบาทในทางทหาร
ส่วนอิหร่าน พระเจ้าซาห์ โมฮิมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ครองราชย์ 1941 เป็นประมุขที่สหรัฐฯให้การสนับสนุน
จากการที่สหรัฐฯและสหราชอาณาจักรร่วมกันในปฎิบัติการ Ajax และ Boot โค่นรัฐอำนาจประชาธิปไตยของโมฮัมหมัด โมซาดเดกห์ ที่พยายามจะยึดบริษัทน้ำมัน Anglo-Iranian Oil Company ไปเป็นของชาติอิหร่าน ทำให้อังกฤษเสียแหล่งน้ำมัน
หลังการรัฐประหารในปี 1953 มีการแต่งตั้งพระเจ้าซาห์ โมฮิมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กษัตริย์ซึ่งเป็นเพียงประมุขภายใต้ประชาธิปไตยก่อนหน้านั้น มาเป็นกษัตริย์ในระบบราชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ตั้งแต่ศตวรรษ 50-70 พระเจ้าซาห์ โมฮิมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พยายามควบรวมอำนาจ เพื่อให้อิหร่านเป็นประเทศที่แข็งแกร่ง เป็นมหาอำนาจเทียบเท่ามหาอำนาจโลก
มีการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาวุธที่ทันสมัยจากโลกตะวันตกมหาศาล รวมถึง F14 Tomcat เครื่องบินขับไล่แห่งยุค ซึ่งจะมีบทบาทในสงครามอ่าวเปอร์เซีย
สำหรับอิรัก เดิมเป็นรัฐภายใต้อาณาจักรออตโตมาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร
แต่ในปี 1958 กลุ่มการเมือง โค่นล้มพระเจ้าฟัยศัอลที่ 2 แห่งอิรักและสถาปนา ระบบประชาธิปไตย เป็นสาธารณรัฐแห่งอิรัก
10 ปีต่อมาผู้นำพรรคบาคร์ นำโดย อาห์มัด อัสซาน บาคร์ ยึดอำนาจกลายเป็นประธานาธิบดี
และมีรองประธานาธิบดีที่ชื่อว่า ซัดดัม ฮุสเซน
โดยพรรคบาคร์ ปกครองอิรัก ภายใต้การเมืองเพียงพรรคเดียว
ในแง่ดุลอำนาจระหว่าง 3 ประเทศ
อิรักไม่ไว้ใจประเทศเพื่อนบ้าน อย่างอิหร่าน
เพราะอิหร่านให้การสนับสนุนกบฏชาวเคิร์ด ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิรัก
ซึ่งคิดว่า ตัวเองไม่ใช่ชาวอิรัก ไม่ใช่คนชาติพันธ์ุเดียวกันกับผู้ปกครอง
ดังนั้น จึงต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ เรียกตัวเองว่า “เคอร์ดิสถาน”
ฝั่งอิหร่าน ซึ่งไม่ชอบอิรัก จะคอยประสานงานกับซีเรีย ที่เป็นเพื่อนบ้านกับอิรัก ให้ความช่วยเหลือกบฎชาวเคิร์ด เพื่อให้เกิดความไม่มั่นคงในอิรัก
นอกจากนี้ อิรักกับอิหร่าน ยังมีข้อพิพาทมายาวนาน เกี่ยวกับพรมแดน ตรงแม่น้ำ Shatt Al Arab หรือ แม่น้ำแห่งอาหรับ ซึ่งเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์ ที่แม่น้ำไทกริส และยูเฟรติส ไหลมารวมกัน ก่อนไหลลงอ่าวเปอร์เซีย
บริเวณนั้นเป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญของอิรัก ที่ชื่อ Basra และ 2 เมืองหลักของอิหร่าน
หนึ่งในนั้นคือ อบาดาซึ่งเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำมันสำคัญของ Anglo-Iranian Oil Company
แน่นอนว่า ฝั่งโลกอาหรับไม่อยากเห็นอิรัก-อิหร่านรบกัน เลยมีการเจราจาเพื่อสันติภาพ จนมาบรรลุข้อตกลงในสัญญา Algiers Agreement ในปี 1975
ครั้งนั้นเป็นการพบกันระหว่าง ผู้นำอิหร่าน และซัดดัม ฮุสเซน โดยมีตัวแทนจากแอลจีเรีย โออารี บูเมเดียน ซึ่งตอนหลังได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของแอลจีเรียเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย
ใจความสำคัญของข้อตกลง คือ อิหร่านจะต้องไม่สนับสนุนกบฏชาวเคิร์ด
ส่วนอิรัก ต้องไม่ใช่ปฏิบัติการทางการทหารที่ไม่จำเป็น
การพบกันครั้งนั้น ถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เพราะสามารถหยุดความขัดแย้งของสองชาติใหญ่ในตะวันออกกลางได้
แต่แล้ว เมื่อเกิดการปฏิวัติอิหร่าน ในปี 1978
พระเจ้าซาห์ โมฮิมหมัด เรซา ปาห์ลาวี สละราชบัลลังก์ และลี้ภัยทางการเมือง
อยาตอลเลาห์ โคไมนี คนที่เคยลี้ภัยจากอิหร่าน กลับมาล้มการปกครองเดิม และสถาปนาประเทศเป็น สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิสลาม ในปี 1979
ปรากฏการณ์นี้สร้างแรงกระเพื่อมทั่วภูมิภาค เพราะกลัวว่า อิหร่านจะเป็นศูนย์กลางในการส่งออกโมเดลการปฏิวัติของผู้นำศาสนานิกายชีอะห์ ออกไปยังประเทศต่างๆ ในอ่าวเปอร์เซียและคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งเป็นมุสลิมนิกายซุนนี
ประเทศเหล่านี้กลัวว่าอิทธิพลของอิหร่าน จะบั่นทอนเสถียรภายในประเทศต่างๆ ในพื้นที่
ในเวลานั้น หนึ่งในศัตรูของอิหร่าน คือ สหรัฐฯ
รัฐบาลอิหร่าน ตอบโต้ด้วยการจับตัวประกันสหรัฐฯ 55 คนเป็นเวลา 2 ปี
สหรัฐฯ ต้องให้ความช่วยเหลือด้วยปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี แต่ปฏิบัติการนั้่นล้มเหลว เจ้าหน้าที่ที่ส่งไปช่วย เสียชีวิต 8 นาย
สหรัฐฯเสียหน้า และอิทธิพลในตะวันออกกลาง เพราะอิหร่านเป็นแหล่งน้ำมันและเป็นแนวร่วมด้านความมั่นคง
ด้านอิรัก ในปี 1979 ประธานาธิบดี เจอซัดดัม ฮุสเซนล้มอำนาจ ตั้งตัวเองเป็นประธานาธิบดี
ซัดดัม ฮุสเซนอยากสร้างความมั่นคงให้ตัวเอง เพราะกลัวกลุ่มมุสลิมชีอะห์ จะได้โมเดลจากอิหร่าน และต้องการกำจัดเสี้ยนหนามคือ ชาวเคิร์ด เลยทำสงครามกับอิหร่าน
โดยมองว่า ตอนนั้นอิหร่านอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนทางการเมืองสูง พันธมิตรอย่างสหรัฐฯ ก็เริ่มมีรอยปริแตก
คิดว่า ผู้นำใหม่ น่าจะชุลมุนกับปัญหาภายใน น่าจะรับมือกับการโจมตีแบบสายฟ้าแลบไม่ได้
จึงตั้งตัวเอง ที่ไม่เคยเป็นทหาร เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในการโจมตีอิหร่าน
แต่กลายเป็นว่า สงครามที่คิดว่าง่าย ยืดเยื้อ 7 ปี
สงครามนี้ บั่นทอนเสถียรภาพทั้งสองฝ่าย
สงครามเปิดศึกในปี 1980 โดยอ้างว่า ข้อตกลงที่เคยทำ เป็นโมฆะ
เพราะ พระเจ้าซาห์ โมฮิมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ที่ลงนามไม่รุกรานไม่ได้เป็นประมุข อิรัก จึงไม่จำเป็นต้องเคารพสัญญา
อิหร่านไม่คิดว่าจะเจอศึกใน ศึกนอก ตอนแรกก็เพลี่ยงพล้ำ
ซัดดัม รู้ดีว่ากองทัพที่แข็งแกร่งสุดของอิหร่านคือกองทัพอากาศที่มีเครื่องบินรบ F14 Tomcat หลายฝูง
เลยคิดว่าอินทรีจะดุที่สุด ตอนเหินขึ้นไปบนฟ้า
เพราะฉะนั้นถ้าจะปราบต้องโจมตี F14 Tomcat ตอนที่ยังไม่ได้ขึ้นบิน
1
ซัดดัมเลยส่งกองทัพอากาศไปทิ้งระเบิดที่กองบินการทัพอากาศ
ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝูงบิน 10 แห่งพร้อมกัน ก่อน F14 Tomcat จะบินขึ้นสู่น่านฟ้า
กลยุทธ์นี้ ซัดดัม ก็อปมาจากกลยุทธ์ที่ซาอุฯใช้ตัดกำลังกองกำลังสันนิบาต
ตอนรบกันที่ปาเลสไตน์
การโจมตีดังกล่าว ถือว่ายกที่ 1 ของสงครามอ่าวเปอร์เซียเริ่มแล้ว
แล้วสงครามที่ยืดเยื้อมา 7 ปีส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้อย่างไร
ติดตามต่อตอนต่อไป
ที่มา : 8 Minute History EP.178
ประวัติศาสตร์
การศึกษา
ธุรกิจ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ถอดบทเรียนความรู้ดีๆ จาก 8 Minute history
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย