17 พ.ค. 2023 เวลา 20:07 • การตลาด
ประเทศไทย

HIPHOP THAI กับกระแส ที่การตลาดไม่เข้าใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เพลงแร๊ป เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่รายการ Rap is Now ที่เริ่มจากในกลุ่มเล็กๆ ของคนที่หลงใหลเพลงแรป ก่อนจะขยายใหญ่ขึ้น จนมีเวที The War is On จนทำให้เกิดศิลปินเพลงแรปยอดฝีมือมากมาย ทั้ง up ground และ underground ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในทุกวันนี้
1
เพลงแรป จาก Underground สู่ Mass เต็มตัว เดิมทีเพลงแรป มักจะถูกเชื่อมโยงกับ คำหยาบคาย ความก้าวร้าว แต่เมื่อเพลงแรป มีเนื้อหาที่หยาบน้อยลง แต่เน้นความหมายมากขึ้น ผู้บริโภคก็เปิดรับได้มากขึ้นแต่หลายแบรนด์กลับแป้กกับการเกาะกระแสของ HIPHOP เพราะความไม่เข้าใจว่าจะสื่อสารกับสังคมนี้ยังไง เพราะไม่ว่าจะมากี่เจ้า ก็จบอยู่แค่เพลงตลกๆ เพลงนึงเท่านั้นเอง
แล้วแบรนด์จะ Rap ยังไงให้ถูก Rhyme ? จะบอกวิธีให้
1.Concept Brand ต้องชัดเจน
เพลงแรป สามารถใส่ข้อความได้มากมาย ฉะนั้นถ้าแบรนด์วาง Concept ไม่ชัดเจน ก็จะกลายเป็นว่าเพลงRap นั้นยาวเหยียดแต่จำไม่ได้ว่าสินค้าคืออะไร และจะกลายเป็นเรื่องตลกทันที และจำไว้ว่าขาย Brand ไม่ได้ขายของ HIPHOP เป็นดนตรีที่มีเนื้อหาในเพลงชัดเจน ถ้าเข้าไปขายของตรงๆ ดับแน่นอน ลองนึกดูถ้าคนที่มาบอกว่าสินค้าดียังไงตลอด 3 นาที เป็นคุณก็คงเดินหนี (เอาจริงๆ ไม่ต้องถึง 3 นาทีหลอก แค่ 30 วิคุณคงเดินหนีแน่นอน ยิ่งยุคของโซเชี่ยวที่ปัดนิ้วก็ไม่ต้องทนฟังจนจบให้เสียเวลา)
ผมขอยกตัวอย่าง โฆษณาของ Smooth E ในปี 2015 ที่เลือกใช้ Jayda ศิลปินลูกครึ่งอเมริกันมาร้องเพลงแรป แบบยาวเหยียด ร่ายสรรพคุณของ Smooth E จนหมดเพลง และไม่ได้มีแก่นสารให้คนดูเลย (สำหรับผม คือ30 วินาทีนรก) คืออารมณ์ของคนดูจะมี 2 แบบ คือ 1.ชอบมากเลย เพราะเป็น FC ของ Jayda 2.โฆษณาอะไรของ***ง
2.เข้าใจวัฒนธรรมของ Hip Hop
Hip Hop Keep it real! ความจริงที่ต้องยอมรับ และนี้คือ Key Success ของ Hip Hop ยกตัวอย่างครั้งแรกที่ผมได้ฟังเพลง “พักก่อน” ผมรู้ทันทีเลยว่า Rapper คนนี้ไม่ธรรมดา และไปได้อีกไกลแน่นอน ด้วยจังหวะที่ติดหู เนื้อหาของเพลงที่จัดจ้าน
“พักก่อน แม่บอกให้เธอพักผ่อน
ยังละอ่อนยังสาวลูกหลาวอย่าไปทักก่อน
พักผ่อน พี่อยากให้น้องได้พักผ่อน
พูดเหมือนหล่อนเมายาคุม น้องควรกลับไปน๊อนนอนนะ”
ภาษาที่ Milli เลือกใช้ในเพลงของเธอ มันไม่ได้เป็นภาษาที่เธอแต่งขึ้นเอง แต่มันคือ ภาษาลู! ผมไม่ได้มีเจตนาจะ Sexual Harrasment หรือเหยียดเพศใดๆนะครับถ้าคุณมีเพื่อนเป็น LGBTQ+ หรือแม้กระทั่งแก๊งสาวๆคุณจะรู้เลยว่าพวกเขามีภาษาเฉพาะกลุ่มเช่นการใช้แสลงสรรพนาม เช่นการแทนตัวเองว่า แม่ หรือเพื่อนๆน้องๆ ว่าลูกสาวหรือการนำ Insights ของสาวๆ เพศทางเลือกที่พวกเขาเจอกันจริงๆ
และไม่ไช่แค่เพลงของ Milli แต่เพลง Hip Hop เกือบทั้งหมดก็เป็นเหมือนกันเนื้อเพลงที่พูดกับผู้ฟัง หรือพูดแทนผู้ฟัง หรือการนำกิจกรรม เหตุการณ์ ความรู้สึกที่เป็น Insights จริงๆมาเล่า อย่างตรงไปตรงมา ไม่กลัว หรือเคอะเขิน
ผมยกตัวอย่างให้อีกเพลง ที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและใช้ภาษาเดี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่คิดว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เกม ที่ผู้ใหญ่มักมองว่าไร้สาระ แต่ Esport คือหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ ฉะนั้นมันต้องถูกเขียนด้วยคนรุ่นใหม่ ถึงจะถูก !!
"ประวัติศาสตร์ ที่เขียนมันขึ้นมาใหม่
จะเขียนมันด้วยปากกาที่มันไร้ค่าสำหรับผู้ใหญ่
เกมที่เด้กมันเล่นไม่ใช่แค่เกมอีกต่อไป
New Genreation ประวัติศาสตร์หน้าต่อไป"
"การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา" นี้แหละครับ คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ Hip Hop เข้าไปอยู่ในใจของผู้คน Hip Hop Keep it real! เป็นตัวอย่างที่ดีในการสื่อสารกับผู้บริโภคที่ทุกแบรนด์ควรนำไปทำตาม
โดยเริ่มจากการเข้าใจกลุ่มลูกค้าของตนเองจริงๆ เข้าใจในรสนิยม วิธีการพูด สื่อสาร ภาษาเฉพาะกลุ่มจากนั้นสื่อสารกับพวกเขาเหมือนคุณเป็นหนึ่งในพวกเขา ใช้ภาษาเดียวกันเลือกประเด็นที่เขาให้ความสนใจนี่แหละครับ วิธีที่จะทำให้ Message ของแบรนด์เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างแนบเนียน
3. We gang gang!Hip Hop เป็นวงการที่เปิดโอกาสให้ทุกคนกลายเป็นศิลปินได้เนื่องด้วยองค์ประกอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นRapper คนที่ rap นำในเพลง, Vocal นักร้องที่เป็นเสียงร้องในเพลง, Beat Producer คนที่ผลิตเพลง, Hypeman คนที่คอยเสริมเสียงในเพลง, เพื่อนๆ ที่คอยมานั่งเท่ๆใน MV รวมไปถึงแฟนคลับที่คอยตามศิลปินไปในงานแสดงสดต่างๆ ผู้คนเหล่านี้มารวมตัวกันเป็น “Gang”
แก๊งในที่นี้ไม่ใช่กลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อมั่วสุม หรือทำตัวเป็นนักเลงแต่คือกลุ่มเพื่อน พี่น้อง ที่มารวมตัวกันด้วยความรักในวัฒนธรรม Hip Hopสร้างผลงาน กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้ Hip Hop เป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือที่เราได้ยินจนคุ้นหูว่า "รันวงการ"
ไม่มีแบรนด์หรือสินค้าไหนในยุคนี้ ที่สามารถเป็นที่รู้จัก โด่งดังขึ้นมาได้ด้วยตัวเองล้วนๆ ทุกคนล้วนต้องการความช่วยเหลือ เพื่อสร้างการรับรู้ ไม่ว่าจะเป็นจาก Influencer, KOLs หรือจากผู้บริโภคโดยตรง
การสร้าง Community คือการรวบรวมคนที่มีความรักความสนใจในแบรนด์ สร้างพื้นที่ให้พวกเขาได้มีบทสนทนากับแบรนด์ และสนทนากันเองทำให้เกิด Brand Loyalty สิ่งล้ำค่าที่ทุกแบรนด์ตามหาทำให้กลุ่มผู้บริโภคติดตามข่าวสารต่างๆของ Brand เกิดเป็น Emotional Connection การสร้าง Community ของแบรนด์สามารถเริ่มทำได้ไม่ยากไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Facebook group, Line Groupหรือการจัด Event ให้แฟนคลับของ Brand ได้มาเจอกัน
โดยที่แบรนด์ควรจะมอบสิ่งพิเศษให้พวกเขา เช่นการได้ทดลอง Product ก่อนตลาด, ส่วนลดพิเศษ, Membership หรือแม้กระทั่งถามความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และเมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับใช้จริง จะทำให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์และรักแบรนด์ของเรามากขึ้นไปอีก
ถ้าคุณเป็นเจ้าของแบรนด์ หรือทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลและสร้างแบรนด์ผมหวังว่าทั้งหมดที่ผมเล่าให้ฟัง จะสามารถให้คุณไปสร้างไอเดีย ไปปรับใช้ได้นะครับ
หรือถ้าหากคุณไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานอะไรแนวนี้ผมก็หวังว่าคุณจะสนุกกับการอ่าน และได้แรงบันดาลใจ
รอบๆตัวเรามีไอเดียที่รอให้เราไปค้นพบอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นดนตรีที่ฟัง หนังสือที่อ่าน เพื่อนบ้านของคุณ หรือท้องฟ้ายามเย็นลองหามุมมองใหม่ๆ มองให้กว้างขึ้น ลึกขึ้น แล้วคุณเองก็จะได้เรียนรู้อะไรจากมันแน่นอน
วันนี้เท่านี้พอแหละครับโอกาสหน้า จะหา เรื่องราวน่าสนใจ อะไรสนุกๆ มาเล่าให้ทุกคนฟังอีกนะครับ PEACE!
โฆษณา