16 มี.ค. 2023 เวลา 03:19 • ประวัติศาสตร์

ทำไมอิรักต้องรุกรานคูเวต ชนวนเหตุสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Part 2/4)

ความเดิมตอนที่แล้ว ซัดดัม ฮุสเซน คิดแผนจะรักษาฐานอำนาจเดิมของตัวเองเอาไว้ ด้วยการทำสงครามกับอิหร่าน
เริ่มต้นด้วยการรุกรานกองทัพอิหร่านผ่านการสะกดกองทัพอากาศ F14 Tomcat ตอนที่ยังไม่ได้ทำการรบเหนือน่านฟ้า
ที่สุดแล้วเครื่องบินรบของอิหร่านเสียหายแค่เล็กน้อยเท่านั้น ..
แต่ซัดดัม ฮุสเซน ไม่ได้คิดจะโจมตีแต่ทางอากาศ ยังมีการเคลื่อนกำลังมหึมา 6 กองพล ในการโจมตีทางบก เพื่อครอบครองทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ Shatt al-Arab ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นข้อพิพาทระหว่างอิรักและอิหร่าน
ด้วยการเคลื่อนพลเข้าสู่เมืองที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ในเมืองชายแดนของอิหร่านที่ชื่อว่า Khorramshahr
ตอนนั้นกองทัพบกอิหร่านไม่ได้เตรียมพร้อม จึงสูญเสียทหารที่เป็นกองทัพบกถึง 7,000 นาย ในเวลารบที่ไม่นาน
สถานการณ์ของอิหราน ยิ่งเสียเปรียบ เพราะเป็นช่วงที่ถูกโดดเดี่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน
เพราะถึงจะเป็นประเทศมุสลิมด้วยกัน และก่อนหน้านี้ก็มีความสัมพันธ์อันดี
แต่ส่วนใหญ่กลัวว่า อิหร่านจะส่งออกโมเดลการปฏิวัติของผู้นำศาสนานิกายชีอะห์
ฝั่งผู้นำในชาติตะวันออกกลางและชาติตะวันตก เลยไม่ให้การสนับสนุนอิหร่าน
ส่วนกองทัพของอิหร่านก็มีปัญหา เพราะพอไม่มีสหรัฐเป็นหลังพิง ทำให้พอรบแล้วอาวุธสึกหรอ ไม่มีอะไหล่พอจะซ่อม เลยใช้วิธีกินกันเอง (Cannibalization) หมายความว่า เครื่องบินหรือรถถังคันไหนอะไหล่ชำรุด เสียหาย จะถอดจากลำอื่น หรือคันอื่น ทำให้ยังทำงานต่อไปได้ แต่ก็ทำให้ยุทโธปกรณ์ของอิหร่านยิ่งวันยิ่งขนาดเล็กลง
ผิดกับอิรัก มีโซเวียตและฝรั่งเศสหนุนหลัง
ฝรั่งเศส ให้การสนับสนุนเครื่องบินรบ Mirage หลายฝูง เพื่อต่อกรกับ F14 Tomcat บนน่านฟ้า
ส่วนซาอุ และคูเวต ให้การสนับสนุนการเงินกับอิรัก
กลุ่มที่พอจะเป็นพันธมิตรกับอิหร่าน คือ
-ชาวเคิร์ด ซึ่งเป็นเสี้ยนหนามอิรัก
-ซีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่สำคัญกับอิรัก เพราะถ้าปิดช่องทางที่อิรักใช้ขนส่งน้ำมันไปทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก็จะทำให้อิรักขายน้ำมันไม่ได้ และไม่มีเงินบำรุงกองทัพ
-อิสราเอง เพราะ อิรัก มีอาวุธลับอีกอย่าง คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ฝรั่งเศสเคยสร้างเอาไว้ตอนศตวรรษที่ 70
เลยกลัวว่าถ้าหากอิรักแข็งแกร่งขึ้น และพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จนกลายเป็นหัวรบนิวเคลียร์ จะกลายเป็นภัยคุกคามของอิสราเอล ซึ่งอยู่ไม่ไกล เลยส่งฝูงบิน F-16 Falcon ไปผสมโรงทำลายร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของอิรักพร้อมกัน
อย่างไรก็ตาม แรกเริ่ม ซัดดัม ฮุสเซน ตั้งใจจะโจมตีอิหร่านแบบสายฟ้าแลบ แต่ผลไม่เป็นไปตามคาด เพราะอิหร่านแข็งแกร่งกว่าที่คิด แม้ว่าจะมีความเสียเปรียบอยู่มาก
ในทางกลับกัน ผลของการทำสงคราม ทำให้ทหารของอิหร่าน ยิ่งรบยิ่งแกร่ง
บ้านเมืองที่เคยแตกเป็นเสี่ยงๆ กลายเป็นว่าเริ่มสามัคคี
 
นอกจากนี้อิหร่าน งัดกลยุทธ์ขุดหลุมเพลาะ ซึ่งใช้ตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อต้านทานกองทัพอิรัก และช่วยลดการสูญเสียของฝั่งอิหร่านได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญ ถึงอิหร่านจะมีพันธมิตรในเวลานั้นน้อย แต่มีแต้มต่ออิรักในบางพื้นที่ เพราะร่วมกับซีเรียและชาวเคิร์ด ปิดทางลำเลียงสงออกน้ำมันของอิรัก ทำให้ขาดทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่จะทำสงครามได้อย่างแข็งแกร่ง
ทั้งหมดนี้ทำให้อิหร่านจากที่เป็นฝ่ายรับ กลายมาเป็นฝ่ายรุก โดยเฉพาะในเมือง Basra ซึ่งเป็นเมืองสำคัญที่อิรักใช้ลำเลียงน้ำมันเพื่อส่งออกทางใต้ ผ่านอ่าวเปอร์เซีย
สงครามยืดเยื้อมา 2 ปีกว่านอกจากอิรักยึดพื้นที่อิหร่านไม่ได้
อิหร่านยังรุกเข้าไปทำสงครามในพื้นที่อิรัก จนกลายเป็นสงครามที่อยู่ในพื้นที่อิรักมากกว่าอิหร่าน กระทั่งจบสงคราม
ในช่วงปี 1980 เงินที่อิรักใช้ทำสงคราม คือ เงินที่ขายน้ำมันแล้วมาซื้ออาวุธ
แต่พอถูกตัดเส้นทางลำเลียงน้ำมัน ทั้งที่ผ่านซีเรีย ที่ไปออกทะเล เมดิเตอร์เรเนียนและ เมือง Basra ไปออกอินโดนีเซีย ทำให้ขายน้ำมันไม่ได้
ทางออก คือ ขอกู้เงินจากประเทศพันธมิตร
ประเทศที่เป็นเจ้าหนี้หลักๆ คือ คูเวตและซาอุ
คูเวต ให้กู้ประมาณ 14,000 ล้านดอลลาห์สหรัฐ
ซาอุ ให้กู้ประมาณ 26,000 ล้านดอลลาห์สหรัฐ
โดยเหตุผลหลักๆ คือ กลัวการส่งออกโมเดลปฎิวัติของอิหร่าน
รบไปรบมา ในปี 1982 ซัดดัม ฮุสเซน เจรจาขอสงบศึก เพราะ รู้ดีกว่าสู้ไม่ได้
แต่รัฐบาลเตหรานบอกว่า จะยอมสงบสุข โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ
1.ผู้นำซัดดัม ฮุสเซน ต้องลงจากอำนาจ พร้อมจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม
2.อิรัก ต้องเปลี่ยนระบอบมาเป็นสาธารณรัฐอิสลามเหมือนอิหร่าน
ถ้าทำข้อใดข้อหนึ่ง หรือสองข้อไม่ได้ อิหร่านจะทำสงครามกับอิรักต่อไป
แน่นอนว่า ซัดดัม ฮุสเซนไม่ยอม และต้องจำใจทำสงครามต่อ
สงครามยืดเยื้อต่อไป
 
ทั้งสองฝ่ายเปลี่ยนรูปแบบการรบ แทนที่สู้กันทางภาคพื้นดิน หรืออากาศ
มาเป็นการทำสงคราม ที่เรียกว่า The Tankers War
ต่างฝ่ายต่างส่งเฮลิคอปเตอร์ และกองทัพอากาศของตัวเองไปทิ้งระเบิดเรือขนส่งน้ำมันของอีกฝ่าย เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายสามารถส่งน้ำมันไปขายและมีเงินมาทำสงคราม
ซึ่งถือว่าเป็นสงคราม ที่เผาเงินและเผาน้ำมันพอสงควร
มหาอำนาจทั่วโลกเห็นแล้ว คิดว่าไม่ดีแน่
เลยต้องเข้ามาช่วยคุ้มกันชาติที่เป็นพันธมิตรของตัวเอง
เพราะถ้าสงครามดำเนินไปแบบนี้ ชาติตะวันตก และทั่วโลกที่ต้องการน้ำมันเดือดร้อน จากการทำสงครามแบบนี้ ที่ไม่ต่างเป็นการเผาน้ำมันลงทะเล แบบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
อิรัก ได้รับการสนับสนุนจากโลกตะวันตกต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าน่าจะเผด็จศึกได้ก่อน เพราะอิหร่าน ยิ่งรบยิ่งอ่อนล้า แต่ก็เอาชนะไม่ได้
ส่วนหนึ่งมาจาก การมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ไม่เคยเป็นทหารแนวหน้า อย่างซัดดัม ฮุสเซน ทำให้ผู้นำเหล่าทัพของอิรักทนไม่ไหว ที่จะให้ผู้นำที่ไม่มีความรู้ทางการทหารมาเป็นผู้บังคับบัญชา เลยขอให้ถอยออกไปก่อน
ดังนั้น จะเห็นว่า พอช่วงปลายๆ สงคราม สถานการณ์ของอิรักดีขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเผด็จศึกได้
ในเวลานั้นกองทัพอิหร่าน รู้ดีว่า​ ถ้าจะรบต่อต้องมีงบประมาณมหาศาล
ผู้นำเองก็ไม่อยากรบต่อ หลังจากทั้งสองฝ่ายรบกันมาสะบักสะบอม 7 ปี รู้ว่า รบต่อไป ก็เจ็บทั้งคู่ เศรษฐกิจย่อบยับ แต่ถ้าจะหยุดรบเฉยๆ ก็เสียหน้า
โชคดีที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก้าวเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
ทั้งสองประเทศก็บรรลุข้อตกลงกัน
สงครามจึงสิ้นสุดลงในปี 1988
สิริรวมเวลา 7 ปี 4 เดือน มีทั้งกำลังพลและพลเรือน เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม แม้สงครามจะจบลง แต่เศรษฐกิจอิรักพังยับ จนไม่มีความสามารถชำระหนี้ และไม่มีวี่แววจะจ่ายได้ ซัดดัม ฮุสเซน ทำได้แค่บ่ายเบี่ยงไปเรื่อย
ประเทศเจ้าหนี้ก็ทวงถามหนี้อย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในนั้น คือ คูเวต​ ประเทศเพื่อนบ้านที่ร่ำรวย แต่ไม่มีแสนยานุภาพในการปกป้องตัวเอง​ อยู่ทางใต้ของอิรัก
มีขนาดเล็กๆ มาก 17,000 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าจังหวัดนครราชสีมาของไทย แต่ใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 12 เท่า
มีแต้มต่อ คือ มีบ่อน้ำมันเยอะ และพื้นที่ติดอ่าวเปอร์เซีย เลยส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศได้เยอะ
 
เหตุผลที่คูเวตมีพื้นที่เล็กๆ เพราะแต่เดิม พื้นที่บริเวณตะวันออกลาง เกือบทั้งหมด ไม่นับอ่าวเปอร์เซีย เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน
กระทั่งอาณาจักรออตโตมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอำนาจอย่างBritish Empire เข้ามาวาดแผนที่ แบ่งประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลาง
British Empire ต้องการตัดทอนอำนาจของอิรัก เลยตัดพื้นที่เล็กๆ ทางตอนใต้ ให้กลายเป็นประเทศเอกราช ที่ชื่อคูเวต มีเอกราชตั้งแต่ปี 1922 เป็นต้นมา
แต่อิรัก คิดว่า คูเวตซึ่งมีทางออกทะเล ควรเป็นส่วนหนึ่งของอิรักมานานแล้ว
แต่ตั้งแต่ปี 1922 เป็นต้นมา จนสงครามอิรัก-อิหร่าน ทั้งสองชาติยังไม่เคยระหองระแหงกัน
จนกระทั่ง พอคูเวตเริ่มทวงหนี้ บวกกับเมื่อราคาน้ำมันโลกในขณะนั้นตกต่ำ ทำให้รายได้จากน้ำมัน ซึ่งเป็นรายได้หลักของอิรักลดลงมาก
ในตอนนั้นอิรักวิพากษ์วิจารณ์ประเทศสมาชิกโอเปคเกี่ยวกับการคุมราคาน้ำมัน และยังกล่าวหาว่าประเทศคูเวตดูดน้ำมันจากแหล่งของอิรักไป
อิรักเริ่มเคลื่อนพรมแดนเตรียมรบ
ก่อนรบ ได้หารือกับตัวแทนจากสหรัฐ ทั้งเอกอัครราชทูตของสหรัฐ ในกรุงแบกแดด และจากรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของสหรัฐว่า สหรัฐจะไม่ได้เข้าไปแทรกแซงความขัดแย้งระหว่างคูเวตกับอิรัก เลยคิดว่า สหรัฐฯไฟเขียว
หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ อิรักใช้เวลา 2 วัน ยึดครองคูเวตได้ทั้งประเทศ ทำให้ภาระหนี้จบลงโดยปริยาย
แต่กลายเป็นชนวนไปสู่สงครามอ่านเปอร์เซีย ที่สหรัฐฯและพันธมิตรอีก 36 ชาติ รวมตัวกับประกาศสงครามกับอิรัก
ที่มา : 8 Minute History EP 179
โฆษณา