19 มี.ค. 2023 เวลา 12:26 • ปรัชญา

นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 17 เรื่อง “พยัคฆ์สู้มังกร”

พระเซนก็มีหน้าที่อื่นนอกจากปฏิบัติธรรมเช่นกัน เช่นที่วัดแห่งหนึ่ง มีการเกณฑ์พระหนุ่มๆ มาช่วยกันวาดภาพปริศนาธรรมที่กำแพงวัด ซึ่งครั้งนี้พวกท่านได้รับมอบหมายให้วาดรูปมังกรกำลังจะกระโจนลงมาสู้กับเสือ ซึ่งมังกรตัวนี้อยู่บนท้องฟ้า ขณะที่เสืออยู่ในหุบเขา
2
จะว่าไปแล้ว แม้พระเหล่านี้จะมีฝีมือในการวาดที่ไม่ธรรมดา แต่ปรากฏว่า ยิ่งวาดก็ยิ่งดูเหมือนไม่เป็นธรรมชาติเอาเสียเลย จึงต้องมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ไม่ว่าจะแก้สักกี่ที ก็ดูเหมือนว่าไม่ดีขึ้นเท่าไร
และในขณะนั้นเองพระอาจารย์ได้เดินผ่านมา เมื่อท่านได้พินิจพิจารณาภาพวาดเสือและมังกรนี้สักพัก ท่านก็กล่าวแนะนำเหล่าพระหนุ่มว่า
อันที่จริงแล้ว ลักษณะหน้าตาของเสือและมังกรนี้ใช้ได้แล้ว เพียงแต่ว่าท่าทางเฉพาะตัวของเสือและมังกรต่างหากที่เป็นปัญหา ดังนั้นจึงทำให้ดูขัดๆ ไม่เป็นธรรมชาติเสียที
พระอาจารย์
1
พระหนุ่มเหล่านั้นพอได้ยินเลยขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ต่อว่า แล้วท่าทางเฉพาะตัวของเสือและมังกรดังที่ท่านอาจารย์ว่าคืออะไรกันแน่ ท่านอาจารย์เลยตอบว่า
พวกเจ้าเคยสังเกตบ้างไหมล่ะว่า ขณะที่สัตว์ทั้งสองจะจู่โจมเหยื่อนั้น มันต่างมีท่าทางเฉพาะตัวอย่างไรกัน ลองนึกภาพตามนะ
พระอาจารย์
1
มังกรนั้นยามที่จะจู่โจมมันจะหดหัวไปทางด้านหลัง ส่วนเสือที่จะตะครุบเหยื่อมันก็จะกดหัวลงต่ำในท่าเตรียมพร้อม ซึ่งมังกรนี้หากหัวมันยิ่งหดถอยไปทางด้านหลังมากเท่าไร และหัวเสือยิ่งกดต่ำลงมากเท่าไร พวกมันก็จะจู่โจมได้รวดเร็วขึ้น
พระอาจารย์
2
นี่อย่างไรล่ะ ภาพวาดของพวกเจ้า เสือนั้นหัวอยู่สูงเกินไป ส่วนมังกรก็ยื่นหัวออกมามากเกินไป
พระอาจารย์
1
พอบรรดาพระหนุ่มได้ฟังคำวิจารณ์จากพระอาจารย์ก็รู้สึกว่า อันที่จริงแล้วสิ่งที่พระอาจารย์บอกไม่ได้เป็นแค่การวิจารณ์ภาพวาดเท่านั้น แต่ท่านยังสอนสั่งธรรมะอีกด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ช่วยชี้แนะทางธรรมให้
ซึ่งพอพระอาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์เข้าใจสิ่งที่ท่านตั้งใจสื่อ ท่านก็เลยรีบแสดงธรรมะต่อไปทันทีว่า
ไม่ว่าเจ้าจะทำการใด หรือแม้แต่การปฏิบัติธรรมก็ตาม หากเจ้าถอยหลังไป 1 ก้าว เพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนมุ่งไปข้างหน้า เจ้าก็จะทำการดังกล่าวได้รวดเร็วขึ้น และการโน้มตัวคำนับอ่อนน้อมถ่อมตน ก็จะทำให้เจ้าไปได้สูงขึ้นด้วย
พระอาจารย์
3
แต่อย่างไร บรรดาพระหนุ่มหลายคนที่ไม่เข้าใจก็เกิดคำถามว่า “คนเราให้ถอยหลัง แล้วจะไปข้างหน้าได้อย่างไร ส่วนคนอ่อนน้อมถ่อมตนมีหรือจะไปได้สูง”
ดังนั้นท่านอาจารย์จึงกล่าวบทกลอนหรือโศลกว่า
ต้นกล้าที่ปลูกยังไร่นา ยามก้มหน้าลงไปย่อมเห็นผืนฟ้าในน้ำ ร่างกายและจิตใจที่บริสุทธิ์จึงจะเป็นมรรคปฏิปทา แท้จริงแล้วถอยหลังก็คือการเดินหน้า
พระอาจารย์
1
เครดิตภาพ: Pixabay
สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
1
  • หลายคนคิดว่า “การถอยหลังคือการยอมแพ้” หรือ “ถอยหลังลงคลอง” ซึ่งเป็นความหมายในแง่ลบ แต่ความจริงแล้ว การถอยหลังเป็นการเตรียมความพร้อม ที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
4
  • ข้อดีของการถอยหลังหรือการกลับไปตั้งหลัก ยกตัวอย่างเช่น
  • เราจะได้มีเวลาคิดพิจารณาทบทวนสิ่งที่ทำไปแล้ว (ซึ่งผิดพลาด) ได้นานขึ้น ดังนั้นต่อไปความผิดเดิมก็จะมักน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นอีก
3
  • การถอยหลังทำให้เราเกิดสติ เพราะหากเรายังไม่พร้อมแล้วรีบๆทำไป สติก็ขาดไม่สมบูรณ์ ผลที่ออกมาก็แย่
1
  • ฝึกให้เรารู้จักการรอให้เป็น เพราะส่วนมากแล้วเราเอาแต่รีบเร่ง ทำอะไรให้ได้ทันทีและทันใจเรา แต่หากได้รอสักหน่อย ช้าลงนิด รอจังหวะให้เหมาะสม เราก็จะเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรอ
  • ข้อดีของการนอบน้อมถ่อมตน ยกตัวอย่างเช่น
  • คนที่นอบน้อมเป็น คนอื่นเห็นก็คิดว่าเรามีความน่ารัก การหัดมีสัมมาคารวะ ยิ่งถ้าเรามีสถานะสูงกว่าเขา เช่น รวยกว่า อายุมากกว่า มีความรู้ความสามารถมากกว่า เขาจะมองว่าเราไม่ได้ทำตัวสูงส่ง เพราะโดยทั่วไปแล้วคนที่อยู่สูงกว่าคนอื่นก็มักจะแสดงอาการข่ม หรือทำตัวว่าอยู่สูงกว่า แต่ถ้าเราไม่ทำสิ่งนี้และรู้จักนอบน้อม เราจะได้ใจจากคนอื่นเป็นแน่
  • ย่อมจะมีคนคอยเอ็นดูช่วยเหลือเราด้วยความจริงใจ เพราะเมื่อเขาเห็นเรามีความนอบน้อมแล้ว เราก็ถือว่าเป็นคนดีคนหนึ่ง ไปไหนมักจะมีคนต้อนรับ พอตกทุกข์ได้ยากก็ไม่ลำบาก เพราะมีคนอยากช่วยเหลือ
  • ย่อมจะมีความสุขใจ สบายใจ ไม่ทุกข์ร้อน เพราะไม่ได้แก่งแย่งชิงดีกับใคร พอใจกับสิ่งที่ตนมี
  • ถือว่าเป็นคนที่สลัดอัตตา ไม่ยึดมั่นในตัวตน แสดงความนอบน้อมด้วยความจริงใจ ฝึกเห็นความสำคัญของการมีอยู่ของตัวเองน้อยลง และให้ความสำคัญกับคนอื่นมากขึ้น และมักมีเพื่อนฝูงที่ดีมากมาย ไม่สร้างศัตรู
2
  • ข้อคิดจากเรื่องนี้ย่อมนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อีกด้วย ในมุมมองที่เป็นลูกน้อง เมื่อเราอ่อนน้อม ไม่โอ้อวด เจ้านายก็ย่อมรักและไว้ใจให้ทำงานใหญ่หรือมอบหมายความรับผิดชอบสำคัญให้ หรือในมุมมองที่เป็นหัวหน้าหรือเจ้านาย ความนอบน้อมแสดงความรักห่วงใยและเมตตาดูแลลูกน้อง ไม่ถือตนเป็นใหญ่กว่าและใช้อำนาจข่มคนภายในปกครอง ย่อมทำให้ลูกน้องชื่นชอบ
เครดิตภาพ: Shutterstock
  • ที่มาของนิทาน:
หนังสือ《一日一禅》, 东方闻睿 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国电影出版史, 2004.8, ISBN 7-106-02204-7
หนังสือ วิถีแห่งปัญญา : เพียงอ่านนิทานเซน ก็เปลี่ยนชีวิตเราไปตลอดกาล, อารมณ์เซน, Feel Good Publishing, 2565, ISBN 978-616-578-665-2
<เครดิตภาพปก: Dragon/Tiger (Japanese Print Style) by TristanAlexander>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา