8 เม.ย. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์

ย้อนประวัติศาสตร์ "ฟินแลนด์" ประเทศที่คนมีความสุขมากที่สุดในโลก

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ฟินแลนด์มีข่าวใหญ่จากการเข้าร่วมองค์กรนาโตเป็นสมาชิกลำดับที่ 31 ไปเป็นที่เรียบร้อย
1
ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ถือกำเนิดมาเพียงร้อยกว่าปีในหน้าประวัติศาสตร์โลก แต่กลับมีชื่ออยู่ในแนวหน้าของโลกแทบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิต สิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจ และการเมืองโปร่งใสไร้คอรัปชั่น
โดยเฉพาะระบบการศึกษาที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในโลก และยังคว้าอันดับ 1 ประเทศที่ผู้คนมีความสุขที่สุดในโลกถึง 5 ปีซ้อนสมกับชื่อ “ฟินแลนด์ดินแดนแห่งความฟิน”
3
ความน่าสนใจของฟินแลนด์จึงจุดประกายจนกลายมาเป็นบทความ Bnomics ในวันนี้
⭐ รู้จัก “ฟินแลนด์” ฉบับย่อ
การมีอยู่ของมนุษย์บริเวณภูมิภาคของฟินแลนด์มีมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง 8800 ปีก่อนคริสตกาล มีการตั้งรกรากตามแนวแม่น้ำ และเพราะความอุดมสมบูรณ์จึงมีการค้าขายชุกชุมในแถบนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองเก่าแก่ที่สุดของฟินแลนด์อย่าง Turku แปลว่าสถานที่ค้าขายนั่นเอง
2
หากกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของฟินแลนด์พบว่ามีความเกี่ยวโยงและรับอิทธิพลมาจากทั้งสวีเดนและรัสเซียอย่างแนบแน่น โดยนับตั้งแต่ปี 1323 - 1809 ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมากกว่า 500 ปี วัฒนธรรมที่เชื่อมโยงร้อยเรียงผู้คนจนเป็นหนึ่งเดียวกัน
ชาวฟินแลนด์ตระหนักเสมอว่าตนเองคือชาวตะวันตกจากการเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนอย่างยาวนาน เห็นได้จากการที่ชาวฟินแลนด์เข้าร่วมสงคราม 30 ปีร่วมกับทหารสวีเดน หรือการมีส่วนร่วมเลือกกษัตริย์แห่งสวีเดนก็ถือเป็นสิทธิของชาวฟินแลนด์นับตั้งแต่ปี 1362
ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า “Finnish history is Swedish history” หรือประวัติศาสตร์ของชาวฟินแลนด์ก็คือประวัติศาสตร์ของชาวสวีเดนก็ไม่เกินจริงเท่าใดนัก
2
หลังจากปี 1809 - 1991 รัสเซียเข้ายึดฟินแลนด์จากสวีเดน ทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นเขตปกครองตนเองภายใต้จักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลาอีกกว่า 100 ปี หลังจากนั้น ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตอีกกว่าหลายสิบปี จึงเป็นความสัมพันธ์กว่า 200 ปีที่ทั้งแนบแน่นและกระอักกระอ่วนในคราวเดียวกัน
3
ฟินแลนด์เคยประกาศเอกราชในปี 1917 หลังจากจักรวรรดิรัสเซียล่มสลายจากการปฏิวัติบอลเชวิค แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนักเพราะเผชิญกับสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายแดงและฝ่ายขวาที่แทรกแซงโดยเยอรมนีและรัสเซียถือเป็นสงครามนองเลือดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของฟินแลนด์
1
เมื่อก้าวสู่ช่วงสงครามเย็น (ปี 1945-1991) ฟินแลนด์ถูกรุกรานและแพ้สงครามแก่สหภาพโซเวียตถึงสองครั้ง ยิ่งปลุกกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยมในฟินแลนด์ การแพ้สงครามส่งผลให้ฟินแลนด์ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในโซเวียตอย่างหนักในรูปของสินค้า วัตถุดิบ เรือ รถไฟ
และการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามนี้เอง ก็ช่วยให้ฟินแลนด์พัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมสู่ประเทศอุตสาหกรรม บทเรียนในอดีตเป็นตัวกระตุ้นให้ฟินแลนด์พัฒนาประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะ “การพัฒนามนุษย์” การสร้างระบบเพื่อเข้าไปพัฒนาคน สวัสดิการที่เอื้อให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมฟินแลนด์ถึงคว้าดัชนีอันดับต้น ๆ ของโลกแทบทุกด้าน
2
⭐ “สวัสดิการ” และ “นวัตกรรม” นำพาฟินแลนด์อยู่แนวหน้าของโลก
1
หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้ฟินแลนด์สามารถบริหารสวัสดิการมาจากระบบการปกครองที่กระจายอำนาจ “เทศบาล” จึงเป็นผู้มีบทบาทหลักในการบริหารปกครองพื้นที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
2
ในช่วงที่เผชิญกับสงครามและความกดดันจากสหภาพโซเวียต ฟินแลนด์พัฒนาสวัสดิการควบคู่ไปด้วย เช่น เริ่มวางรากฐานศึกษาภาคบังคับประถมศึกษา 6 ปี 1921 และในปี 1968 มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ
ฟินแลนด์ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่การศึกษา แต่ให้ความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ ซึ่งสะท้อนผ่านนโยบายที่ดูแลมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น นโยบายสิทธิลาคลอดของบิดาเฉกเช่นเดียวกับมารดา โดยจ่ายเงินอุดหนุนให้ทั้งพ่อและแม่แยกกันซึ่งจะได้รับก่อนลูกอายุครบ 2 ปีเพื่อให้พ่อแม่สามารถดูแลลูกได้อย่างเต็มที่
8
และในปี 1943 ฟินแลนด์เป็นประเทศแรกของโลกที่ออกรัฐบัญญัติว่าด้วยอาหารโรงเรียนฟรีสำหรับนักเรียนทุกคน เพราะมองเห็นความสำคัญของโภชนาการเด็กที่มีส่วนต่อการเจริญเติบโต ปัจจุบันนักเรียนกว่า 900,000 คน ทานอาหารในโรงเรียนฟรีทั้งหมด
2
นอกจากนี้ นวัตกรรมก็ไม่น้อยหน้าในการพัฒนาประเทศด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เด่นชัดที่สุดคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อ NOKIA ที่ใช้ระบบ GMS เป็นที่แรกของโลก มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ของโลก
3
หรือแม้แต่การส่งข้อความแบบ SMS ก็มาจากความร่วมมือและความพยายามของกลุ่มประเทศนอร์ดิกซึ่งถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ฟินแลนด์มีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นได้ เห็นได้จากปรากฎการณ์การส่งข้อความอวยพร SMS จำนวนมหาศาลของชาวฟินแลนด์ในวันคริสมาสต์ปี 1996 จนเครือข่ายผู้ให้บริการล่ม และเกิดเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
เมื่อวันที่ 4 เมษายน ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมกับ NATO กลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 31 ไปเป็นที่เรียบร้อย หลังจากตัดสินใจที่ตัดสินใจเข้าร่วมไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
การเข้าร่วมครั้งนี้ถือเป็นการยุติบทบาทของแนวคิด “ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดทางการทหาร” ของฟินแลนด์ที่ยึดถือมายาวนานนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียมาโดยตลอด
หากแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ฟินแลนด์ต้องกลับมาคิดใหม่ เพราะพรมแดนแถบฟากตะวันออกติดกับรัสเซียอาจเสี่ยงต่อการโดนรุกรานเช่นเดียวกับที่ยูเครนเผชิญหรือเฉกเช่นในอดีต ดังนั้น การเข้าร่วมกับ NATO จึงเป็นทางออกภายใต้เงื่อนไขหากมีการโจมตีสมาชิกชาติใดชาติหนึ่ง ถือเป็นการโจมตีนาโตทั้งหมดด้วยเช่นกัน
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
1
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา