19 มี.ค. 2023 เวลา 04:11 • ประวัติศาสตร์

ปฏิบัติการพายุทะเลทราย สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 (ตอน3/4)

ความเดิมตอนที่แล้ว หลังจากอิรักตัดสินใจบุกคูเวต
เป็นเหตุให้สหรัฐและพันธมิตรอีก 30 กว่าประเทศรวมตัวกันประกาศสงครามกับอิรัก เพื่อกดดันให้คืนเอกราชให้กับคูเวต
ซึ่งถือเป็นการเปิดฉาก สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 ในปี 1991
อิรัก เปิดฉากบุกโจมตีคูเวตทั้งภาคพื้นดินที่ใช้รถถัง และกองทัพอากาศ
แน่นอนว่า ด้วยแสนยานุภาพและเหี้ยมโหดของกองทัพอิรักที่เหนือกว่าคูเวต
ทำให้คูเวตตกเป็นของอิรักใน 48 ชั่วโมง
ถามว่า ทำไมกองทัพอิรักถึงแข็งแกร่ง
ต้องบอกว่า หลังจบสงครามอิรัก-อิหร่าน
ขนาดของกองทัพอิรัก ใหญ่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก มีกำลังพลถึง 955,000 นาย เทียบกับคูเวตเป็นประเทศเล็กมากๆ ไม่เคยเจอภัยคุกคาม และไม่เคยคิดว่าจะเจอการรุกรานจากประเทศที่เป็นลูกหนี้ และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันมายาวนาน
ที่สำคัญยังเป็นประเทศมุลสิมที่สัมพันธ์ใกล้ชิดมายาวนาน
ตอนที่อิรักปฏิบัติการโจมตี คูเวตมีกองกำลังทางบก เพียงแค่ 16,000 นาย
มีกองทัพอากาศ 2,200 นาย และไม่เคยผ่านการฝึกฝนอย่างเข้มงวด​
แถมตอนที่กองทัพอิรักมาประชิดชายแดน ทหารส่วนใหญ่อยู่ในช่วงใช้วันลาพักร้อน
12 ชั่วโมงแรกของการรบ อิรักสามารถเข้าไปถึงพระราชวัง Dasman
ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าของนคร Sheik Jaber Al Ahmed Al Sabah
ซึ่งลี้ภัยไปซาอุดิอารเบีย
นอกจากนี้ยังมีกำลังรถถังและกองทัพเรือปิดทางน้ำคูเวต ตรงปลายแม่น้ำ Shatt al-Arab
หลังจากสามารถยึดครองคูเวตได้สำเร็จ ซัดดัม ฮุสเซน ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล เปลี่ยนชื่อจากอาณาจักรคูเวต เป็น สาธารณรัฐคูเวต
โดยส่งญาติของตัวเอง คือ Ali Hassan Al Majid มาปกครอง
ก่อนเฉือนพื้นที่ตอนบนของคูเวต ติดกับ จังหวัด Basrah
ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของอิรัก โดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 19 ของอิรัก
แล้วตั้งชื่อว่า ดินแดนของซัดดัมฮุสเซน
คำถาม คือ ในเวลานั้นโลกแคร์ในสิ่งที่ซัดดัม อุสเซนทำไหม?
ต้องตอบว่า สิ่งที่โลกแคร์ คือ สัดส่วนของกำลังการผลิตน้ำมันของโลกที่เปลี่ยนไป
เพราะในเวลานั้น กำลังการผลิตน้ำมัน 10% ตกเป็นของอิรัก
ของคูเวต อีก 10% ดังนั้นถ้าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก
เท่ากับว่า กำลังการผลิตน้ำมัน 20% ของโลก จะต้องอยู่ในมือซัดดัม ฮุสเซน
ที่น่าสนใจ คือ หลังจบสงคราม อิรักไม่ได้วางกำลังพลกระจายตัวทั่วคูเวต
แต่เคลื่อนพลไปประชิดด้านใต้ของคูเวต คือ ระหว่างคูเวตและซาอุฯ
ซึ่งซาอุ มีกำลังการผลิตน้ำมันในทศวรรษนั้น 30% ของโลก
ท่าทีของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) มีการประชุมวาระเร่งด่วน คือ ประฌามอิรัก และ มีมติเอกฉันท์ให้ถอนกำลังออกจากคูเวตภายใน 6 เดือน
ที่น่าสนใจ คือ ที่ผ่านมา ที่ประชุมนี้จะไม่มีมติเอกฉันท์ แต่ครั้งนั้นการประชุมกลับมีมติเอกฉันท์ แม้แต่พันธมิตรที่เหนียวแน่นของอิรัก อย่างฝรั่งเศส และอินเดีย ก็ลงมติประฌามอิรักเช่นกัน
โดยมติของ UNSC ที่สำคัญ คือ นอกจากประฌามอิรัก ยังให้มีการคว่ำบาตรเศรษฐกิจอิรัก และเคลื่อนกองทัพเรือไปปิดทางออกทางทะเลของอิรัก
ว่ากันว่า ท่าทีของประชาคมโลกในเวลานั้น เป็นการตอบโต้ ความห้าวของอิรัก ที่ยึดครองคูเวตแล้ว ทำทีเหมือนจะบุกซาอุฯ
ซึ่งถ้าบุกซาอุฯจริง มีความหมายว่า กำลังการผลิตน้ำมัน 50%ของโลอาจตกอยู่ในมือของอิรัก
สำหรับซาอุฯ ถึงจะมีกองทัพที่มีแสนยานุภาพ แต่กองทัพอิรักในเวลานั้นก็ไม่ธรรมดา บวกกับประสบการณ์รบที่ช่ำชองมากว่า 10 ปี ทำให้ซาอุฯ ต้องขอให้พันธมิตรนานาชาติเข้าไปยังพรมแดนซาอุฯ เพื่อปกป้องการรุกรานซาอุฯ จากเพื่อนบ้านที่มีความทะเยอทะยาน
ในเวลานั้น ท่าทีของ UNSC ก็ด้านหนึ่ง
แต่อีกด้าน ในฝั่งพี่ใหญ่ของโลก อย่างสหรัฐฯ ซึ่งตอนนั้นอยู่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี จอร์จ บุช (ผู้พ่อ)
มีรัฐมนตรีกลาโหม คือ Dick Cheney
มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่ง Pentagon พลเอก Colin Powell
และที่ปรึกษาทางการเมือง Paul Wolfowitz
คนนี้น่าสนใจ เพราะอีก 12 ปีต่อมายังมีบทบาทตอนจอร์จ บุช (ผู้ลูก) ในการทำสงครามกับอิรัก อันเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2 ในปี 2003
กลุ่มคนเหล่านี้ ได้ประชุมกันทันที และคลอดปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield) เพื่อเตรียมกำลังพลให้พร้อมปฏิบัติการปกป้องซาอุดิอารเบีย
พวกเขาใช้เวลาประชุม 5 วัน และส่งกองกำลังไปยังอ่าวเปอร์เซีย
ส่งทัังเรือรบ และเครื่องบินรบไป
ซัดดัม ฮุสเซน ประฌามการกระทำของชาติตะวันตก เพื่อปกป้องซาอุฯว่าเป็นการกระทำของปีศาจ
ขณะที่ UNSC มีมติยื่นคำขาดให้อิรักถอนทหารจากคูเวตภายในม.ค. ปี 1991
ในช่วงแรกยังแค่กดดันให้ถอนทหาร ยังไม่ได้มีมติให้ส่งกองกำลังผสมเข้าไป
ทำให้สหรัฐฯ ต้องหาพันธมิตรมาร่วมปฏิบัติการ
นั่นคือ สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของรัฐบาลนางมาร์กาเรต แทชเชอร์
ก่อนเข้าสู่ยุคจอห์น เมเยอร์
แต่จะไปรบดื้อๆก็ไม่ได้ เลยหาข้ออ้างว่า อิรัก มีอาวุธชีวภาพ WMD (Weapons of Mass Destruction) หรือ อาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างระดับครอบคลุมสูง
โดยหลักฐานที่ชาติพันธมิตรใช้กล่าวอ้าง คือ อาวุธที่ชาวอิรักใช้สังหารชาวเคริ์ดในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน
ซึ่งหลักฐานนั้นหนักแน่นพอให้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร เข้าไปในพื้นที่คูเวตที่อยู่ในอาณัติของอิรัก ทันทีที่ผ่านเส้นตายมติของ UNSC
แต่อิรักยังไม่ยอมไม่ถอนทหาร
กองกำลังผสมเปิดฉากโจมตี เริ่มต้นปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm) ซึ่งต่อเนื่องมาจากปฏิบัติการโล่ทะเลทราย มีกำลังพลรวม 956,000 นาย
สหรัฐฯเน้นการโจมตีทางอากาศเป็นหลัก ควบคู่ไปกับขีปนาวุธ และเผด็จศึกด้วยกองทัพภาพพื้นดิน
อิรักสู้ด้วยการยิงขีปนาวุธไปที่อิสราเอล เพื่อยั่วเย้า ให้ชาติมุสลิมมาร่วมกันเปิดแนวรบใหม่ เพื่อต่อต้านอิสราเอล
แต่ไม่มีใครคิดแบบเดียวกัน เพราะอิสราเอล และอีกหลายประเทศรู้ทัน เลยนิ่งเฉย
สุดท้ายสหรัฐฯปลดปล่อยคูเวตจากการรุกรานของอิรักสำเร็จ ในวันที่ 28 ก.พ. 1991 รวมระยะเวลาปฏิบัติการ คือ 6 สัปดาห์
ผลของสงครามนั้นไม่ได้ถอนรากถอนโค่นการปกครองของซัดดัม ฮุสซัน
แต่ทอดเวลาไปอีก 12 ปี จนทำให้เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในตอนต่อไป..
ที่มา : 8 Minute History EP.180
อ่านตอนก่อนหน้านี้
โฆษณา