12 พ.ค. 2023 เวลา 07:00

เหตุใด คนยุคนี้ จึงไม่บรรลุธรรมเลย

จากกรณีที่ได้เกิดความสงสัยใครรู้ว่า เพราะเหตุใดหมู่มวลชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ จึงไม่บรรลุธรรมเลยดังนี้ ได้แสดงธรรมมาโดยลำดับให้ได้รับฟังแล้ว ลำดับต่อไปนี้เพื่อการกลับมาฟังธรรมนี้จะนำธรรมนี้มาสรุปให้ได้ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมแก่สาวกของพระองค์ท่าน โดยพระสูตรที่เชื่อว่า สุคตวินยสูตร
อรหันตสาหกได้นำมารวบรวมเอาไว้ในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 21 ข้อที่ 160 ซึ่งพระองค์ท่านจะจำแนกเอาไว้ใน 4 ประการ แห่งเหตุที่ทำให้คนนั้น หรือทำให้หมู่มวลมนุษยชาตินั้นไม่บรรลุธรรม จะนำมาสรุปให้ได้ฟังดังนี้ เรามาเริ่มต้นกัน
จะยกเอาพระสูตรที่ชื่อว่า สุคตวินยสูตรนี้ มาแสดงเป็นบางส่วนให้ได้รับฟังดังนี้
สุคตวินยสูตร ข้อ 160 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 21
พระพุทธเจ้าประกาศว่า จัตตาโรเม ภิกขเว ธัมมา สัทธัมมัสส สัมโมสาย อันตรธานาย สังวัตตันติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
สัทธรรม 4 ประการเป็นไฉน
อิธ ภิกขเว ภิกขู ทุคคหิตัง สุตตันตัง ปริยาปุณันติ ทุนนิกขิตเตหิ ปทัพยัญชเนหิ ทุนนิกขิตตัสส ภิกขเว ปทัพยัญชนัสส อัตโถปิ ทุนนโย โหติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม
อธิบายให้ฟังเพียงข้อแรกนี้ดังนี้ว่า
1
คำว่า นี้เป็นธรรมข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ก็คือเหตุแห่งความฟั่นเฟือนของพระสัทธรรม เกิดจากหมู่มวลมนุษยชาติของพวกเรา เรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ
เมื่อเรียนพระสูตรผิดลำดับแล้ว ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถคือความหมายแห่งธรรมนั้น แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิดนั้น ย่อมมีนัยผิดไปด้วย
ให้ดูข้อที่ 1 นี้ก่อนแล้วจะอธิบายให้ฟัง ไม่ต้องมาดูข้อที่ 2 ที่ว่าภิกษุเป็นผู้ว่ายาก
ไม่ต้องดูข้อที่ 3 ว่า ภิกษุเป็นผู้พหูสูตแล้วไม่แสดงธรรม ไม่ต้องไปดูข้อที่ 4 ที่บอกว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้มักมากมีความประพฤติย่อหย่อนเหล่านั้น ไม่ต้อง เอาดูข้อที่ 1 นี้ข้อเดียวก็จะรู้ว่า ทำไมหมู่มวลชาวพุทธของพวกเราในหลังพุทธกาลมานี้ จึงไม่บรรลุธรรม
เดี๋ยวจะนำเอา ปฐมปัณณาสก์ จากพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 20 มาแสดงในข้อที่พระพุทธเจ้าจำแนกให้เห็นชัดๆ ดูดังนี้ เป็นข้อเดียวกัน อธิบายในธรรมข้อที่ชื่อพระสูตรสุคตวินิยสูตรนั่นแหละอีกทีนึง ดูดังนี้เหมือนกันเลย
ปฐมปัณณาสก์ ข้อ 266 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 20
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม
สัทธรรม 2 อย่างเป็นไฉน คือ
บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี 1
อรรถที่นำมาไม่ดี 1
แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม
บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี คือ เรียนมาผิด อรรถที่นำมาไม่ดี ก็คือไม่รู้ความหมายในธรรมนั้น
ตรงนี้ท่านจะแยกในส่วนที่บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี 1 และอรรถที่นำมาดี 1
แต่ตอนนี้เราดูแค่เพียงว่า การเรียนพระสูตรที่เรียนมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด เป็นเหตุให้หมู่ชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ ไม่บรรลุธรรมเลย
ถ้าโดยเบื้องต้นนี้ ได้นำธรรมนี้แสดงมาโดยลำดับแล้วว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในเรื่องของอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 อันประกอบไปด้วย 1 ทุกข์ 2 สมุทัย 3 นิโรธ 4 มรรค
ซึ่งอริยสัจ 4 นี้ หมู่ชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ ทราบชัดว่า เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง แต่หมู่ชาวพุทธไม่สามารถที่จะรู้จริง ไม่สามารถที่จะแทงตลอด ในธรรมที่ชื่อว่าอริยสัจ 4 นี้ได้ ไม่สามารถที่จะรู้ในธรรมนี้ได้
โดยเบื้องต้นถ้าอยากรู้ว่า ใครรู้ในอริยสัจ 4 นี้ได้จริง บุคคลเหล่านั้นจะต้องเป็นผู้รู้ในพระสูตรที่ชื่อว่ามหาสติปัฏฐานสูตรโดยบริบูรณ์เท่านั้น ถ้าไม่รู้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 10 บ้าง เล่มที่ 12 บ้างนั้น บุคคลผู้นั้นไม่รู้ในอริยสัจ 4 เลย
เมื่อแจงอริยสัจ 4 เป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังนี้แล้ว เรามักจะได้ยินพระพุทธเจ้าประกาศอริยสัจ 4 ในรูปของธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศว่า
อิธ ภิกขเว ภิกขุ ฉันนัง ผัสสายตนานัง สมุทยัญจ อัตถังคมัญจ อัสสาทัญจ อาทีนวัญจ นิสสรณัญจ ยถาภูตัง ปชานาติ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ยิ่งกว่าใครทั้งมวล
คำว่ารู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริงนี้ คือธรรมอันเดียวกันกับอริยสัจ 4
คือ ในอริยสัจ 4 ทุกข์กับสมุทัยนี้ เป็นเหตุเกิดเหตุเกิดทุกข์ นิโรธกับมรรคนี้ เป็นเหตุดับทุกข์
แต่เราจะอยู่โดยไม่กินอาหารไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเมื่อเห็นเหตุเกิดแล้ว ต้องรู้คุณ คุณของอาหารที่มาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางจิตของเรา เราต้องรู้คุณ เราต้องอาศัยคุณนั้น เพื่อเลี้ยงชีวิต เพื่อความตั้งอยู่ก่อน
เมื่อรู้คุณแล้วเราก็ต้องรู้โทษ โทษของอาหารนั้นทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อรู้เหตุเกิด รู้เหตุดับ รู้คุณ รู้โทษแล้ว เราก็ต้องรู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง ด้วยการกระทำฌาน
ด้วยการกระทำฌาน 1 2 3 4 ตามลำดับในแต่ละเรื่อง นี่คือสิ่งที่ทุกคนที่รับทราบธรรมในพระพุทธเจ้าที่แสดงอยู่นี้ ต้องรู้ในเรื่องนี้
แต่หมู่ชาวพุทธของพวกเราหลังพุทธกาลมานี้ ไม่สามารถที่จะรู้จริงในอริยสัจ 4 ทั้ง 2 ส่วนนี้ได้ โดยหลักๆนั้นได้แสดงให้ดูแล้วว่า หมู่ชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ ตั้งแต่ได้เกิดความสงสัยว่า ทำไมหมู่ชาวพุทธจึงเป็นผู้ที่ไม่สามารถรู้จริง ไม่สามารถแทงตลอดในธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศ
แล้วจึงเป็นเหตุให้เกิดความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และกล่าวตู่พระธรรมคำสอนในพระพุทธเจ้า อยู่โดยทั่วไปในหลังพุทธกาลมานี้
นั่นเป็นเพราะว่าหมู่ชาวพุทธนี้ ไม่รู้จักในธรรมที่ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ทุกคนได้ทราบตามลำดับแล้วว่า มีองค์คุณแห่งธรรม คือ
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นมีได้ด้วยประการฉะนี้ มีสาเหตุแห่งทุกข์ด้วยประการฉะนี้
ได้ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ คือธรรมที่แสดง อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ของจิต ของมโน ของวิญญาณ ของตัวเราเอง หรือของสรรพสัตว์โดยทั่วไป
เราต้องรู้เรื่องนี้ก่อน ต้องรู้ในปฏิจจสมุปบาทนี้ก่อน ผู้ที่ตามฟังตามรู้ธรรมในที่นี้ จะรู้ในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ โดยถ้วนรอบก่อน เมื่อรู้ในธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้แล้ว เราจึงจะรู้ธรรมโดยย่อ คือขันธ์ 5 นี้ได้
ที่พระพุทธเจ้าตรัสต่อท้ายปฏิจจสมุปบาท เมื่อแสดงปฏิจจสมุปบาทจนจบแล้วจะบอกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น มีได้ด้วยประการละฉะนี้
และจะตรัสต่อท้ายว่า สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5 เป็นตัวทุกข์
ขันธ์ 5 ซึ่งมีคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ เราต้องรู้ในปฏิจจสมุปบาทก่อน จึงจะรู้ในขันธ์ 5 นี้ได้ นี่คือธรรมฝ่ายเกิดทุกข์ นี่คือเหตุแห่งทุกข์ คือปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ 5 นี้ เป็นเหตุเกิดทุกข์
ส่วนเหตุดับทุกข์อยู่ที่ข้อต่อไป อยู่ที่มหาสติปัฏฐาน 4 หรือมาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งย่อจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาเหลือ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ต้องรู้มาเป็นลำดับ
ซึ่งอุบายเครื่องออกโดยการกระทำฌานนั้น ไม่ได้เขียนตรงนี้แต่เราก็จะต้องรู้ว่า เหตุดับจะต้องดับด้วยการกระทำฌาน คือ รู้อุบายเครื่องออกจากผัสสายตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นนี่คือคำตอบให้ได้รับฟังว่า หมู่ชาวพุทธ เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ
คือ เบื้องต้น ไม่รู้ว่าปฏิจจสมุปบาทคืออะไร พระพุทธเจ้ากลัวหรือปริวิตตกว่า หมู่มวลชาวพุทธ หรือหมู่มวลสัตว์นี้จะไม่รู้ตามธรรมของท่านได้ เมื่อท่านประกาศธรรม ที่ท่านประกาศว่า
อหัญเจว โข ปน ธัมมัง เทเสยยัง ปเร จ เม น อาชาเนยยุง โส มมัสส กิลมโถ สา มมัสส วิเหสาติ
ถ้าเราจะประกาศธรรมนี้ออกไป หมู่สัตว์อื่นจะไม่รู้ถ้วนตามธรรมของเราได้ นั่นจะเป็นเหตุให้เราเหนื่อยเปล่า ลำบากเปล่า หรือเราลำบากเปล่า เราเหนื่อยเปล่า พูดไปแล้วเขาก็ไม่รู้ตามเรา ธรรมนี้ ธรรมที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทนี้
ไม่รู้เหตุเกิด ไม่รู้เหตุดับ ตรงนี้ที่ท่านกลัวพวกเราจะไม่รู้ และก็เป็นความจริงว่า หลังพุทธกาลมานี้หมู่ชาวพุทธนี้ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้เลย
ดังที่สรุปให้ทุกคนได้เห็นมาโดยลำดับว่า ยุคหลังพุทธกาลมานี้ หมู่ชาวพุทธไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท เมื่อไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทก็ไม่รู้ว่า ขันธ์ 5 นี้เป็นบททำย่อของปฏิจจสมุปบาท ก็เลยเห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นร่างกายมนุษย์ ก็เลยแยกขันธ์ 5 เป็นรูปกับนามไป ประกาศอยู่โดยทั่วไปว่า คนเราประกอบไปด้วยธาตุ 4 ขันธ์ 5 ชัดๆเลย
แล้วหลังจากนั้นเมื่อไม่สามารถที่จะเข้าถึงอริยสัจ 4 นี้ได้ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค หรือไม่รู้เหตุเกิด ไม่รู้เหตุดับ ไม่รู้คุณ ไม่รู้โทษ ไม่รู้อุบายเครื่องออกจากภาษาญัตนะทั้ง 6 ตามความเป็นจริง
เพราะไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้จักขันธ์ 5 โดยจริงแล้วนี้ ก็พากันนั่งสมาธิ เดินจงกรม เดินธุดงค์ สวดมนต์อ้อนวอน ปฏิบัติธรรมคราวละ 3 วัน 5 วัน 7 วันบ้างดังนี้ มีอยู่โดยทั่วไป
นี่คือเหตุเบื้องต้นที่ทำในหมู่ชาวพุทธของพวกเรา ไม่บรรลุธรรม เกิดจาก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิดนั้น ย่อมมีนัยผิดไปด้วย ก็ผิดไปหมด
พวกเราทุกคนจึงต้องทำหน้าที่ของตน อันไหนไม่รู้ต้องตามรู้ อันไหนยังสงสัยอยู่ ต้องทำความสงสัยนั้นให้หมด โดยการกระทำตามหลักธรรมที่ชื่อว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์
ตรงนี้ ไม่ต้องไปพูดถึงว่า ความเป็นผู้ว่ายากนะ
ความเป็นพหูสูตแล้วไม่แสดงธรรม
ความเป็นพระเถระเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลงทอดธุระในวิเวก
ไม่ต้องไปพูดถึงข้อนั้นเ พราะถ้าผิดข้อแรกนี้
ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ผิดหมด ตอบให้ได้รับทราบสำหรับผู้ที่สงสัยตั้งแต่ในเบื้องต้น
และการกลับมาฟังธรรมนี้อีกครั้งหนึ่ง ในเหตุแห่งว่า เพราะเหตุใดหมู่ชาวพุทธหลังพุทธกาลมานี้ จึงไม่บรรลุธรรมเลยดังนี้
อ้างอิง
สุคตวินยสูตร ข้อ 160 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 21
ปฐมปัณณาสก์ ข้อ 266 พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ 20
โฆษณา