26 มี.ค. 2023 เวลา 12:58 • ปรัชญา

นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 18 เรื่อง “ผีที่เกาะร้าง”

ณ วัดแห่งหนึ่ง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างรู้ดีกันว่า มีพระอาจารย์รูปหนึ่ง ท่านนิยมไปนั่งปฏิบัติธรรมที่เกาะร้างแห่งหนึ่งมาก ซึ่งท่านก็จะเดินทางไปทุกคืนไม่มีขาด และวันนี้ก็เช่นกัน แต่ทว่าท่านไม่รู้เลยว่าเกาะร้างที่สงบจะกลายเป็นเกาะร้างที่น่ากลัว
เพราะในคืนนี้ กลุ่มวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งซึ่งคึกคะนองตามประสา ได้สุมหัวกันว่า วันนี้จะตั้งใจหลอกพระอาจารย์ให้หัวโกร๋นไปเลย และเมื่อท่านเดินผ่านต้นไม้ที่พวกเขาแอบซ่อนตัวอยู่นั้น พวกกลุ่มวัยรุ่นก็จะเอื้อมมือมาจับหัวของพระอาจารย์
แต่แทนที่พระอาจารย์จะวิ่งป่าราบตามที่กลุ่มวัยรุ่นตั้งใจไว้ ท่านกลับยืนนิ่งๆ แบบสบายๆ ทั้งที่มือของพวกเขามาจับที่หัวของท่านอยู่ และด้วยท่าทีของท่านที่นิ่งผิดปกติเกินไปนี่เอง จึงทำให้กลุ่มวัยรุ่นรู้สึกว่านี่ต้องไม่ใช่พระอาจารย์แน่ๆ หรือนี่อาจจะเป็นผีบนเกาะร้าง…ก็เป็นได้
เป็นเช่นนั้นแล้วพวกเขาต่างมองหน้ากัน แล้วก็วิ่งกระเจิดกระเจิงไปต่างทิศต่างทาง ระหว่างที่พวกเขาวิ่งเตลิดอย่างไม่คิดชีวิต พระอาจารย์ที่พวกเขาเข้าใจกันว่าเป็นผีก็ยังยืนนิ่งไม่ไหวติงแม้แต่น้อย ยิ่งทำให้พวกเขามั่นใจว่าเจอดีเข้าให้แล้ว
1
เมื่อฟ้าสางเข้าสู่วันรุ่งขึ้น บรรดากลุ่มวัยรุ่นเหล่านั้นก็วิ่งมาที่วัดซึ่งพระอาจารย์พำนักอยู่ พวกเขาต่างเข้าพบพระอาจารย์แล้วถามขึ้นว่า
พระอาจารย์รู้ไหมว่าที่เกาะร้างนั้นมีผีสิงอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าท่านรู้เรื่องนี้บ้างหรือไม่
กลุ่มวัยรุ่น
พระอาจารย์ตอบกลับไปว่า
อาตมาไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย
พระอาจารย์
กลุ่มวัยรุ่นเลยซักต่อว่า
มีสิท่าน เมื่อคืนมีข่าวว่าคนที่เดินผ่านเกาะร้างถูกผีเอามือมาจับหัวด้วยนะท่าน
กลุ่มวัยรุ่น
เมื่อพระอาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็กล่าวกลับไปว่า
อ๋อ… นั่นมันไม่ใช่ผีหรอก มันเป็นวัยรุ่นในหมู่บ้านที่คึกคะนองนี่แหละ
พระอาจารย์
พอได้ยินเช่นนี้บรรดาวัยรุ่นถึงกับสะอึกไปเลย และได้ถามพระอาจารย์ต่ออีกว่าทำไมท่านจึงพูดเช่นนี้ ท่านเลยตอบว่า
จะเป็นผีไปได้อย่างไรเล่า ก็ผีน่ะ ไม่มีมือที่หนานุ่มและอุ่นเช่นนั้นหรอก
พระอาจารย์
พอพูดเช่นนี้เสร็จ พวกเด็กวัยรุ่นก็เริ่มหน้าสลด พระอาจารย์เลยรีบใช้โอกาสนี้สอนสั่งทันทีว่า
เมื่อจวนจะออกสนามรบแล้วไม่กลัวตาย เป็นความกล้าหาญของท่านนายพล เมื่อจะเข้าป่าแล้วไม่กลัวเสือ เป็นความกล้าของนายพราน เมื่อจะลงน้ำไม่กลัวมังกร เป็นความกล้าของชาวประมง
พระอาจารย์
มาถึงตรงนี้พวกวัยรุ่นเลยย้อนถามบ้างว่า “แล้วความกล้าของพระคืออะไรล่ะท่าน”
พระอาจารย์เลยตอบออกมาแบบสั้นๆ เพียงคำเดียวว่า “รู้”
วัยรุ่นดูงงๆ กับคำตอบ พระอาจารย์เลยอธิบายให้เพิ่มเติมว่า
เมื่อรู้แล้ว แม้แต่ความเกิดความตาย เราก็ยังก้าวข้ามไปได้ แล้วอย่างนี้ยังจะมีความกลัวหลงเหลืออยู่อีกหรือ
พระอาจารย์
เครดิตภาพ: Pixabay
  • สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
  • การที่พระอาจารย์ไม่สะดุ้งตกใจเมื่อถูกมือของกลุ่มวัยรุ่นจับหัวของท่าน เป็นเพราะท่านมี “สติ” และรู้ได้ว่านั่นไม่ใช่ผีที่ไหน มือนุ่มและอุ่นย่อมเป็นของคน ดังนั้นเมื่อ “ความรู้” เกิด “สติ” ก็เกิด “ความกลัว” จึงไม่เกิด ความรู้ของท่านก็คือ “ความเข้าใจ” เมื่อเข้าใจแล้วก็เกิดสติจึงไม่มีความกลัว
1
  • ดังนั้น “ความรู้” ก็คือการมีสติอย่างหนึ่ง ดังนั้นบทเรียนความคิดจากนิทานเรื่องนี้ก็คือ “การมีสติ” เมื่อเกิดแล้ว เราย่อมทำสิ่งต่างๆได้ประสบความสำเร็จได้ดีและเร็ว
1
  • สติก็มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ไม่ให้ไขว่เขวเข้าหาสิ่งผิดชั่วร้าย ตระหนักในหน้าที่การงานที่เราต้องรับผิดชอบ ทำให้เราเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี ไม่ทำให้เราฟุ้งซ่าน ฝึกให้เราเป็นคนไม่โกรธง่าย เป็นต้น
1
  • การที่เรามองโลกในแง่ดีก็ถือเป็นการฝึกสติอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อเรารู้สึกดีหรือบวกแล้ว เราก็จะมีความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่ฟุ้งซ่าน สติก็ย่อมเกิดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น บางทีหากเราไม่เคร่งเครียดหรือคิดมากจนเกิดแง่ลบต่อสิ่งใดแล้ว ดูว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาไป เราก็จะเกิดความสุข
2
  • ในแง่ของการทำงาน เมื่อเราไปพบคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เราก็ต้องมีสติอยู่เสมอ ผ่านทางกิริยาท่าทางและวาจาอ่อนน้อมถ่อมตนเหมาะกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เมื่อสติควบคุมได้ สิ่งอื่นๆที่ดีก็ตามมา และมีผลดีกับเรา
1
เครดิตภาพ: Michael Morgenstern/Tulane News
  • ที่มาของนิทาน:
แปลจากต้นฉบับชื่อว่า 禅无杂邪
หนังสือ วิถีแห่งปัญญา : เพียงอ่านนิทานเซน ก็เปลี่ยนชีวิตเราไปตลอดกาล, อารมณ์เซน, Feel Good Publishing, 2565, ISBN 978-616-578-665-2
<เครดิตภาพปก: Zen Painting, Sesshu – Zen Island / Pinterest by albaquirky>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา