16 พ.ค. 2023 เวลา 14:12 • ประวัติศาสตร์
ไทย

หัวหน้าพรรคก้าวไกลประกาศชนะเลือกตั้ง แล้วตัว“พิธา”เอง มีความมั่นใจแค่ไหนกัน?

หัวหน้าพรรคก้าวไกลประกาศชนะเลือกตั้ง “พิธา” คนที่กำลังจะเป็นนายกฯคนใหม่
ตามรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ​ เวลาเที่ยงวันที่ 15 ตามเวลาท้องถิ่น พิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งนำการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว
ด้วยคะแนนเสียงและจำนวนที่นั่งในสภา​ ประกาศว่าพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งพร้อมจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่​
และพร้อมสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นกัน
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้สมัครที่มีวุฒิการศึกษาสูงสุด
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2523 บิดาชื่อ พงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นอดีตที่ปรึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ส่วนลุงผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ณ.​ ตอนนี้​ พิธาเป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติทางวิชาการสูงสุดในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
พิธาเข้าเรียนที่โรงเรียนคริสต์เตียนวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ก่อนที่พ่อของเขาจะส่งตัวไปนิวซีแลนด์นานถึง 7 ปี หลังจากกลับมาประเทศไทย
กลับมาเรียนที่เมืองไทยจนจบปริญญาตรี สาขาการเงิน การธนาคาร ภาคภาษาอังกฤษ เกียรตินิยมอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2545 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และได้รับทุนเรียน​ต่อจาก University of Texas at Austin ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประสบการณ์การเรียนที่นิวซีแลนด์เป็นแรงบันดาลใจให้ พิธาที่รักการเมืองคนนี้ เขากล่าวว่า "ผมถูกส่งไปยังสถานที่ห่างไกลในนิวซีแลนด์ ขณะนั้น ทีวีมีเพียง 3 ช่อง คุณจะดูละครของออสเตรเลียหรือดูการอภิปรายในรัฐสภาก็ได้ แต่ในขณะนั้นได้ฟังสุนทรพจน์ของ Jorge Bolger นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ในตอนนั้น”
เขาได้รับทุนการศึกษานานาชาติจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งเป็นนักเรียนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว
พิธา​ คนนี้ยังได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (MPA)คณะการเมืองการปกครอง
และปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ (MBA) ที่ Harvard Kennedy School of Government และ MIT Sloan School of Management
แต่ในช่วงปีแรกของการเรียนปริญญาโท พิธาต้องกลับมาประเทศไทยเพื่อรับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของ Agrifood ผู้ผลิตน้ำมันรำข้าวอันดับ 5 ของโลก
ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการโดยครอบครัวของเขา เนื่องจากการเสียชีวิตของบิดา สองปีต่อมา Agrifood Ltd. ที่เริ่มต้นจากติดลบ 100 ล้านบาท บริษัทก็กลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง และพิธา​ก็สามารถกลับไปสหรัฐอเมริกาต่อ ซึ่งเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในปี 2554 นั่นเอง
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 พิธา​แต่งงานกับนักแสดงชาวไทย ชุติมา ทีปะนาถ(ต่าย ) และมีลูกสาวด้วยกัน 1 คน แต่หย่าขาดในปี 2562
บนบัญชีโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามหลายล้านคน พิธายังแชร์รูปภาพของตัวเองและลูกสาวของเขาด้วย
ก่อนเข้าสู่วงการการเมือง พิธายังดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของ Grab ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการเรียกรถและส่งอาหารทางออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2561
โดยในปี พ.ศ. 2561 พิธาเข้าร่วมพรรคอนาคตใหม่และได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2562 หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ในปี พ.ศ. 2563
พิธาและสมาชิก 54 คนของพรรคได้ก่อตั้ง "พรรคก้าวไกล Move Forward Party" และพิธายังได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคอีกด้วย
แล้วสำหรับความคาดหวังของคนรุ่นใหม่ล่ะ???
มีเสียงเชียร์และเสียงกรี๊ดกึกก้องเมื่อ พิธาขึ้นเวทีหาเสียงครั้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 12 พฤษภาคม “ถึงเวลาของเราแล้ว” เขาบอกกับกองเชียร์รุ่นเยาว์ในสนามที่คับคั่งในกรุงเทพฯ
เหมือนว่า พรรคก้าวไกลของพิธา จะดึงดูดเยาวชนไทยที่เบื่อหน่ายกับสถานะทางการเมืองที่เป็นอยู่ และได้รวบรวมผู้ติดตามและภักดีได้เป็นจำนวนมาก
 
ในกิจกรรมหาเสียง นักเรียนและคนหนุ่มสาวต่อแถวยาวเหยียดขอเซลฟี่กับเขา และแฟนๆ ของพิธาใน TikTok ก็ใช้ใบหน้าที่ยิ้มแย้มของเขาเป็นฉากพื้นหลัง
เขาและพรรคของเขาให้คำมั่นกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าหากเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี พวกเขาจะยุติการเกณฑ์ทหาร และสัญญาว่าจะทำลายการผูกขาดอำนาจที่ครอบงำเศรษฐกิจของประเทศไทย
นอกจากนี้ พรรคก้าวไกลยังเป็นพรรคการเมืองเดียวในบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมดในประเทศไทยที่เสนอให้มีการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดของประเทศไทย
ตามมาตรา 112 ของ "ประมวลกฎหมายอาญา"ที่ให้พลเรือนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อาจถูกตัดสินจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี
ผมขอพากลับไปในปี พ.ศ. 2563 ขณะนั้นประเทศไทยเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ที่นำโดยกลุ่มเยาวชน ซึ่งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกองทัพและจำกัดความมั่งคั่งและอิทธิพลของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
นี่ดูเป็นความต้องการที่เหนือจินตนาการและไม่สามารถกระทำได้ในประเทศไทย(ในอดีต) ส่งผลให้มีผู้ถูกตัดสินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากกว่า 240 คน
ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 12 พิธาได้กล่าวถึงความจำเป็นในการอภิปรายอย่างมีเหตุผลในกรณีเหล่านี้
“สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดมาตลอดเวลา เราต้องถามตัวเองอย่างรอบคอบและเป็นผู้ใหญ่ว่าสังคมไทยจะสร้างกำแพง (สำหรับกันลม) หรือสร้างกังหันลม”
เขายังให้สัญญาว่าพรรคก้าวไกลจะต่อต้านพรรคที่มีทหารหนุนหลังต่อไปเมื่อจัดตั้งรัฐบาล “พรรคของผม เป็นพรรคที่ต่อต้านเผด็จการและต่อต้านทหารหนุนหลังอย่างแน่นอน สันนิษฐานได้ว่าจะไม่มีรัฐบาลเสียงข้างน้อยอีกต่อไปในอนาคต”
ตามกระแสข่าว...พิธามีแผนที่จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคอื่นๆ
จากข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งประเทศไทย ได้มีการนับ 99% ของคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม
จำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภามีเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภา (500)
นอกจาก 2 พรรคข้างต้นแล้ว พรรคภูมิใจไทย ได้ 71 ที่นั่ง เป็นอันดับ 3 พรรคพลังประชารัฐ ได้ 40 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 36 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ ได้ 25 ที่นั่ง . . ที่นั่งที่เหลือก็แบ่งๆกันกับอีก 12 พรรคนะครับ
หลังจากการก่อตั้งสภา สมาชิกทั้งหมด 750 คนจากสภาบนและสภาล่างจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคที่มีที่นั่งอย่างน้อย 25 ที่นั่งในสภาล่าง
ดังนั้นเพื่อให้ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครต้องได้รับเสียงข้างมากในทั้งสองสภา
บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญอนุญาตให้สภาพิจารณาบุคคลภายนอกสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดชนะเสียงข้างมากในสภาทั้งสอง
ส่งผลให้เกิดทางตันที่ขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
กรณีนี้ต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของ ส.ส. ที่มีอยู่ เพื่อระงับข้อกำหนดที่การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต้องเป็นพรรคการเมือง
พิธากล่าวว่าได้ติดต่อกับพรรคการเมืองอีก 5 พรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย และพรรคเสรีรวมไทย และคาดว่าจะจัดตั้งรัฐบาลผสมที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค
ซึ่งจะได้ที่นั่ง 309 ที่นั่งในสภา ในขณะเดียวกัน พรรคของเขากำลังเจรจากับพรรครองอีกพรรคหนึ่งเพื่อให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น
“ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ชัดเจนว่า เรามีสิทธิ์ทุกอย่างที่จะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก” พิธาชี้ว่าพรรคอื่นๆ ได้จัดตั้งทีมเปลี่ยนผ่านแล้ว
นอกจากนี้ พิธายังส่งข้อความถึงวุฒิสมาชิก 250 คนที่กองทัพไทยหนุนหลัง โดยบอกว่าคะแนนเสียงของพวกเขามีอิทธิพลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรี
“ถึงเวลาแล้วที่ ส.ว. 250 คนจะต้องคิดและตัดสินใจว่าตนจะยืนอยู่จุดไหน จะฟังเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่ หากห่วงใยประชาชนก็ไม่มีปัญหา”
ตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2475 เกิดการรัฐประหาร 13 ครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เกี่ยวกับปัญหาความกังวลจากภายนอก ผบ.ทบ. ได้ให้สัญญาว่า แม้มีความแตกต่างทางการเมืองหลังการเลือกตั้งทั่วไป
ไทยจะไม่กลับสู่การปกครองของทหาร และกองทัพจะคงความเป็นกลาง และไม่ก่อรัฐประหารภายใต้การนำของเขา
โฆษณา